|
|
สาเหตุไข้หวัด และลักษณะของโรค
สาเหตุ เกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน โรคหวัดอาจเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิดด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza viruses) ได้แก่ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ที่พบมากที่สุด เชื้อไวรัสยังรวมไปถึงเอคโคไวรัส (Echovirus), อะดิโนไวรัส (Adenovirus), พาราไมโซไวรัส (Paramixovirus), คอกซ์แซกคีไวรัส (Coxsackievirus) จะทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยไวรัสเหล่านี้สามารถกลายพันธุ์เพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ โดยที่บริเวณกล่องเสียง (คอหอย)
การติดต่อ
โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนติดต่อ โดยละอองเหล่านี้สามารถทำให้คนเป็นหวัดได้ผ่านจากการสูดละอองเหล่านี้เข้าไปโดยบังเอิญ หรือผ่านการสัมผัสจากมือต่อมือกับผู้ป่วย และจากการสัมผัสวัตถุที่ผู้ป่วยเคยสัมผัสมาก่อน ซึ่งจะติดต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคได้ผ่านทางส่วนตาและจมูก เมื่อมือที่เปื้อนเชื้ออยู่สัมผัสไปโดน
อาการของโรค
คนที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดเข้าไปมีอัตราการเป็นโรคสูงถึง 95% การแสดงอาการจะเกิดขึ้น 1-2 วันหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งโดยปกติแล้วอาการของโรคหวัดจะเริ่มต้นด้วยอาการเจ็บคอ และไม่มีอาการติดขัดใดๆ ในระบบทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเอง อาการจะเกิดขึ้นจากกลไกการสกัดกั้นเชื้อโรคของร่างกายได้แก่ อาการจาม, น้ำมูกไหล, และไอเพื่อขับเชื้อออกไป และการเกิดอาการอักเสบเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงาน
ผู้ป่วยอาจมีไข้ตัวร้อนเป็นพักๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกใสจาม คอแห้ง หรือเจ็บคอเล็กน้อย ไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะเล็กน้อยลักษณะสีขาว บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ มีเพียงคัดจมูก น้ำมูกใส ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด บางครั้งอาจมีไข้สูง และชักได้ มีอาการท้องเดินได้ หรือถ่ายเป็นมูกร่วมด้วย ถ้าเป็นเกิน 4 วัน หรือถ่ายเป็นมูกข้นเหลืองหรือเขียวหรือไอมีเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว จากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย และอาจมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนตามมาซึ่งจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมกัน ตรวจพบ ไข้ น้ำมูก เยื่อจมูกบวมและแดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอลซิลโต แต่ไม่แดงมากและไม่มีหนอง
โรคแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยเกิดจากการอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ทำให้น้ำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ถ้าลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง อาจทำให้เป็นต่อมทอลซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ในเด็กเล็ก อาจทำให้มีอาการชักจากไข้สูง ท้องเดิน บางคนอาจมีเสียงแหบ เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบ บางคนอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ
การป้องกันโรค
วิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงเชื้อหวัดได้คือการหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย, และด้วยการล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าของตนเอง เจลทามือที่มีส่วนประกอบเป็นแอลกอฮอล์จะช่วยลดไวรัสที่ปนเปื้อนบนมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
การรักษา
ในขณะนี้ ยังไม่มีหนทางใดๆ ในการรักษาโรคหวัด ในการพิสูจน์ทางการแพทย์ กล่าวว่ามีเพียงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเท่านั้นที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยปกติ เมื่อผ่านการติดเชื้อมาไม่กี่วัน ร่างกายก็จะเริ่มผลิตแอนติบอดี้ (Antibody) ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดของเซลล์ออกมาเป็นจำนวนมาก
|
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคหวัด
1. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหรืออกกำลังกายมากเกินไป
2. สวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น หลี่กเลี่ยงการถูกฝน และสถานที่ที่มีอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็นหรือดื่มน้ำเย็น
3. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยลดไข้และทดแทนน้ำที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง หรืออาจดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ
4. ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน น้ำส้ม น้ำผลไม้
5. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา เช็ดตัวเวลาไข้สูง
6. สวมผ้าปิดจมูก ป้องกันการแพร่ของเชื้อหวัด
7. หมั่นล้างมือให้สะอาด กลั้วคอด้วยน้ำบ่อยๆ
8. อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดี
9.ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
10. ระวังการแพร่กระจายของสารคัดหลั่งจากร่างกาย อาทิ น้ำมูก น้ำลายหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำเช่น เด็ก คนแก่ หรือคนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org/
www.siamhealth.net/Disease/infectious/common_cold.htm
ที่มาของภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no05/sub7.html
http://www.suriyothai.ac.th/th/node/1047
|
|
|