ผลิตภัณฑ์ O-TOP
|
ข้าวกล้องปลอดสารพิษ
ประวัติความเป็นมา
คุณนางเพ็ญศรี วิสิทธิพร ได้รวมกลุ่มกันทำข้าวซ้อมมือมาเป็นเวลานับสิบปี แต่กิจการไม่เจริญก้าวหน้า จึงได้หันมาประกอบอาชีพอื่นโดยการทำขนมขายตามหมู่บ้าน จนกลางปี พ.ศ. 2545 ได้เข้าร่วมอบรมโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ที่โรงแรมบิวเบอร์รี่ฮิว ปาร์ค หลังจากนั้นได้รวมกลุ่มแม่บ้านในท้องที่จัดทำแผนโครงการของบประมาณ จัดทำข้าวกล้องปลอดสารพิษ โดยนางเพ็ญศรี วิสิทธิกร ประธานกลุ่ม ลงทุนจดทะเบียนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ 2547 ปัจจุบันมีสมาชิก 28 คน ได้กู้ยืมเงินจากรัฐบาลจำนวน 100,000 บาท ซึ่งเงินที่ได้ใช้คืนโดยไม่คิดอกเบี้ยมาเป็นเงินลุงทุนในการประกอบธุรกิจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
2. เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มสมาชิก
โครงการในอนาคต
1. การสร้างโรงเรือน
2. การสร้างโรงสีข้าว
3. การสร้างลานตากข้าว
สมาชิกประกอบด้วย
1. นางเพ็ญศรี วิสิทธิกร ประธานกลุ่ม
2. นางสมบูรณ์ พวงวิไร รองประธานกลุ่ม
3. นางสาวสาลี่ พูลเขตวิทย์ เหรัญญิก
4. นางพยุง ทองดาดาษ เลขานุการ
5. นางสาวพาฝัน ฤกธิ์งาม กรรมการ
6. นางบัวลา มั่นเกศวิทย์ กรรมการ
7. นางทองใบ มั่นเกศวิทย์ กรรมการ
8. นางบุญเรียม สุขเอี่ยม กรรมการ
หลักเกณฑ์ในการสมัครสมาชิก
1. ค่าสมัครสมาชิก 30 บาท
2. ค่าลงหุ้น หุ้นละ 100 บาท (ไม่จำกัดจำนวนหุ้น)
อุปกรณ์
1. วัตถุดิบ (ข้าวหอมประทุม)
2. ถุงพลาสติก
3.เครื่องหมายการค้า
ขั้นตอนการทำ
1. นำข้าวมาตาก (ประมาณ 3 วัน)
2. เก็บข้าวแล้วนำไปสี
3. นำมาร่อนเอาเศษเปลือกข้าวและสิ่งเจอปนอื่นๆ ออก
4. นำข้าวที่ได้มาบรรจุถุง และทำการจัดจำหน่ายต่อไป
ราคาขาย / หน่วย
ถุงเล็ก ขนาด 1 กิโลกรัม ราคา 25 บาท
ถุงใหญ่ ขนาด 5 กิโลกรัม ราคา 100 บาท
ขนาด 1 ถัง ราคา 300 บาท
ผลิตโดย
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตำบลหนองกรด (วัดศรีอุทุมพร)
หมู่ 9 ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โทร.. 056-286177 056-286018
สนับสนุนโดย สำนักงานเกษตร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT ANALYSIS)
โอกาส
- ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานเกษตร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
- มีแหล่งเงินทุนที่มั่นคง และได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด
อุปสรรค
- เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมเพราะเกิดปัญหาภัยแล้งทำให้ชาวบ้านขาดแคลนน้ำ - สภาวะน้ำมันแพงเกิดผลกระทบทำให้ปัจจัยทางด้านต้นทุนในการผลิตมีราคาแพงขึ้น
การวิเคราะห์ ส่วนประสมทางการตลาด
1. ผลิตภัณฑ์ (Product)
ข้าวกล้องปลอดสารพิษ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการรวมตัวกันของชาวบ้านหมู่ 9 บ้านวังเดื่อตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีการคัดสรรข้าวจากชาวบ้านในหมู่บ้านที่เข้าร่วมการปลูกข้าวปลอดสารพิษ โดยชาวบ้านจะได้รับการอบรมตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน ตลอดจนการไถ หว่าน เก็บเกี่ยว และการสีข้าว เพื่อไม่ให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการปลูก ทำให้ข้าวที่ได้จะเป็นข้าวปลอดสารพิษ และได้ผ่านการสีข้าวอย่างถูกวิธีทำให้ข้าวมีวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ ในข้าวกล้องยังอยู่ครบถ้วน และความหอม นุ่ม สีสันน่ารับประทาน
2. ราคา (Price)
ถุงเล็ก ขนาด 1 กิโลกรัม ราคา 25 บาท
ถุงใหญ่ ขนาด 5 กิโลกรัม ราคา 100 บาท
ขนาด 1 ถัง ราคา 300 บาท
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
การผลิตข้าวจะถูกจัดทำขึ้นเมื่อช่วงที่มีนิทรรศการ งานต่าง ๆ หรือ ลูกค้าสั่งจองในปริมาณมาก และมีการกักตุนสินค้าไว้ให้เพียงพอต่อความต้องการของท้องตลาด พร้อมทั้งยังจัดจำหน่ายให้ประประชาชนในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
ทำการประชาสัมพันธ์ไปควบคู่ กับหัตถกรรมผักตบชวาและได้รับการสนับสนุน จากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด
|
หัตถกรรมผักตบชวา
ประวัติความเป็นมา
บริเวณวัดมีหนองน้ำและผักตบชวามากและวัชพืช ชาวบ้านองค์กรกลุ่มสตรีมีการรวมตัวกันตั้งอยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ 9 ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นต่าง ๆ มาเป็นสิ่งประดิษฐ์สวยงาม และมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และต่อมาได้ดำเนินการอบรม เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา โดยใช้วิติดต่อวิทยากรจากอุตสาหกรรม มาทำการการสอน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง เป็นผู้ประสานการดำเนินงาน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 50 คน และทำการรวมตัวกันเป็นประจำทุกวันเสาร์ ณ. ที่ทำการหมู่ 14
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มสมาชิก
2. ช่วยลดปริมาณของวัชพืชในลำคลอง
3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ
4. พัฒนาอาชีพของชุมชน
แนวทางการปฏิบัติตามนโยบาย
1. ส่งเสริม พัฒนาอาชีพของสมาชิก ครอบครัว และชุมชนโดยทั่วไป
2. ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและได้รับ ประโยชน์จากการรวมกลุ่มอย่างเต็มที่
3. ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จัก การดำเนินงานในรูปแบบของกลุ่มด้วยตนเองตามหลัก ประชาธิปไตยและหลักการพัฒนากลุ่ม
4. ส่งเสริมอาชีพหลักของสมาชิก
5. จัดบริการด้านปัจจัยการผลิตช่วยเหลือสมาชิกในการประกอบอาชีพ และส่งเสริมความ มั่นคง รวมกับสวัสดิการคุ้มครองสิทธิและการรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก
6. ร่วมมือกับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ทุกระดับ ตลอดจนร่วมมือกับทางราชการและองค์กร เอกชนในการพัฒนาอาชีพของชุมชน
7. กระทำกิจกรรมอื่นใดในบรรดาที่เกี่ยวข้องกัน หรือจัดให้ได้มาซึ่งความสำเร็จตาม วัตถุประสงค์ของกลุ่ม โดยไม่ขัดกับหลักการของกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
สมาชิกประกอบด้วย
1. นางสังเวียน วิชาธร ประธานกลุ่ม
2. นางเพ็ญศรี วิสิทธิพร รองประธานกลุ่ม
3. นางสาวพาฝัน ฤกษ์งาม เลขานุการ
4. นางเจิดจันทร์ น้อยล้ำ เหรัญญิก
5. นางวิภา ศรีชมภู ประชาสัมพันธ์
6. นางบุญศรี พิลึก ปฏิคม
7. นางสมบูรณ์ พวงมาลัย กรรมการ
การส่งเสริมการตลาด
1. ส่งเสริมการขายให้กับกลุ่ม
2.ติดต่อหาตลาดเพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทั้งในและนอกหมู่บ้าน
3. นำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายเองโดยผ่านช่องทางต่าง ๆ
4. ประสานงานกับฝ่ายผลิตเพื่อควบคุมการผลิต ให้มีผลิตภัณฑ์เพียงพอต่อการจัดจำหน่าย
5. จัดทำสถิติ เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
อุปกรณ์
1. โฟม 2. กระดาษกาว
3. เข็มหมุด 4. กรรไกร
5. แลคเกอร์ 6. สารกำมะถัน
7. เตาอบ 8. ผ้าคลุม
9. ซิบ 10. สีย้อมกก
11. ผ้าสีกากี 12. ผักตบชวา
13. เครื่องประดับที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ลูกประคำดีวัว ฯ
ขั้นตอนการทำ 1. นำผักตบชวาไปตากแดด 10 วัน
2. เมื่อครบกำหนดแล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 20 นาที
3. ใช้กรรไกรซอยให้เป็นเส้นเล็ก ๆ
4. นำไปย้อมสีที่ต้องการ
5. นำโฟมไปทำเป็นแม่แบบรูปทรงที่ต้องการ
6. นำกระดาษกาวมาพันเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและทำความสะอาดได้ง่าย
7. สารขึ้นรูปทรงที่ต้องการแล้วนำไปอบสารกำมะถัน ประมาณ 1 วัน เพื่อป้องกันเชื้อรา และช่วยให้สีของผักตบชวาขาวขึ้น
8. เคลือบเงาด้วยแลคเกอร์
9. ทำการตกแต่งด้วยอุปกรณ์ เช่น ลูกปัด ริปบริ้น ผ้า ต่าง ๆ ให้สวยงาม
10. บรรจุหีบห่อ และจำหน่ายต่อไป
ลายสานที่นิยมใช้เป็นส่วนใหญ่
1. ลายถักเปีย 2. ลายดอกพิกุล
2. ลายชา 3. ลายแมงมุม
4. ลายข้าวหลามตัด 5. ลายสอง
6. ลายสับปะรด 7. ลายดอกแก้ว
8. ลายเม็ดมะยม
ผลิตภัณฑ์
1. กระเป๋าสะพาย 3. กล่องใส่กระดาษทิชชู่ 5. กล่องขนาดเล็ก
2. กระเป๋าถือ 4. ตะกร้า 6. ตะกร้าใส่ขวดไวน์
ราคา / หน่วย
|
|