ชื่อสามัญ Barking Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ Muntiacus muntjak
วงศ์ CERVIDAE
ชื่ออื่น อีเก้ง, ฟาน, กวางเห่า
ลักษณะจำเพาะ
เก้ง เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14-18 กิโลกรัม ตัวผู้มีเขาสั้นยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และมีแขนงเล็กๆแตกออกข้างละสองกิ่ง ตัวเมียไม่มีเขา ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง นอกจากเก้งเผือกที่มีขนสีขาวทั้งตัว มีต่อมน้ำตาขนาดใหญ่และแอ่งน้ำตาลึก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวยื่นออกมานอกริมฝีปากใช้สำหรับป้องกันตัว ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว และจะค่อยจางหายไปเมื่อมีอายุได้ราว 6 เดือน ในเมืองไทยมีเก้ง 3 ชนิด คือ เก้งธรรมดา(Common Barking Deer) เก้งหม้อ (เก้งดำหรือเก้งดง) (Feas Barking Deer ) และเก้งเผือก(Albino Common Barking Deer )
การดำรงชีวิต
เก้งชอบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว ตามพงหญ้าและป่าทั่วไป เว้นแต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ สัตว์ป่าชนิดนี้จะออกหากินตอนเย็นและเช้าตรู่ ส่วนตอนกลางวันจะหลบนอนตามพุ่มไม้ เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้องดัง เอิ๊บๆๆ คล้ายเสียงสุนัขเห่า และเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง อาหารของเก้งคล้ายกับกวางทั่วไปคือ กินใบไม้อ่อน หน่อไม้อ่อน มะขามป้อม และมะม่วงป่า เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุปีครึ่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
ถิ่นที่อยู่อาศัย
เก้งเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะเขตภูมิอากาศร้อนชื้น เขตที่มีเก้งอาศัยอยู่คือ ศรีลังกา อินเดียทางภาคใต้ จีนทางตอนใต้ พม่า มาเลเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย และทุกภาคของประเทศไทย
เกร็ดน่ารู้
|