Ran khaa ya
     
 

ความเป็นมาของกระดาษสา

          กระดาษสา  มีมานาน  20  กว่าปีแล้วโดย นายเจริญ  เหล่าปิ่นตา  ได้สืบทอดการทำกระดาษสามาจากคุณทวด  ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลายเหมือนสมัยนี้  จะทำกันเฉพาะเมื่อต้องการเขียนยันต์  ทำไส้เทียนและทำตุงของเชียงใหม่เท่านั้น ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการพัฒนาการทำกระดาษสาจากที่เคยทำสีขาวก็คิดหาวิธีทำเป็นหลายๆสี  และมีลวดลายมากยิ่งขึ้น  ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมาก  ทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะผลิตงานศิลปะ  กระดาษสามากยิ่งขึ้น  แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น สมุดโน้ต ถุงกระดาษ  ดอกไม้  ฯลฯ  และยังได้เผยแพร่กระทำกระดาษสาไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ และสอนวิธีการทำกระดาษสาให้เพื่อเป็น การอนุรักษ์ศิลปะของไทยอีกด้วย  ที่ยึดหลักการประกอบอาชีพในการทำกระดาษสา สืบทอดจากบรรพบุรุษของบ้านต้นเปา  ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาดั่งเดิมของเชียงใหม่  โดยในอดีตการทำกระดาษสานั้นเพื่อนำไปใช้ในการผลิตร่มและพัด  โดยแหล่งผลิตร่มและพัดอยู่ที่บ้านบ่อสร้าง  อำเภอสันกำแพง  จังหวัดเชียงใหม่  นอกจากนี้ยังใช้ในการทำไส้เทียน  ทำตุงและทำโคมลอย  ซึ่งกระดาษสายังไม่เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากนัก  การทำกระดาษสาจึงอยู่เฉพาะครอบครัวของนายเจริญ  เหล่าปิ่นตา  และนางทองคำ  เหล่าปิ่นตา  เท่านั้น  จนกระทั่งต่อมากระดาษสา  และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาได้มีการส่งเสริมการอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  อย่างจริงจังประมาณปี  พ.ศ. 2537 - 2538  มีการจัดงานแสดงและจำหน่ายกระดาษสาและผลิตภัณฑ์  การจัดการประกวดกระดาษสา  ตลอดทั้งการฝึกอาชีพการผลิตกระดาษสาและผลิตภัณฑ์  การบริการให้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาเทคนิคการผลิต  เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตต่าง ๆ ทำให้คนเริ่มรู้จักและสนใจกระดาษสากันมาก และรู้จักบ้านต้นเปาว่าเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาด้วยมือ  แบบดั่งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่  กระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาจากบ้านต้นเปาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหลายประเภทและหลายครั้ง  ชื่อเสียงของกระดาษสาบ้านต้นเปาเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับตลาดกระดาษสาและผลิตภัณฑ์กระดาษสาในเมืองไทยเริ่มขยายต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ  บางคนมารับงานไปทำที่บ้านเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว  นอกจากนั้นยังมีผู้ผ่านการฝึก  การทำกระดาษสาและ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา  จากบ้านอนุรักษ์กระดาษสาได้ไปประกอบอาชีพเป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือนของตนเอง  ถ้าหากไม่สามารถหาตลาดจำหน่ายได้เอง  ก็จะนำผลิตภัณฑ์มาฝากจำหน่ายหรือขายให้ทางบ้านอนุรักษ์กระดาษ

ใบเตยหอม

          สมุนไพรเตยหอมนั้นคนไทยคุ้นเคยกันมานาน เนื่องจากอดีตนิยมนำเตยหอมมาประกอบอาหารและขนมหวาน  เช่น  ไก่อบห่อใบเตย  ใช้แต่งกลิ่นเวลาหุงข้าวเจ้าและข้าวเหนียว หรือนำไปแต่งกลิ่นและสีของขนม  เช่น  วุ้นกะทิ  ขนมชั้น  ขนมเปียกปูน  ขนมลอดช่อง  ขนมขี้หนู ฯลฯ  เตยหอมมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า  ปาแนะวองิง  หวานข้าวไหม้  ปาเนถือจิ  ปาหนัน  พั้งลั้ง  เตยหอมจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขึ้นเป็นกอ ชอบขึ้นในที่ชื้นและใกล้น้ำ  ลำต้นกลมต่อเป็นข้อ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้โคนลำต้นจะมีรากงอกออกมาเพื่อค้ำลำต้น  ใบจะออกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น  ใบมีสีเขียว  รูปเรียวยาวคล้ายหอก ปลายใบแหลม  ขอบใบเรียบ  ไม่มีหนาม  ใบมีกลิ่นหอมเย็น  ไม่มีดอก  ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อเล็ก ๆ นำมาปลูก  ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ ใบ โดยใบเตยประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด ใบเตยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดการกระหายน้ำ ซึ่งเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ  ส่วนรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน  ในปัจจุบันได้มีการทำศึกษาวิจัย  โดยนำน้ำต้มรากใบเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทอลอง เพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด  ปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้  ส่วนการศึกษาวิจัยในคน  หมอได้นำใบเตยหอมมาผลิตในรูปแบบชาชง  บรรจุซองละ  6  กรัม  ให้คนปกติรับประทานวันละ  1  ครั้ง  เป็นเวลา  7  วัน  ผลปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานชาชงใบเตยลดลงอย่างมาก  จึงนับได้ว่าสมุนไพรใบเตยหอมนั้นเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ส่วนการทดลองนี้จะมุ่งเน้นที่จะทำกระดาษสาจากใบเตย  เพื่อจะศึกษาว่าใบเตยหอม สามารถนำมาทำกระดาษสา  ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าทดลอง

ขั้นตอนการทำกระดาษสา

           การทำกระดาษสาด้วยมือ  มีขั้นตอนหลัก  4  ขั้นตอน  คือ
          1.   การเตรียมวัตถุดิบ  ได้แก่  การคัดเลือกวัตถุดิบ  การตัด  การแช่น้ำ  การต้มและการล้าง
          2.   การทำให้เป็นเยื่อ
          3.   การทำเป็นแผ่นกระดาษ
          4.   การลอกแผ่นกระดาษและตกแต่งเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่  1  การเตรียมวัตถุดิบ
          คัดเลือกเปลือกปอสาที่อ่อนและแก่แยกจากกัน  นำไปแช่น้ำประมาณ  3  ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน  24  ชั่วโมง  การแช่น้ำจะช่วยให้เปลือกปอสาอ่อนตัว  จากนั้นนำไปใส่ภาชนะต้ม  ใส่โซดาไฟ หรือน้ำด่างจากขี้เถ้า  เพื่อช่วยให้โครงสร้างของเปลือกปอสาเปื่อย  และแยกจากกันเร็วขึ้น  ถ้าต้มปอสาอ่อนใช้โซดาไฟน้อย  ต้มเปลือกแก่ต้องใช้มากขึ้น การต้มแต่ละครั้งใช้โซดาไฟ  ประมาณ  10-15%  ของน้ำหนัก ถ้าใช้มากไปจะทำให้เยื่อถูกทำลายมากในระหว่างต้ม  ต้มนานประมาณ  2 - 3  ชั่วโมง  เมื่อต้มเสร็จแล้วนำปอสาล้างน้ำจนหมดด่าง

ขั้นตอนที่  2  การทำให้เป็นเยื่อ
          การทำให้เป็นเยื่อ  มี  2  วิธี ได้แก่
          2.1    การทุบด้วยมือ
          2.2    การใช้เครื่องตีเยื่อ
          การทุบด้วยมือต้องใช้เวลานาน  ปาสาหนัก  2  กก.  ใช้เวลาทุบนานประมาณ  5  ชั่วโมง ส่วนการใช้เครื่องตีเยื่อใช้เวลาประมาณ  35  นาที

          จากนั้นนำไปฟอกเยื่อกระดาษสาทั่วไปฟอกไม่ขาวนักแต่ถ้าต้องการให้กระดาษสาสีขาวมาก ๆ  ก็ใช้ผงฟอกสีเข้าช่วย  ได้แก่  Sodium  hypo  chloride  หรือ Calcium hypo  chloride  ประมาณ  1 : 10  โดยน้ำหนักผสมในเครื่องตีเยื่อ  ฟอกนานประมาณ  35  นาที ถ้าไม่มีเครื่องตีเยื่อ  ก็ใช้น้ำยาฟอกเข้มข้น  15  กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร  แช่เยื่อลงในน้ำยาฟอกนานประมาณ  12  ชั่วโมง นำเยื่อไปล้างน้ำจนหมดกลิ่นน้ำยาแล้ว  จะนำเยื่อไปย้อมสีตามต้องการ  จากนั้นนำเยื่อเตรียมไว้สำหรับทำแผ่นกระดาษต่อไป

ขั้นตอนที่  3  การทำเป็นแผ่นกระดาษ
          นำเยื่อปอสาใส่ในอ่างหรือภาชนะที่เหมาะสม  ใส่น้ำให้มีระดับพอเหมาะแล้วใช้ไม้พายคนเยื่อในอ่างน้ำให้ทั่ว  เพื่อให้เยื่อลอยตัวและกระจายออกจากกันอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นนำแม่พิมพ์สำหรับทำแผ่นกระดาษมาช้อนเยื่อต่อไปซึ่งมีการทำแผ่นได้  2  วิธีคือ
          3.1       แบบตัก  ใช้แม่พิมพ์ซึ่งมีลักษณะเป็นตะแกรงไนล่อนขนาดกว้าง  50  ซม.  ยาว  60 ซม.  ( ขนาดตะแกรงขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษที่ต้องการ )  ช้อนตักเยื่อเข้าหาตัวยกตะแกรงขึ้นตรง ๆ แล้วเทน้ำออกไปทางด้านหน้าโดยเร็ว  จะช่วยให้กระดาษมีความสม่ำเสมอ
          3.2       แบบแตะ มักใช้ตะแกรงที่ทำจากผ้าใยบัวหรือผ้ามุ้ง  ซึ่งมีเนื้อละเอียดและใช้วิธีชั่งน้ำหนักของเยื่อ  เป็นตัวกำหนดความหนาของแผ่นกระดาษ  นำเยื่อใส่ในอ่างน้ำใช้มือแตะเกลี่ยกระจายเยื่อบนแม่พิมพ์ให้สม่ำเสมอ

ขั้นตอนที่  4  การลอกแผ่นกระดาษ
          นำตะแกรงไปตากแดดประมาณ  1 - 3  ชั่วโมง  กระดาษสาจะแห้งติดกันเป็นแผ่น จึงลอกกระดาษสาออกจากแม่พิมพ์  เปลือกปอสาหนัก  1 กก.  สามารถทำกระดาษสาได้ประมาณ 10  แผ่น และกระดาษสาที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง  มีการตัดแปลงมาใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มากขึ้น  แต่เดิมส่วนใหญ่ใช้ทำร่ม  ว่าว  กระดาษห่อของ  กระดาษแบบเสื้อ  กระดาษที่ใช้เขียนพุทธประวัติ คัมภีร์  ฯลฯ  เป็นต้น  ปัจจุบันนำมาใช้อย่างกว้างขวาง  เช่น  สมุดจดที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  กระดาษเขียนจดหมายพร้อมซองบัตรอวยพรต่าง ๆ ดอกไม้ประดิษฐ์  โคมไฟ  กระดาษเช็ดมือ  กระดาษชำระใช้ซับเลือด  กระดาษห่อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์  ก่อนนำไปฆ่าเชื้อโรค ฯลฯ  ทำให้กระดาษสาเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้นในปัจจุบันวิธีการทำกระดาษสา  ดังนี้
          4.1    เพียงนำเปลือกต้นปอสามาแช่น้ำทิ้งไว้ราว  6 – 8  ชั่วโมง  จากนั้นนำเปลือกที่แช่น้ำไปต้มรวมกับขี้เถ้าหรือโซดาไฟอีก  4 - 6  ชั่วโมง  จนกระทั่งเปื่อยยุ่ยดีแล้ว  นำไปแช่คลอรีน  6 - 8  ชั่วโมง
          4.2    ปอสาที่ผ่านขบวนการต้มแล้วนำมาทุบด้วยค้อนไม้ให้เส้นใยเปื่อยยุ่ยยิ่งขึ้น
          4.3    เมื่อปอสาเปื่อยยุ่ยดีแล้วนำไปแช่น้ำในถังซีเมนต์ขนาดใหญ่เพื่อใช้ตะแกรงตัก
          4.4       พักตะแกรงไว้เพื่อให้สะเด็ดน้ำ  ในขั้นตอนนี้อาจทำลวดลายเพิ่มโดยการนำดอกไม้  ใบไม้ไปแซมลงในกระดาษ
          4.5    นำตะแกรงกระดาษสาไปตากแดดจนแห้งสนิท  1  ตะแกรง  จะได้กระดาษ  1  แผ่น
          4.6    เมื่อแห้งดีแล้วลอกกระดาษสาออกจากตะแกรงทีละแผ่น

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 17 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน