Ran khaa ya
   
 
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
สมอง(Brain)
หัวใจ(Heart)
ปอด(Lung)
ตับ(Liver)
หลอดอาหาร(Esophagus)
กระเพาะอาหาร(Stomach)
ลำไส้เล็ก(Small  Intestine)
ลำไส้ใหญ่(Large  Intestine)
ม้าม(Spleen)
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

                                                                 หลอดอาหาร (Esophagus)

               มีลักษณะเป็นท่อตรงที่วางตัวอยู่หลังหลอดลมและหัวใจ อยู่ภายในช่องอก เป็นหลอดที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ  ยาวประมาณ  23-25  cm. เป็นทางผ่านของอาหารจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร โดยส่วนแรกของท่อทางเดินอาหารที่มีผนังแบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่  ชั้น mucosa ,sobmucosa ,muscularis  extremaและ serosa
               การบีบตัวของเยื่อผนังหลอดอาหาร จะทำให้เกิด peristaltic  wave เพื่อเคลื่อนอาหารลงสู่กระเพาะ โดยกล้ามเนื้อของหลอดอาหารมีการเรียงตัวในสองลักษณะกล่าวคือ เรียงตามแนวเส้นรอบวงและในแนวขนานกับความยาวหลอดอาหาร กล้ามเนื้อที่กล่าวนี้ในช่วงปลายบนประมาณ  1ใน3 เป็นกล้ามเนื้อลาย(skeletal  muscle) ส่วนบริเวณจะพบกล้ามเนื้อทั้ง ชนิดที่เป็นกล้ามเนื้อเรียบและรายปะปนกัน กล้ามเนื้อในชั้นช่วยทำให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านผ่านท้องเดินอาหารได้โดยวีธีการที่เรียกว่า peristalsis ที่เกิดขึ้นจากการหดตัวอาหารลงมา ส่วนถัดมากล้ามเนื้อบริเวรนี้จะคลายตัวเพื่อรับอาหารเป็นทอดๆไปเรื่อย โดยปกติกล้ามเนื้อเรียบโดยเฉพาะที่จัดเรียงตามแนวเส้นรอบวงจะมีหน้าที่หดตัวเป็นหูรูด เพื่อปิดกั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารผ่านเข้าไปสู่กระเพาะอาหารแล้วก็จะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้อีก ขณะที่กระเพาะอาหารหดและคลายตัวเพื่อคลุกเคล้าอาหารกับน้ำย่อย
                เมื่อรับประทานอาหารอิ่มมากเกินไปแล้วนอนในทันทีหรือรับประทานอาหรจำพวกไขมันมากเกินไปอาจทำให้รู้สึกอึดอัดเรอขึ้นมาทำให้รู้สึกเปรี้ยวปาก และรู้สึกร้อนวูบๆ(burning) อยู่ในช่องอก อาการดังกล่าวนี้เรียก heartburn ซึ่งเกิดจากมีน้ำย่อยของกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารอักเสบได้ เมื่อเกิดขึ้นบ่อยๆอาจนำไปสู่การเกิดแผล (ulcer) เนื่องจากกรดในน้ำย่อยทำอันตรายต่อชั้นนี้ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกที่บริเวณแผล ในกรณีดังกล่าวนี้  Stratified squamous epithelium ถูกทำลายบ่อยๆอาจถูกเปลี่ยนเป็น columnar epithelium ซึ่งทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของหลอดอาหารต่อมา
  

หน้าที่
          รับอาหารจาก pharynx และให้อาหารผ่านลงไปสู่กระเพาะโดยการบีบรัดตัวของผนังเนื้อกล้ามของ Esophagus วิธีนี้เรียกว่า  peristaltic  contraction

ที่มา  หนังสือกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา  ผู้แต่ง สุคนธ์  คอนดี B.Sc.,M.S.(in Nursing) และ เกศินี เห็นพิทักษ์ วท.บ (พยาบาล), ค.บ., M.S.  พิมพ์ครั้งที่ 7  ปีพ.ศ. 2527  หน้า 312-313
ที่มาภาพ
http://www.thairath.co.th/media/content/2009/06/23/14774_20_4.jpg
http://www.astellas.co.th/images/pic_ltx.gif

 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน