วัสดุ อุปกรณ์
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระดาษสาจากใบเตย มีดังนี้
1. มีด
2. กระดาษหนังสือพิมพ์
3. กรรไกร
4. กระดาษโรเนียว
5. เครื่องปั่น
6. กระดาษกล่อง
7. ปลั๊กไฟ
8. ตะแกรงไนล่อน ( เฟรม )
9. อ่างน้ำ
10. กะละมัง
11. กะละมัง
12. สีโปสเตอร์
13. สีย้อมผ้า
14. ผ้าขาวบาง
15. สีผสมอาหาร
16. กระชอน
17. หม้อ
18. เตาไฟ
19. เครื่องชั่ง
20. พืชที่ใช้ทดลอง ได้แก่ ใบเตยหอม
วิธีการทดลอง
วิธีการทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การหาสูตรที่เหมาะสมในการทำกระดาษสาจากใบเตยหอม
ขั้นตอนที่ 2 การฟอกขาวเยื่อกระดาษ
ขั้นตอนที่ 3 การนำกระดาษสาที่ผลิตไปแปรรูปใช้ประโยชน์
ขั้นตอนที่ 1 การหาสูตรที่เหมาะสมในการทำกระดาษสาจากใบเตยหอม
การทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ใบเตยหอม + กระดาษโรเนียว
กลุ่มที่ 2 ใบเตยหอม + กระดาษกล่อง
กลุ่มที่ 3 ใบเตยหอม + กระดาษหนังสือพิมพ์
กลุ่มที่ 4 กลุ่มควบคุมใบเตยหอม
กลุ่มที่ 1 ใบเตยหอม 200 กรัม + กระดาษหนังสือพิมพ์ 50 กรัม
วิธีทำ
1. นำใบเตยหอมจำนวน 1,000 กรัม มาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำใบเตยหอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
2. นำใบเตยหอมที่หั่นแล้วมาปั่นให้ละเอียดจนเกิดใย ซึ่งใช้เวลาในการปั่นประมาณ 3 นาที
3. นำใบเตยหอมที่ปั่นแล้วมาผสมกับกระดาษโรเนียวที่เตรียมไว้ในอัตราส่วน
200 : 50 ( ใบเตย 200 กรัม กระดาษโรเนียว 50 กรัม ) จากนั้นก็นำไปปั่นต่อประมาณ 5 นาที
4. เมื่อปั่นเสร็จแล้วนำส่วนผสมที่ได้ไปใส่ตระแกรงไนล่อนขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร ( ขนาดตระแกรงขึ้นอยู่กับกระดาษที่ต้องการ ) จากนั้นนำไปร่อนในอ่างน้ำเพื่อให้เยื่อลอยตัวและกระจายตัวออกจากกันอย่างสม่ำเสมอ
5. นำตะแกรงไนล่อนไปตากแดดประมาณ 1 วัน กระดาษสาจะแห้งติดกันเป็นแผ่นจึงลอกกระดาษสาออกจากตะแกรงไนล่อน
บันทึกผลการทดลอง
1. ด้านละเอียดและหยาบของเส้นใยและเนื้อเยื่อของกระดาษ
2. ความเหนียวของกระดาษสา บันทึกโดยชุดทดลองแรงดึงต้านทานโดยการใช้แรต้านทานกับกระดาษ โดยเพิ่มนำหนักถุงทรายทีละ 100 กรัม
3. การดูดซับโดยใช้น้ำมันพืชหยดลงบนกระดาษแล้ว ดูการกระจายเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางน้ำมันที่กระจายตัวบนกระดาษที่ซับน้ำมันไว้
กลุ่มที่ 2 ใบเตย 200 กรัม + กระดาษกล่อง 50 กรัม
ทำการทดลองและบันทึกผลการทดลองแบบเดียวกับกลุ่มที่ 1 แต่แตกต่างกันตรงที่ใช้กระดาษกล่องแทนกระดาษโรเนียว
กลุ่มที่ 3 ใบเตย 200 กรัม + กระดาษหนังสือพิมพ์ 50 กรัม
ทำการทดลองและบันทึกผลการทดลองแบบเดียวกับกลุ่มที่ 1 แต่แตกต่างกันตรงที่ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์แทนกระดาษโรเนียว
กลุ่มที่ 4 กลุ่มควบคุมใบเตย 200 กรัม
ทำการทดลองและบันทึกผลการทดลองแบบเดียวกับกลุ่มที่ 1 แต่แตกต่างกันตรงที่ใช้ใบเตยหอมอย่างเดียว
ขั้นตอนที่ 2 ทดลองชนิดของสีที่ติดได้ดีกับกระดาษสาที่ผลิตจากใบเตยหอม
การทดลองแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 สีโปสเตอร์
กลุ่มที่ 2 สีผสมอาหาร
กลุ่มที่ 3 สีย้อมผ้า
วิธีการทดลอง
ใช้กลุ่มการทดลองที่ดีที่สุดขั้นตอนที่ 2 มาทดลองย้อมสีชนิดต่างๆ
การย้อมสี
1. นำเยื่อกระดาษใส่ลงไปในนำสีที่เตรียมไว้
2. การเตรียมนำสีเตรียมได้โดยใช้นำสี 15 กรัม ต้มในน้ำ 2 ลิตร
3. นำเยื่อกระดาษแต่ละกลุ่มมาแช่น้ำสีทิ้งไว้ 15 นาที แล้วนำมาเตรียมไว้เพื่อนำไปใส่ตะแกรงไนล่อนแล้วร่อนในน้ำสี
4. จากกนั้นก็นำไปตากแดดไว้ประมาณ 1 วัน
บันทึกผลการทดลอง
บันทึกลักษณะสีที่ติด การกระจายของสีบนเยื่อกระดาษที่ผลิต
ขั้นตอนที่ 4 การนำกระดาษสาที่ผลิตไปแปรรูปใช้ประโยชน์ การนำกระดาษที่ผลิตไปแปรรูปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปทำกล่องกระดาษทิชชู จัดบอร์ด ทำดอกไม้ การ์ดอวยพรต่างๆ ที่ขั้นหนังสือ ถุงกระดาษ ฯลฯ
|