ตอนที่ 1 การหาสูตรที่เหมาะสมการทำกระดาษสา
จากการทดลองคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองหาสูตรที่เหมาะสมกับการทำกระดาษสา ได้ใช้กระดาษโรเนียว กระดาษกล่องและกระดาษหนังสือพิมพ์ โดยมีใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม ผลการทดลองปรากฏ ดังตาราง 1
ตาราง 1 แสดงผลการทดลองการผสมใบเตยหอมกับกระดาษชนิดต่าง ๆ
กลุ่ม
|
ประเภท
|
ปริมาณใบเตยหอม
( กรัม )
|
ปริมาณกระดาษ
( กรัม )
|
ผลการทดลอง
|
1
|
กระดาษโรเนียว
|
200
|
50
|
ดี
|
2
|
กระดาษกล่อง
|
200
|
50
|
ปรับปรุง
|
3
|
กระดาษหนังสือพิมพ์
|
200
|
50
|
ดีมาก
|
4
|
ใบเตยหอม ( ตัวควบคุม )
|
200
|
-
|
พอใช้
|
จากตาราง 1 พบว่า กระดาษสาที่ทำจากใบเตยหอมกับกระดาษหนังสือพิมพ์ อัตราส่วน 200 : 50 กรัม มีคุณภาพดีที่สุด รองลงมา คือ ใบเตยหอมกับกระดาษโรเนียว และใบเตยหอมผสมกระดาษกล่อง ตามลำดับโดยใช้ใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม ( control )
เกณฑ์การทดลองการผสมใบเตยหอมกับกระดาษชนิดต่าง ๆ
ดีมาก หมายถึง เยื่อกระดาษมีเนื้อละเอียด ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
ดี หมายถึง เยื่อกระดาษส่วนใหญ่มีเนื้อละเอียด ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัวและประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
พอใช้ หมายถึง เยื่อกระดาษบางส่วนมีเนื้อละเอียด ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
ปรับปรุง หมายถึง เยื่อกระดาษเนื้อไม่ละเอียด ผิวไม่เรียบ ไม่มีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา
จากการทดลองคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา ผลการทดลองปรากฏ ดังตาราง 2
ชนิดของสี
|
ปริมาณสีของกระดาษ
แต่ละประเภท ( กรัม )
|
ผลการทดลอง
|
สีผสมอาหาร
|
15
|
พอใช้
|
สีย้อมผ้า
|
15
|
ดีมาก
|
สีโปสเตอร์
|
15
|
ดี
|
จากตาราง 2 พบว่า สีที่ใช้ผสมในการทำกระดาษสากระดาษสาที่มีคุณภาพดีที่สุด ได้แก่ สีย้อมผ้า รองลงมาคือ สีโปสเตอร์และสีผสมอาหาร ตามลำดับ
เกณฑ์การเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา
ดีมาก หมายถึง เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน มากกว่า ร้อยละ 95
ดี หมายถึง เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ร้อยละ 85
พอใช้ หมายถึง เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ร้อยละ 65
ปรับปรุง หมายถึง เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน น้อยกว่า ร้อยละ 50
|