ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญ คือ ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการปวดจะเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆ ความรุนแรงของอาการปวด มีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 ชม. อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมี ความเครียด อากาศร้อน แสงจ้า หรืออดนอน ขณะปวดไมเกรนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจไวต่อแสงหรือเสียง
โรคปวดศีรษะไมเกรนส่วนใหญ่จะเป็นในผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง แต่ก็อาจเกิดในผู้ที่สุขภาพจิตดีก็ได้
สาเหตุของไมเกรน
ไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบๆสมอง ระบบประสาทจะมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดอาการอักเสบดังกล่าวเกิดขึ้น และอาการปวดอย่างรุนแรงตามมา
ปัจจัยกระตุ้นมีดังนี้
- อาหาร คือ ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรสหรือสารถนอมอาหาร
- การนอนหลับ การนอนหลับมากหรือน้อยเกินไป สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้
- ฮอร์โมน ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นไมเกรน บางคนจะมีอาการปวดไมเกรนในช่วงที่มีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก บางคนที่ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดบางชนิดอาจกระตุ้นให้มีอาการปวดไมเกรนที่ รุนแรงหรือระยะเวลาในการปวดนานมากขึ้นได้
- สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน หรือได้กลิ่นบางอย่างก็ทำให้ปวดหัว เช่น กลิ่นน้ำหอม ควันบุหรี่ หรือการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
- ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะมีอาการปวดไมเกรนได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เครียด
 |
การรักษา
1. การรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่น การปรับเปลี่ยนอาหาร การนั่งสมาธิ และเทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ รวมทั้งการออกกำลังกายแอโรบิก
แมกนีเซียม (magnesium)
สมุนไพร มีสมุนไพรบางชนิด เช่น feverfew ที่นำมาทดลองแบบวิทยาศาสตร์แล้วได้ผลในเชิงป้องกันไมเกรน มีบางคนนำแมกนีเซียมและไรโบฟลาวินมาทำเป็นสูตรผสมใช้รักษาไมเกรน
2. การรักษาแบบใช้ยา แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ออกได้ เป็น 2 แนวคือ
แนวทางที่ 1 ยาที่ระงับหรือบรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรนเฉียบพลัน ยาที่เลือกใช้ได้แก่
- แอสไพริน
- พาราเซตามอล
- dextropropoxyphene
- โคเดอีน (codgine)
- เออร์กอท (ergot) หรือ ergotc ผสมคาเฟอีน
- dihydroergotamine (DHE-45)
- ยาแก้ปวด ที่แรงขึ้นหน่อยคือ meperidine ซึ่งมักใช้ในการรักษาแบบฉุกเฉิน เวลาเกิดไมเกรนรุนแรงเฉียบพลันแต่ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ
- ยากลุ่มลดอักเสบ ที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAID) นอกจากแอสไพรินแล้ว ยังมียากลุ่มที่เรียกย่อๆ โดยรวมว่ายาเอ็นเสด (NSAID)
แนวทางที่ 2 ยาป้องกันการกำเริบของไมเกรน
สำหรับคนที่มีอาการไมเกรนกำเริบเดือนละ 2 ครั้งขึ้นไปหรือไม่บ่อยเท่านั้นแต่ว่าทุกครั้งที่กำเริบ จะมีอาการรุนแรงและกินเวลานานจนมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมาก ยาที่ใช้ป้องกันมีอาทิเช่น
- ยาปิดกั้นเบต้า เช่น propanolol, timolol ขนาด 40-240 มก./วัน
- ยาปิดกั้นช่องแคลเซียม
- ยาเอ็นเสด
- ยากล่อมประสาทกลุ่ม tricyclig antidepressants (TCA)
- monoamine oxidase inhibitors (MAOIS)
- ยากลุ่มเออร์กอท
- alpha agonist
- antiserotonin agents (SSRI) เช่น fluoxetine (prozac), sertraline (zoloft), paroxetine (paxil)
- divalproex sodium (depakote)
วิธีการป้องกันโรค
วิธีที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี วิธีแรก คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการกำจัดความเครียดอย่างเหมาะสม วิธีที่สอง คือ การรับประทานยาป้องกันไมเกรน แพทย์จะแนะนำให้รับประทานป้องกันก็ต่อเมื่อปวดศีรษะบ่อยมาก เช่น สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งขึ้นไป หรือแม้จะปวดไม่บ่อยแต่รุนแรงมากหรือนานต่อเนื่องกันหลายวัน ยาป้องกันไมเกรนนั้นมีอยู่หลายชนิด จะต้องเลือกชนิดและปรับขนาดยาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายไป แนะนำให้รับประทานยาป้องกันต่อเนื่องจนอาการสงบลงนาน 6-12เดือนจึงลองหยุดยาได้ เมื่อกำเริบขึ้นอีกจึงเริ่มรับประทานใหม่
ที่มาของข้อมูล : http://thai-good-health.blogspot.com/2009/08/migraine-headache.html
http://health.kapook.com/view69.html
http://www.khonnaruk.com/html/verandah/health/migraine.html
ที่มาของภาพ : http://new.goosiam.com/news2/html/0013720.html
http://healtynana.blogspot.com/2010/07/blog-post.html
|