ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะของคนประกอบด้วยอวัยวะต่างๆดังนี้
ไต
ภายในไตประกอบไปด้วยหน่อยที่ทำหน้าที่ในการกรองจำนวนมากมาย เรียกหน่วยย่อยนี้ว่าหน่วยไตหรือเนฟรอน ในไตแต่ละข้างจะมีเนฟรอนประมาณ 1.0-1.25 ล้านหน่วย เนฟรอนของคนแต่ละคนมีจำนวนเนฟรอนจำกัดโดยสร้างมาตั้งแต่เกิดแล้วแบะไม่สามารถสร้างเพิ่มขึ้นได้อีก ถ้าผ่าไตตามยาวจะพบว่าไตประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
- รีนัลแคปซูล คือส่วนที่อยู่นอกสุดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มรอบๆไต
- รีนัลคอร์เท็กซ์ หรือเนื้อไตส่วนนอกมีสีแดงและมีลักษณะเป็นจุดๆ สีแดงๆ มากมาย แต่ละจุดก็คือเนฟรอนซึ่งประกอบด้วย โกลโมรูลัส โบว์แมนแคปซูล ท่อขดส่วนต้น ท่อขดส่วนท้าย
- รีนัลเมดัลลา หรือเนื้อไตส่วนในมีสีจางกว่าเนื้อไตส่วนนอกมีลักษณะเป็นเส้นๆ มีรูปร่างคล้ายพีระมิด เรียกว่าเมดัลลารีพีระมิด ส่วนนี้ประกอบด้วยท่อรวม และห่วงเฮเล ที่เมดัลลายังมีช่องเล็กๆ ยื่นเข้าไปจนจรดกับกิ่งกรวยไตซึ่งเป็นที่รองรับปัสสาวะที่ไหลมาจากท่อรวม
-
กรวยไต เป็นส่วนที่อยู่ตรงเว้าของไตเป็นที่รวมของน้ำปัสสาวะที่มาจากแคลิกซ์ ส่วนของกรวยไตจะเป็นส่วนที่ต่อกับท่อไตอีกทีหนึ่ง
เนฟรอน เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการกรองอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าฟังก์ชันแนลยูนิตของไต
ที่มาของภาพ www.2.bp.blogspot.com
การสร้างปัสสาวะของไต ประกอบด้วย 3 กระบวนการคือ
- การกรองที่โกลเมอรูลัส ทำหน้ากรอกสารโมเลกุลใหญ่เบสเมนต์เมมเบรนทำหน้าที่กันสารพวกคอลลอยด์และเอพิทีเลียม เป็นชั้นนอกสุดและเป็นเซลล์ที่มีแขนงยื่นออกมาทำหน้าที่คอยกรองสารพวกคอลลอยด์ ผนังทั้ง 3 ชั้นนี้ ทำหน้าที่ร่วมกันกรองโดยมีรูเล็กๆ ดังนั้นสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่กว่า 100 อังสตรอม จึงผ่านการกรองไม่ได้ของเหลวที่กรองได้มีลักษณะคล้ายพลาสมา แต่ไม่มีสารโมเลกุลใหญ่ปนออกมา ของเหลวที่กรองได้นี้ประกอบด้วยน้ำ กลูโคส กรดอะมิโน ยูเรียและพวกไอออนของสารต่างๆ ดังนั้นจึงเรียกของเหลวที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสได้อีกอย่างหนึ่งว่าอัลทราฟิลเทรตการกรองที่โกลเมอรูลัส อาศัยแรงดันในเส้นเลือดฝอยโกลเมอรูลัสและแรงซึ่งต้านทานการกรองโดยเกิดจากแรงไฮโดรสแตติก
- การดูดกลับที่ท่อหน่วยไต สารที่กรองได้ ร้อยละ 99 จะถูกดูดกลับที่ท่อหน่วยไตและที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 1 จะถูกขับออกจากร่างกายเป็นน้ำปัสสาวะ การดูดกลับมีทั้งแบบที่ต้องการใช้พลังงานหรือแอกทิฟทรานสปอร์ตและแบบไม่ต้องใช้พลังงาน
การดูดกลับแบบที่ต้องใช้พลังงาน ได้แก่ การดูดกลับของกลูโคส โปรตีนโมเลกุลเล็ก กรดอะมิโนชนิดต่างๆ กรดอินทรีย์ ฟอสเฟต ซัลเฟต โซเดียมไอออนและโพแทสเซียมไอออนส่วนการดูดกลับแบบไม่ใช้พลังงานคือ น้ำ ยูเรีย และคลอไรด์
-
การหลั่งสารโดยท่อหน่อยไต นอกจากดูดซึมสารต่างๆกลับเข้าสู้กระแสเลือดได้แล้วยังสามารถสร้างสารบางอย่างปล่อยเข้าสู่ของเหลวในท่อหน่วยไตได้ด้วยดังนี้
- ท่อขดส่วนต้น มีการหลั่งสาอินทรีย์เข้าสู่ของเหลวภายในท่อหน่วยไตหลายชนิด
- ท่อขดส่วนท้าย มีการหลั่งไฮโดรเจนไอออนโดยกระบวนการแอกทิฟทรานสปอร์ตแต่น้อยมาก
-
ท่อรวม ทำหน้าที่หลั่งสาร โดยไฮโดรเจรคาไอออนจะถูกขับออกโดยกระบวนการแอกทีฟ ทรานสปอร์ต
ที่มาของภาพ www.ic-enzyme.com
ท่อไต
เป็นส่วนที่ต่อจากกรวยไตและไปสิ้นสุดที่กระเพาะปัสสาวะผนังของท่อไตเป็นกล้ามเนื้อเรียบและหดตัวแบบเพอริสทัลซิสไล่ให้ปัสสาวะเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหาร มีผนัง 3 ชั้นโดยชั้นในสุดเป็นเยื่อหุ้มบุเรียกว่า มิวโคซา ชั้นกลางเป็นชั้นกล้ามเนื้อ ชั้นนอกเป็นเยื่อเกี่ยวพันให้ความแข็งแรงแก่ท่อไต
กระเพาะปัสสาวะ
ทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมปัสสาวะและขับถ่ายเมื่อเวลาเหมาะสมการถ่ายปัสสาวะ
ท่อปัสสาวะ
เป็นส่วนสุดท้ายของทางเดินปัสสาวะ ในผู้ชายมีท่อปัสสาวะยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ส่วนในผู้หญิงท่อปัสสาวะยาวเพียง 4 เซนติเมตรเท่านั้นท่อปัสสาวะของผู้ชายเปิดเข้าสู่ penis และเป็นทางผ่านของอสุจิด้วย ส่วนในเพศหญิงท่อปัสสาวะไม่ได้ผ่านคลิทอริสและไม่ได้รวมกับช่องคลอดแต่จะเปิดออกสู่ภายนอกโดยตรง
|