Ran khaa ya
   
 
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
กระทิง ( Guar )
เก้ง ( Barking Deer )
ค่าง ( Langur )
ช้างเอเชีย ( Asian Elephant )
เนื้อทราย ( Hog Deer )
ลิงลม ( Slow loris )
ลิ่น ( Pangolin )
เสือโคร่ง ( Tiger )
หมีควาย ( Selenarctos Thibetanus )
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 


ชื่อสามัญ                  Asian Elephant
ชื่อวิทยาศาสตร์      Elephas maximus
วงศ์                          ELEPHANTIDAE
ชื่ออื่น                       ช้างป่า

ลักษณะจำเพา
           ช้างเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ช้างตัวผู้ที่มีงาเรียกว่า “ช้างพลาย” แต่บางตัวไม่มีงาเรียก “ช้างสีดอ” ตัวเมียปกติไม่มีงาเรียกว่า “ช้างพัง” แต่บางตัวอาจมีงาสั้นๆ เรียกว่า “ขนาย” มีหนังบริเวณลำตัวหนาราว 1.9-3.2 เซนติเมตร ช้างเป็นสัตว์กระเพาะเดียว มีฟัน 26 ซี่ งาคือฟันที่เปลี่ยนแปลงไป จมูกเป็นงวงยาว หลังโก่งโค้งเป็นรูปโดมตลอดแนวหลัง เท้าหน้ามีเล็บ 5 เล็บ เท้าหลังมี 4 เล็บ ปลายงวงมีติ่ง น้ำหนักประมาณ 3-4 ตัน

การดำรงชีวิต
            ช้างชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง แต่ละโขลงจะมีตัวเมียเป็นจ่าโขลง ส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน โดยจ่าโขลงจะเป็นผู้นำโขลงในการออกหากิน หาแล่งน้ำ หรือนำโขลงหนีศัตรู ช้างเป็นสัตว์ที่กินจุมาก อาหารได้แก่ หญ้า ใบไม้ หน่อไม้อ่อน ชอบกินต้นไผ่อ่อนและใบไผ่มาก ในหน้าแล้งชอบกินใบตองและหยวกกล้วยเป็นพิเศษ ในขณะที่ตื่นอยู่จะกินอาหารเกือบตลอดเวลา ช้างทั้งโขลงมีนิสัยชอบทำอะไรพร้อมๆ กัน คือเมื่อถึงเวลาออกหาอาหารก็จะออกหาอาหารพร้อมกัน เมื่อจะหยุดก็จะหยุดพร้อมกัน และจะยืนนอน แต่ก็มีบ้างที่นอนตะแคงหลับ ช้างจะผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุได้ 8-12 ปี ตั้งท้องนาน 19-21 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนประมาณ 70 ปี

ถิ่นที่อยู่อาศัย
           ช้างเอเชียอาศัยอยู่ทั่วไปในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในประเทศเนปาล บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย

เกร็ดน่ารู้

  • ช้างเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำประเทศไทย
  • ธงชาติไทยเคยใช้รูปช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
  • ช้างเผือกเป็นสัตว์ประจำจังหวัดยะลา
  • ช้างเป็นสัตว์ประจำจังหวัดสุรินทร์ มีการจัดงาน “แสดงช้างและกาชาด” อย่างยิ่งใหญ่ทุกปี
  • สามารถไปชมช้างตามสวนสัตว์ได้ที่สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน และสวนสัตว์สงขลา

    ที่มา จากหนังสือสัตว์ในวรรณคดีไทย ผู้แต่ง วัชรี กำชัย และคณะ สำนักพิมพ์ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจก.จำกัด  พิมพ์ครั้งที่ 2             กทม.ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์
    ที่มาภาพ
           
    http://www2.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000133271
             http://www.vcharkarn.com/uploads/158/158483.jpg

 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน