Ran khaa ya
       
 
 
 

     นักวิทยาศาสตร์ทางด้านชีววิทยาประมาณว่าสิ่งมีชีวิตที่พบบนโลกมีอยู่มากกว่า 5 ล้านสปีชีส์ ในจำนวนนี้พบอยู่ในประเทศไทยร้อยละ 7 ของจำนวนสิ่งมีชีวิตดังกล่าว เมื่อเทียบกับประชากรไทยต่อประชากรโลกซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ1 เท่านั้น จึงถือได้ว่าประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างมาก ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่บนเขตเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นป่าชื้นเขตร้อน ดังนั้นประเทศไทยจึงมีระบบนิเวศที่หลากหลายทั้งระบบนิเวศบนบก เช่น ป้าชื้นเขตร้อน ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ระบบนิเวศของทะเลซึ่งมีที่ตั้งเป็นแนวหินปะการัง หาดโคลน หาดหินและระบบนิเวศแบบน้ำจืดซึ่งมีทั้งแม่น้ำลำคลอง หนองบึง อ่างเก็บน้ำ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อน สภาพเช่นนี้ทำให้เหมาะสมต่อการอยู่รอด การเจริญเติบโต การแพร่พันธุ์ของพืชสัตว์เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทั้งพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์

ในปัจจุบันการศึกษาทางด้านความหลากหลายยังมีอยู่น้อยและในวงจำกัด เฉพาะนักวิชาการเท่านั้น การศึกษาจะเป็นเฉพาะสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เช่น นกเงือก วัวแดง กระทิง ปลาบางชิด และยังมีสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ศึกษาหรือเป็นที่รู้จัก ซึ่งเราต้องตระหนักและศึกษารวบรวมความรู้อันจะก่อประโยชน์ทั้งในด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และภูมิปัญญาไทยที่จะนำไปสู่การเจริญพัฒนาและการอยู่รวมกันตลอดไป

 

 

 

ตารางเปรียบเทียบความหลากหลายของสปีชีส์ของพืชมีท่อลำเลียง และ สัตว์มีกระดูกสันหลัง บางชนิดในโลกและในประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ

 

ประเภทของสิ่งมีชีวิต

จำนวนสปีชีส์

โลก

ไทย

ร้อยละ

พืชจำพวกเฟิร์น
พืชจำพวกสน
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
พืชใบเลี้ยงคู่
สัตว์จำพวกปลา
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
สัตว์เลื้อยคลาน
สัตว์จำพวกนก
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

10,000
529
50,000
170,000
19,056
4,187
6,300
9,040
4,000

591
25
1,690
7,750
2,401
123
318
962
292

5.9
4.7
3.4
4.6
12.6
2.9
5.0
10.6
7.3


                จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างมาก เช่น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่ ปลา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนก ซึ่งเราต้อให้ความสนใจ และศึกษาค้นคว้าให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ที่มา:หนังสือ mini ชีววิทยา สำนักพิมพ์ พศ.พัฒนา 
ที่มาภาพ : thaiforestbooking.com
                  learners.in.th

   
       
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน