Ran khaa ya
   
 
 

                มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เซลล์เจริญ(แบ่งตัว) อย่างผิดปกติ การที่เซลล์เปลี่ยนสภาพไปจากปกติจะไม่อยู่ในการควบคุมวัฏจักรการแบ่งตัว รุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง หรืออาจแพร่กระจายไปยังที่อื่น ๆ (การแพร่กระจายของเนื้อร้าย) มะเร็งทั้งหมดยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ

                มะเร็งเกิดขึ้นได้โดยสารพันธุกรรมหรือยีนซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ผิดปกติไป โดยที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรมนั้นเป็นผลมาจากสารก่อมะเร็ง อาทิ ยาสูบ ควัน รังสี สารเคมีอย่างอื่น หรือ เชื้อโรค ยีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำเพาะเจาะจงระหว่างการทำสำเนาของดีเอ็นเอ หรืออาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในทุกเซลล์หลังจากคลอด การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมะเร็งนั้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอย่างอื่นๆ ด้วย

                มะเร็งกำเนิดจากเซลล์ร่างกายที่สามารถแบ่งเซลล์ได้วิวัฒนาการจนไม่สามารถควบคุมได้ มีกระบวนการวิวัฒนาการโดยการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมนั้นๆทำให้ผลิตเอนไซม์มาสร้างทีโลเมียในเซลล์อย่างไม่หมดสิ้นทำให้เซลล์ไม่สามารถหยุดแบ่งเซลล์ได้ เพิ่มเติม ทีโลเมียเปรียบเหมือนนาฬิกาทีนับถอยหลังไปเรื่อยๆขณะนั้นเซลล์ยังสามารถแบ่งเซลล์ต่อไปโดยทีโลเมียจะหดสั้นลงเรื่อยๆและเมื่อสายทีโลเมียหมดก็จะทำให้เซลล์หยุดแบ่งตัวทำให้มนุษย์ไม่สามารถอยู่ยงคงกระพันต้องหยุดเจริญเติบโต แต่ทีโลเมียของเซลล์มะเร็งไม่หดสั้นลงทำให้เติบโตโดยควบคุมหยุดยั้งไม่ได้

อาการ

          1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
          2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
         3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
         4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด

สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่
        1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
        2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
        3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
        4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
        5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
        6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
        7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
        8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล

ชนิดของมะเร็ง
              มะเร็งสามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย (ยกเว้น ผม ขน ฟัน และเล็บ ที่งอกออกมาแล้วเท่านั้นที่ไม่เป็นมะเร็ง) มะเร็งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามชนิดของเซลล์ หรือเนื้อเยื่อต้นกำเนิด เพื่อความเข้าใจง่ายจึงแบ่งมะเร็งหรือเนื้องอกชนิดร้ายออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
                           1. มะเร็งของเยื่อบุ (คาร์ซิโนมา) ทั้งเยื่อบุภายนอกและภายใน เช่น มะเร็งของเยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เยื่อบุมดลูก รวมทั้งผิวหนังด้วย มะเร็งพวกนี้พบได้บ่อย และมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มักจะมีการแพร่กระจายไปทางกระแสน้ำเหลืองก่อนทางกระแสเลือด ฉะนั้น จึงมีโอกาสรักษาให้หายได้ง่าย ทั้งโดยวิธีผ่าตัดหรือรังสีรักษา
                           2. มะเร็งของเนื้อเยื่อ (ซาร์โคมา) เช่น มะเร็งของกล้ามเนื้อ ไขมัน ระบบประสาท กระดูก ฯลฯ มะเร็งพวกนี้มักจะมีการแพร่กระจายไปทางกระแสเลือดได้เร็ว และโดยเฉลี่ยแล้วจะพบในคนอายุน้อยกว่าคนที่เป็นมะเร็งเยื่อบุ

การรักษา
ในปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 6 วิธี คือ
           1. การผ่าตัด  
           2. รังสีรักษา รังสีที่ใช้รักษาโรคมะเร็งมี 2 กลุ่มใหญ่ คือ รังสีโฟตอน และ รังสีอนุภาค
           3. การใช้สารเคมีบำบัด 
           4. การใช้การรักษาทั้ง 3 วิธีกล่าวมาแล้วร่วมกัน
           5. การรักษาโดยการเสริมภูมิคุ้มกัน
           6. การรักษาทางด้านจิตวิทยา

วิธีป้องกัน
            1. เลือกอาหารที่มาจากพืช
            2. รับประทานผักและผลไม้เพิ่ม 
            3. รักษาน้ำหนักที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ 
            4. ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ 
            5. เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ
            6. ปรุงอาหารอย่างถูกต้อง 
            7. การถนอมอาหาร จะช่วยป้องกันการโรค
            8.การใช้ครีมป้องกันแสงแดดโดยเฉพาะตอน 10.00-15.00 น โดยใช้ครีมที่มี SF อย่างน้อย 15
            9.ไม่สำส่อนทางเพศ

สถิติโรคมะเร็งที่พบบ่อย

อันดับที่

เพศชาย

เพศหญิง

มะเร็งช่องปาก

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งตับ

มะเร็งเต้านม

มะเร็งปอด

มะเร็งช่องปาก

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งตับ

มะเร็งโพรงหลังจมูก

มะเร็งรังไข่

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งมดลูก

มะเร็งกล่องเสียง

มะเร็งลำไล้ใหญ่และทวารหนัก

๑๐

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งปอด


ที่มาของข้อมูล : www.nci.go.th/Knowledge/index.html
                        http://th.wikipedia.org/wiki/
                        http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK9/chapter6/chap6.htm
ที่มาของภาพ : http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=276
   http://www.apijit.com/content.asp?pageid=Mw&directory=MTY0&parent=MA&lang=&content=MjE0
 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน