แหล่งท่องเที่ยว
อำเภอเก้าเลี้ยวมีแหล่งท่องเที่ยวคือวัดพระหน่อธรณินทร์ใกล้วารินคงคาราม(วัดเขาดินใต้) ซึ่งวัดนี้รัชการที่ 5 เคยเสด็จประภาสต้น และเคยสนทนากับหลวงพ่อเฮง ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวง พ่อเดิมและเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ชาวอำเภอเก้าเลี้ยวให้ความเคารพเป็นอย่างมาก มีตำนานเล่า ว่ามีชาวลับแลอาศัยอยู่ในถ้ำใต้วัด กล่าวกันว่าเคยมีราษฎรที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงได้ยินเสียง ดนตรีไทย ซึ่งมีความไพเราะมากดังมาจากถ้ำนั้นด้วย
วัดพระหน่อธรณินทร์ใกล้วารินคงคาราม
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2375 ในสมัยนั้น มีพระครูเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาโพธิใต้ ตั้งเลขที่ 1 บ้าน เขาดินใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอ เก้าเลี้ยว ประมาณ 14 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 17 กิโลเมตร วัดนี้ได้ขึ้นทะเบียนวัดในนาม วัดพระหน่อธรณินทร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2387 สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 6 ไร่
|
ปี พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นเมือง กำแพง และวัดพระหน่อธรณินทร์ฯ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงถ่าย ทอดเรื่องราวความเป็นมาของวัดในพระนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า ไล่เลียงเรื่องวัดนี้ได้ความว่าพระครูหลา อยู่วัดมหาโพธิเริ่มสร้างวัดนี้ได้ 80 ปีมาแล้ว และได้ปฏิสังขรณ์วัดต่อๆ กันมา พระองค์เสด็จประพาสต้นวัดนี้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2449 ( ร.ศ.125 ) นับถึง ปัจจุบันเป็นเวลาเก้าสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก่อนที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินมาวัดเขาดินใต้วัดนี้ สร้างมาแล้ว 80 ปี ดังนั้นวัดนี้จึงสร้างมานานกว่าหนึ่งร้อยเจ็ดสิบปีแล้ว
ถ้ำลับแล
|
หลังชมทิวทัศน์อันสวยงามแล้วเดินไปทางทิศเหนือตามสันเขาไปยังเขาอีกลูกหนึ่ง ห่างจากยอดเขามีโบสถ์ประมาณ 10 เมตร จะทำทางแยกไปยังถ้ำ บริเวณปากถ้ำมีหินก้อนใหญ่สองก้อนว่างเรียงกันอยู่ ก้อนหินใหญ่นั้นเคยหิดปากถ้ำไว้ตั้งแต่ครั้งใดไม่ปรากกหลักฐาน แต่ถูกเปิดออกเมื่อ พ.ศ. 2531 โดยปากถ้ำมีขนาดกว้าง 1.5 เมตร ณ ถ้ำแห่งนี้ ตามตำนานเล่าสืบทอดกันมาว่า เป็นที่อยู่ของชาวลับแล วันดีคืนดีชาวหัวเขา (ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือเขา) จะได้ยินเสียงปี่พาทย์บรรเลงเพลงไพเราะจับใจมาก ซึ่งผิดกับเสียงปี่พาทย์ที่ชาวบ้านบรรเลง ยังมีเรื่องเล่าอีกว่าเมื่อจะจัดงานบวช งานแต่งงานหรืองานอื่นๆ ที่เป็นงานใหญ่ ซึ่งต้อง ใช้เครื่องครัวเป็นจำนวนมาก เช่น หม้อ ถ้วย ชาม เป็นต้น ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงจะไปขอยืม เครื่องครัวจากชาวลับแลที่บริเวณปากถ้ำ การขอยืมเครื่องใช้จะมีพิธี โดยผู้ที่จะไปขอยืมเครื่องครัว จากชาวลับแลและต้องบอกวัตถุประสงค์ จำนวนของที่จะยืมที่ปากถ้ำ และกำหนดวันที่จะมารับของ ให้ชาวลับแลทราบ ครั้นเมื่อถึงเวลานัดรับของ ของที่ชาวบ้านขอยืมนั้นจะตั้งอยู่ที่ปากถ้ำตามจำนวนที่ต้องการและเป็นเรื่องเล่าอีกเช่นกันว่า ชาวบ้านที่ขอยืมของไปส่งของคืนให้ไม่ครบตามจำนวนที่ยืมเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขั้นเป็นประจำจนทำให้ชาวลับแลไม่พอใจ จึงปิดปากถ้ำ ไม่ให้ชาวบ้านยืมของ อีกต่อไป ชาวบ้านจึงยืมของไม่ได้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ถึงแม้ว่าปัจจุบันถ้ำจะถูกเปิดแล้วก็ตาม
ที่มา: http://chaiwbi.com/0drem/web_children/c495000/totol2549/c495102/495107/102.htm
|