โรคไส้ติ่งอักเสบ (อังกฤษ: Appendicitis) เป็นโรคที่เกิดกับไส้ติ่ง ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบทุกรายต้องได้รับการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบและภาวะช็อค โรคนี้พบได้ทุกอายุ แต่พบบ่อยในช่วงอายุ 10 30 ปี ผู้หญิงกับผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เท่ากัน
|
อาการ
อาการปวดท้อง โดยช่วงแรกจะปวดแบบตื้อๆ หรือมวนๆ ต่อมาจะปวดตลอดเวลา อาการปวดท้องจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น ไอ จาม ขยับตัว เดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วงแรกจะยังไม่มีไข้ ต่อมา จะเริ่มมีไข้ต่ำๆ ไม่หนาวสั่น แต่ถ้าไส้ติ่งแตกหรือเป็นฝีหนองจะมีไข้สูง อาจมีท้องเสียหรือท้องผูก
สาเหตุ
ในปัจจุบันเชื่อกันว่าโรคไส้ติ่งอักเสบเป็นผลที่เกิดจากการมีการอุดตันของไส้ติ่ง เมื่อเกิดมีการอุดตันเกิดขึ้นแล้ว ส่วนที่อุดตันนี้จะมีการคั่งของมูกมาอัดแน่นและบวมขึ้น มีความดันภายในส่วนที่อุดตันนี้และตัวผนังไส้ติ่งเองสูงขึ้น เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดขนาดเล็ก ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง เมื่ออาการดำเนินต่อไปไส้ติ่งจะขาดเลือดและตายเฉพาะส่วนไป ต่อมาแบคทีเรียที่มีอยู่แล้วในลำไส้จะผ่านผนังไส้ติ่งที่ตายแล้วนี้ออกมา เกิดหนองขึ้นรอบๆ ไส้ติ่ง จนสุดท้ายแล้วไส้ติ่งที่อักเสบมากนี้จะแตกออกทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นพิษและเสียชีวิตได้
สาเหตุต่างๆ ของการอุดตันของไส้ติ่ง เช่น การมีวัตถุแปลกปลอม การมีบาดแผล พยาธิ สาเหตุที่ได้รับความสนใจมากสาเหตุหนึ่งคือการมีนิ่วอุจจาระไปอุดตัน นอกจากนี้ภาวะท้องผูกก็อาจมีส่วนด้วย
|
ภาวะแทรกซ้อน
ไส้ติ่งแตก ( Rupture appendix ) : คือ การที่ไส้ติ่งที่อักเสบและมีหนองอยู่ภายในนั้นแตกออก ทำให้หนองและสารต่างๆ ในลำไส้ ออกมาอยู่ในช่องท้อง ทำให้เกิดการติดเชื้อของช่องท้องตามมา มีอาการปวดทั่วท้อง แต่ความรุนแรงของอาการปวดจะน้อยลง ไข้สูงมากขึ้น และอาการโดยรวมของผู้ป่วยแย่ลง
ไส้ติ่งเป็นฝีหนอง ( Appendical abscess ) : เป็นภาวะที่ไส้ติ่งที่อักเสบ มีผังผืดจากในช่องท้องมาล้อมรอบ และกลายเป็นถุงฝีหนองอยู่ในช่องท้อง ถ้าแตกจะมีการกระจายของเชื้อโรคและทำให้เกิดการติดเชื้อทั่วทั้งช่องท้องซึ่งรุนแรงกว่าไส้ติ่งแตกธรรมดา ผู้ป่วยมีประวัติมีอาการปวดท้องรวมแล้วมากกว่า 3วันยังปวดท้องที่ด้านขวาล่าง ร่วมกับไข้สูงมากขึ้นและอาการโดยรวมของผู้ป่วยแย่ลง
การรักษา
ไส้ติ่งอักเสบรักษาโดยการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก ในช่วงแรกผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมการผ่าตัดโดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น cefuroxime, metronidazole ทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อในช่องท้อง ถ้าผู้ป่วยท้องว่างอาจใช้การผ่าตัดโดยการวางยาสลบ หรือไม่เช่นนั้นอาจใช้การทำให้ชาโดยฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง
การผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกในปัจจุบันนิยมใช้การผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง ส่วนในประเทศไทยยังนิยมใช้การผ่าตัดโดยการเปิดช่องท้องบริเวณ McBurney's point ตรงตำแหน่งที่เป็นไส้ติ่ง วิธีการกรีดแผลที่เป็นที่นิยมที่สุดคือการผ่าโดยใช้แนว gridion (แนวเฉียง) หรือแนวนอน
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org/
http://healthy.in.th/disease/appendicitis/
ที่มาของภาพ : http://202.44.68.33/node/12103
http://www.thaigoodview.com/blog/10716?page=1
|