Ran khaa ya
   
 
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
กระทิง ( Guar )
เก้ง ( Barking Deer )
ค่าง ( Langur )
ช้างเอเชีย ( Asian Elephant )
เนื้อทราย ( Hog Deer )
ลิงลม ( Slow loris )
ลิ่น ( Pangolin )
เสือโคร่ง ( Tiger )
หมีควาย ( Selenarctos Thibetanus )
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

ชื่อสามัญ                  Langur
ชื่อวิทยาศาสตร์      Phesbytis sp.
วงศ์                         CERCOPITHECIDAE
ชื่ออื่น                     -

ลักษณะจำเพา
           ค่าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างอย่างลิง แต่ต่างกันที่มีหางยาวมาก มีขนปกคลุมลำตัวสีเทาเงินจนถึงสีเทาเข้ม ซึ่งทั่วโลกมีค่างอยู่ 37 ชนิด ใน 6 สกุล
           ในประเทศไทยพบค่าง 4 ชนิด คือ ค่างดำ (Presbytis Melalophos) มีสีดำตลอดทั้งตัว ค่างแว่นถิ่นใต้ (P.obscura) มีขนรอบดวงตาเป็นวงกลมสีขาวคล้ายแว่น ค่างแว่นถิ่นเหนือ (P.phayrei) มีขนรอบดวงตาเป็นสีขาวคล้ายแว่น แต่ต่างกับค่างแว่นถิ่นใต้เล็กน้อย และค่างหงอกหรือค่างเทา (P.cristata) มีขนเป็นสีเทา นอกจากนั้นลักษณะต่างๆ จะคล้ายๆ กัน

การดำรงชีวิต
           พบค่างตามป่าทั่วไป ทั้งป่าชายฝั่งทะเลและป่าชายฝั่งที่เป็นที่ลุ่มต่ำ หรืออยู่ตามสวนยาง ปัจจุบันจะหาดูค่างได้ยาก เพราะค่างหลายชนิดถูกคุกคามจากมนุษย์ ทั้งการล่าและการจับไปขายเป็นสัตว์เลี้ยงหรือไปเป็นอาหารป่า ทำให้ประชากรค่างลดลงอย่างรวดเร็ว โดยสัตว์ชนิดนี้จะชอบออกมากินข้าวตามทุ่งนาใกล้ๆ สวน เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ 5-6 ตัว นานๆ จึงจะพบอยู่ตัวเดียว อาหารคือ ใบไม้ ผลไม้ และแมลง การผสมพันธุ์ของค่างจะคล้ายกับลิง คือเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ค่างก็จะจับคู่กัน แล้วตั้งท้องประมาณ 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกค่างจะอยู่กับแม่จนกว่าจะโตพอดูตัวเองได้หรืออายุประมาณ 1 ปี ก็จะแยกจากแม่

ถิ่นที่อยู่อาศัย
           ค่างอาศัยอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในพม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยพบตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีและทางภาคใต้

เกร็ดน่ารู้

  • ค่างเป็นสัตว์ที่ชาวบ้านนิยมรับประทานมาก เพราะเชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง โดยเฉพาะเลือดค่างสด เชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด
  • สามารถไปชมค่างตามสวนสัตว์ได้ที่สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์สงขลา

            ที่มา  จากหนังสือสัตว์ในวรรณคดีไทย ผู้แต่ง วัชรี กำชัย และคณะ สำนักพิมพ์ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจก.จำกัด  พิมพ์ครั้งที่ 2                                 กทม.ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์
            ที่มาภาพ
                        http://www.wcd13phrae.com/Dusky%20Langur.html
                        http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1309884

           
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน