สมุนไพร
หนอนตายหยากเล็ก
ชื่อท้องถิ่น หนอนตายหยากเล็ก , กะเพียดหนู, โป่งมดง่าม, สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ) Stemona
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona tuberosa Lour.
ลักษณะของพืช เป็นไม้เถา เถากลมเล็กเรียวสีเขียว พาดพันต้นไม้อื่น ใบรูปหัวใจ เส้นใบวิ่งตามยาวราว 10 เส้น ผิวและขอบใบเรียบ สีเขียวเข้ม มีหัวเป็นแท่งกลมยาว ขนาดนิ้วมือเป็นกระจุก ดอกตูมเป็นรูปเหมือนเงินรางสีเขียว อมเหลือง บานออกเป็นสีแดงเข้มหรือขาว ฝักเล็กปลายแหลม ยาวราว 2 เซนติเมตร กว้างราว 1 เซนติเมตร ขึ้นตามป่าดงดิบเขาทั่วไป
ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก(หัว)
ประโยชน์ทางยา ปรุงยารับประทาน แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน มะเร็งตับ ตำผสมน้ำเอาน้ำพอกทาฆ่าหิด เหา แมลงหนอน ศัตรูพืช ต้มกับยาฉุนแล้วรมหัวริดสีดวงให้ฝ่อแห้งไป
|
ขี้เหล็ก
ชื่อท้องถิ่น ขี้เหล็กใหญ่ (กลาง) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กเผือก (เชียงใหม่) ขี้เหล็กหลวง (เหนือ) ยะหา (ปัตตานี) ขี้เหล็กจิหรี่ (ใต้) ผักจี้ลี้ (เงี้ยวแม่ฮ่องสอน
ชื่อวิทยาศาสตร ์ Cassia siamea Britt.
ลักษณะของพืช เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดเป็นพุ่มแคบทึบสีเขียวเข้ม เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาล มีรอยแตกตามยาวของลำต้นเป็นร่องตื้น ๆ ใบเป็น ใบประกอบรูปเรียว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ปลายสุดเว้าเล็กน้อย ท้องใบสีซีดกว่าหน้าใบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมเขียว ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ มีสีเหลืองที่ตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบนหนาสีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ดอยู่ภายในหลายเมล็ด
ส่วนที่นำมาเป็นยา ใบ ดอก แก่น ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น กระพี้ทั้ง 5 ด่างไม้
ประโยชน์ทางยา - ใบ รสขม ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ แก้สะอึก ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต ลดความดัน ดับพิษโลหิต โรคกำเดา แก้พยาธิ แก้บิด - ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้อาการนอนไม่หลับ แก้หืด เป็นยาระบาย แก้โลหิต ขับพยาธิ เจริญอาหาร บำรุงประสาท
- แก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษ ถ่ายในโรคม้ามโต แก้เหน็บชา แก้แสบตา บำรุงโลหิต ขับโลหิต แก้กามโรค ถ่ายพิษทั้งปวง เป็นยาระบาย พอกโลหิต ขับน้ำคาวปลา แก้บวม แก้จุกเสียด แก้เบาหวาน
- ฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะ
การเพาะปลูก ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ปลูกง่ายและไม่ต้องการการดูแลพิเศษใด ๆ
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
วิเคราะห์สมุนไพรในตำบลหนองกรด
สภาพสมุนไพรในตำบลหนองกรด
การปลูก การปลูกพืชสมุนไพร ในตำบลหนองกรดส่วนมาก จะนิยมปลูกพืชผักสวนครัว ส่วนใหญ่ปลูกโดยเน้นการใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารเป็นหลัก ซึ่งพืชสวนครัว ซึ่งเป็นสมุนไพร ที่นิยมปลูกมาก 3 อันดับ ได้แก่ ตะไคร้ กะเพรา และข่า สำหรับสมุนไพร ทั่วไปที่ปลูกเพื่อใช้ทำยาหรืออาหารเสริม มีการปลูกน้อย ส่วนใหญ่ บ้านที่จะปลูกสมุนไพร มักจะเป็นหมอชาวบ้านที่จะใช้สมุนไพรเป็นยาเท่านั้น และเนื่องจากในช่วงฤดูร้อนพื้นท ี่ตำบลหนองกรดค่อนข้างแห้งแล้ง สมุนไพรบางชนิด จึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แต่สภาพโดยทั่วไป ของตำบลหนองกรด มีป่าเขา เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ ์จึงมีสมุนไพร หลายชนิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ ผู้ที่มีความรู้ทางด้านสมุนไพร จึงนิยมเก็บพืชสมุนไพร จากพื้นที่ดังกล่าว แต่ถ้าจะขึ้นไปเก็บก็ค่อนข้างยาก ลำบากจึงไปเก็บไม่บ่อย นัก ด้วย สาเหตุเหล่านี้เองจึงทำให้สมุนไพร ในตำบลจึงมีจำนวนน้อย ไม่ค่อยพอใช้ และหากมีคน ต้องการยาสมุนไพรมาก ๆ ก็ต้องไปซื้อสมุนไพรแห้งที่อำเภอเมือง ฯ การนำไปใช้ประโยชน์ การนำสมุนไพรไปใช้ ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อประกอบอาหาร เนื่องจากการเพาะปลูกพืชสมุนไพร เป็นเพียงการปลูกไว้ใช้ในครัวเรือน ซึ่งความจริงแล้วพืชสวนครัวสามารถ นำมาใช้ปรุงเป็น อาหาร และใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคได้ แต่ในการนำมาปรุงเป็นยานั้นประชาชน ยังไม่ค่อยรู้ กันอย่างกว้างขวางจึงไม่นิยม ส่วนคนที่จะนำไปใช้ เป็นยาส่วนมาก คือหมอสมุนไพร ในหมู่บ้าน แต่ผู้เชี่ยวชาญทาง ด้านสมุนไพร เมื่อเทียบกับ ประชาชนในตำบลแล้วยังถือว่ามีอยู่น้อยมาก
วิถีชีวิตความเป็นอยู่
ตำบลหนองกรดถือว่าเป็นตำบลที่อยู่ระหว่างเมืองและชนบท จึงมีวิถีชีวิตทั้งแบบเมือง และแบบเกษตรกรรมที่มีอาชีพหลักคือการทำไร่ อาชีพเสริมคือการรับจ้าง และมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีผู้สูงอายุและบุคคลวัยทำงาน ส่วนวัยรุ่นมัก ไม่อยู่บ้านโดยไปศึกษาและทำงานต่างถิ่น เมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ประชาชนมักจะรักษา แบบแผนปัจจุบัน เช่น ใช้บริการของสถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนไม่นิยมรักษาด้วยสมุนไพร หรือปลูกพืชสมุนไพรไว้ใช้ในบ้าน
ความรู้เรื่องสมุนไพรของตำบลหนองกรด
ชาวบ้านตำบลหนองกรดส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ด้านสมุนไพรซึ่งจะนำมาบำบัดรักษาโรค โดยส่วนใหญ่จะเน้นการนำสมุนไพร ไปใช้ในการประกอบอาหาร นอกจากนี้ในชุมชน ยังมีผู้สูง อายุบางท่านที่มีความรู้เรื่อง การนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแต่ไม่ถ่ายทอด ความรู้ให้กับ ลูกหลาน หรือผู้อื่น บางครัวเรือนมีตำรายาสมุนไพรโบราณที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่ไม่ได้ เผยแพร่ หรือไม่ได้รับความสนใจจากเยาวชนรุ่นหลัง ความรู้ทางด้านสมุนไพรจึงค่อย ๆ หายไป
การประชาสัมพันธ์
ในตำบลหนองกรดไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่องสมุนไพรแก่ประชาชน ประชาชนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยมีความรู้ ในการรักษาโรคโดยใช้สมุนไพรด้วยตนเอง และประชาชนก็ยังไม่ค่อยทราบว่ามีหมอสมุนไพรอยู่ในหมู่บ้าน จึงนิยมที่จะรักษาแบบแผนปัจจุบันมากกว่า
ปัญหาที่พบทั่วไป
จากการศึกษาสำรวจข้อมูลสมุนไพร และอาหารเสริมในตำบลหนองกรด ได้ทราบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับชุมชน ดังนี้
1. ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการนำสมุนไพรมาบำบัดรักษาโรค
2. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญของพืชสมุนไพร จึงไม่นิยมปลูกพืชสมุนไพรไว้ในครัวเรือน
3. จำนวนสมุนไพรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมีจำนวนน้อย เนื่องจากสภาพแห้งแล้งในช่วง
ฤดูร้อน และการเก็บสมุนไพร ที่ค่อนข้างยากลำบากบนเขา บางครั้งสมุนไพรจึงไม่ เพียงพอต่อการนำมาปรุงเป็นยา
4. เยาวชนรุ่นหลังไม่ให้ความสนใจในการศึกษาเรื่องสมุนไพร ไม่สืบทอดความรู้จาก
บรรพบุรุษ และบรรพบุรุษบางท่านก็ไม่ได้ถ่ายทอดความรู้ไว้ให้แก่ลูกหลาน
5. ขาดผู้นำในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ ในเรื่องสมุนไพรให้แก่ประชาชน ประชาชนจึงไม่เห็นค่าของสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
|