Ran khaa ya
   
 
 

           "กลุ่มอาการโรคหัวใจ" ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ จำแนกได้เป็น 8 ประเภทหลัก คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ติดเชื้อที่หัวใจ และ มะเร็งหัวใจ

อาการของโรค
  1. เจ็บหน้าอก
  2. หอบ เหนื่อยง่าย
  3. ใจสั่น
  4. ขาบวม
  5. เป็นลม วูบ

สาเหตุ
         สาเหตุของโรคหัวใจอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     ประเภทที่ 1 เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่สู่ลูก โรคหัวใจประเภทนี้จะเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
     ประเภทที่ 2 อาจเกิดจากหลายๆสาเหตุ ได้แก่ เชื้อโรคต่างๆ ได้แก่ ตัวแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ และพิษที่สร้างจากตัวแบคทีเรีย การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจ การขาดวิตามิน เช่น การขาดวิตามิน บี1 โรคบางอย่างที่ทำให้ไขมันสูง โรคที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่เพียงพอ  นอกจากที่กล่าวมานี้ สภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยก็เป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรคหัวใจ


การรักษา
            1. การรักษาด้วยสายสวน ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อหาจุดในหัวใจที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะนี้ และใช้คลื่นความถี่สูงจี้ทำลายจุดกำเนิดไฟฟ้านี้ หัวใจก็จะเต้นจังหวะปกติ
            2.  การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งอาจทำได้สองวิธี คือ
       -การรักษาภายนอกห้องหัวใจ ไม่ต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม ซึ่งพบว่าจุดที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะนี้มักอยู่ใกล้หลอดเลือดดำจากปอด
       -การรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยใช้วิธีตัดแล้วเย็บ และจี้ในห้องหัวใจบางจุดด้วยความเย็นจัด หรือใช้สายความถี่สูงจี้ภายในห้องหัวใจซีกบนเพื่อให้เกิดแผลเป็น วิธีนี้จะต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม

วิธีการป้องกัน

  1. สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์
  4. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูงและหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
  5. ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
  6. งดและเลิกการสูบบุหรี่


โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
          เป็นโรคหัวใจที่เป็นมาตั้งแต่เกิด โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่พบในแม่ที่รับประทานยา หรือสารบางอย่างในขณะตั้งครรภ์ รวมถึงการติดเชื้อของแม่ เช่น หัดเยอรมัน ระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้โรคหัวใจแต่กำเนิด ยังพบได้บ่อย ในบางครอบครัว ซึ่งสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์
          อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด ที่มาพบแพทย์  
     1. ไม่มีอาการอะไร หรือ ได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติ 
     2. พวกที่มีอาการของโรคหัวใจ โดยในเด็กเล็กๆ จะดูดนมช้ากว่าเด็กที่มีอายุเท่าๆ กัน หายใจเร็ว น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นช้า และเป็นหวัดหรือปอดบวมบ่อย ถ้าคนโต จะเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว ถ้าเป็นมานาน หน้าอกข้างซ้ายจะโตกว่าข้างขวา 
    3. พวกที่มีริมฝีปาก และเล็บมือ เล็บเท้าเขียว
    4. ถ้าสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ ควรไปพบแพทย์ 
          การรักษาขึ้นกับความผิดปกติของหัวใจ
    1. รักษาด้วยยา ในรายที่หัวใจมีความผิดปกติไม่มาก และหายเองได้ รวมถึงการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม
    2. การผ่าตัด จะผ่าตัดในรายที่เป็นมาก รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ


โรคลิ้นหัวใจ
           เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจทำงานไม่ปกติ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงทั่วร่างกายไม่สะดวก  หัวใจทำงานหนักขึ้น และผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย
          สาเหตุ : การติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูห์มาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด
          หลักการรักษา :  รักษาตามอาการ และ ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม
          คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
          องค์การอนามัยโลก ( WHO ) และสหพันธ์สมาคมแพทย์โรคหัวใจนานาชาติ ได้จัดแบ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
    1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ทราบสาเหตุ ( Specitic heart musle disease )
    2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Cardiomyopathy )
โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ทราบสาเหตุ ในเด็กที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจเกิดจากการอักเสบ ( ติดเชื้อ ) เฉียบพลัน ( Acute myocarditis )
          สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
          หลักการรักษา : รักษาตามอาการ หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
          คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดอาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที

โรคหลอดเลือดหัวใจ
          สาเหตุ : หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากตะกรันไขมัน และ ลิ่มเลือด
          คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่  รับประทานยาลดไขมันในเลือด ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที  
          ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
                 • สูบบุหรี่                                              • เครียด
                 • มีความดันโลหิตสูง                             • ไม่ออกกำลังกาย
                 • มีไขมันในเลือดสูง                             • สตรีหลังหมดประจำเดือน
                 • เป็นโรคเบาหวาน                               • สตรีที่กินยาคุมกำเนิด
                 • มีน้ำหนักตัวเกินปกติ อ้วน                   • กินอาหารเค็ม
           อาการ
    1. เจ็บแน่นหน้าอก
    2. เหนื่อยง่าย
    3. ไม่มีอาการใดๆ แต่ทราบจากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ 
    4. จุก แน่นท้อง
             การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
     • ใช้ยา เช่น ยาลดการบีบตัวของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมความดันโลหิตสูง ยายับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ยาลดไขมันในเลือด  
     • การเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง ปัจจุบันมี 2 วิธี 
          1. การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด
          2. การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ/การผ่าตัด Bypass หลอดเลือดหัวใจ 

โรคเยื้อหุ้มหัวใจ
             สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
             หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก
             คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อาการเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส  อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้
             โรคของเยื่อหุ้มหัวใจที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แบบบีบรัด (constrictive pericarditis)

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
            สาเหตุ : มักไม่ทราบสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเกิดจากมีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ หรือมีวงจรลัดไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป
            ปัจจัยที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ : การออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
            อาการ : ในรายที่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจไม่มีอาการอะไรเลย  ผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ คอพอกเป็นพิษ หรือสาเหตุที่ร้ายแรงอื่น ๆ อาจรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้ามืด วิงเวียน เป็นต้น
           วิธีการรักษา : ถ้าไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้ามีอาการอาจรักษาด้วยการรับประทานยา ในกรณี หัวใจ เต้นเร็วผิดจังหวะ เกิดจากทางลัดวงจรไฟฟ้าในปัจจุบันมีวิธีการรักษา โดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้า ผ่านสาย สวนหัวใจ

โรคติดเชื้อที่หัวใจ
            การติดเชื้อที่หัวใจ เป็นการติดเชื้อภายในหัวใจที่มีความผิดปกติอยู่แล้ว เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น เป็นหนอง ฝี หรือฟันผุ เชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด เข้าไปเกาะติดอยู่ในบริเวณที่มีการไหลเวียนผิดปกติในหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น จะมีอาการไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
            พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก

โรคมะเร็งหัวใจ
         มะเร็งหัวใจ พบได้น้อย ส่วนใหญ่ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล : www.yourhealthyguide.com/article/topic-heart.htm
                         http://health.kapook.com/view28.html
                         http://th.wikipedia.org/
                         http://www.thaiheartweb.com/index.php?
ที่มาของภาพ : http://learners.in.th/blog/edu3204ni/329054
                       http://www.nookjung.com/health/34/comment-page-1

 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน