เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้ต่อข้าศึกพม่าประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อนและกระจัดกระจายอพยพไปตั้งรกรากในพื้นที่ต่างๆขุนแว่นแก้วและเจ้าชายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1) ก็ได้อพยพหนีภัยสงครามเดินทางมาทางบก แล้วนัดกันว่า ถ้าฟ้าแจ้งสว่างที่ใดให้ตั้งหมู่บ้านที่นั่น พอเดินทางมาเรื่อยๆก็มาสว่างที่กลางป่า ซึ่งป่านั้นเต็มไปด้วยต้นไม้ที่ชื่อว่า ต้นตะคร้อขึ้นอยู่เต็มไปหมด ( ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านในปัจจุบัน ) ก็เลยตั้งหมู่บ้านที่นี่ แต่เจ้าชายทองด้วงมีความคิดที่จะไปช่วยราชการบ้านเมือง ก็เลยขอขุนแว่นแก้วเดินทางต่อเพื่อที่จะไปกรุงธนบุรี ขุนแว่นแก้วมีภรรยาชื่อแม่คำแพงเป็นสาวชาวเวียงจันทร์ และทั้งคู่ก็มีลูกด้วยกัน
|
ต่อมาขุนแว่นแก้วได้สร้างวัดหนึ่งวัดชื่อ วัดใหญ่จุมพล และก็ได้สร้างโบราณสถานหลายต่อหลายแห่ง และด้วยเหตุที่แม่คำแพงเป็นสาวชาวเวียงจันทร์ จึงทำให้ลูกๆหลานๆของแม่คำแพงพูดภาษาลาวปนสำเนียงไทยของขุนแว่นแก้วและสำเนียงการพูดของชาวตำบลตะคร้อก็เพี้ยนมาเรื่อยๆจนกลายมาเป็นภาษากลางแต่จะพูดเหน่อ ซึ่งเหน่อในที่นี้จะไม่เหน่อเหมือนที่อื่นๆหรือแม้กระทั่งสำเนียงเหน่อของจังหวัด สุพรรณบุรีก็ตาม ตำบลตะคร้อเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอท่าตะโก ต่อมาปี พ.ศ.2505 กรมการปกครองได้สถาปนาตำบลไพศาลี เป็นกิ่งอำเภอไพศาลี โดยมีตำบลตะคร้อขึ้นอยู่กับกิ่งอำเภอไพศาลีด้วย การปกครองแบ่งออกเป็น 18 หมู่บ้าน โดยมีกำนันหยง เป็นกำนันคนแรก พื้นเพชาวตำบลตะคร้อเป็นคนในพื้นที่และมีชาวบ้านจากถิ่นอื่นเข้ามาอยู่อาศัย สำหรับภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทย ไทยเบิ้ง
ที่มา : http://chaiwbi.com/0drem/web_children/2550/c505601/505605/
|