Ran khaa ya
     
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ระบบโครงสร้างกระดูก
ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบประสาท
ระบบย่อยอาหาร
ระบบอวัยวะรับสัมผัส
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

                                                                 ระบบอวัยวะรับสัมผัส
นัยน์ตา
     ตาคนมีการพัฒนาการดีมาก โดยมีส่วนประกอบต่างๆ ช่วยให้ตาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย หนังตาบนปิดถึงหนังตาชั้นล่างเพื่อช่วยป้องกันอันตรายให้กับลูกนัยน์ตา ที่ด้านนของหางตามีต่อมน้ำตาสร้างน้ำตามาเปิดเข้าที่ลูกนัยน์ตา เพื่อหล่อเลี้ยงลูกตาให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอนอกจากนี้น้ำตายังมีเอนไซม์ไรโซไซม์ทำลมายจุลินทรีย์และน้ำมันช่วยเคลือบลูกนัยน์ตาด้วยและบริเวณหัวลูกในตายังมีช่องที่น้ำตาที่มากเกินไหลเข้าสู่โพรงจมูกด้วยตาทำหน้าที่รับสัมผัสทั้งแสงและสีแล้วเปลี่ยนเป็นกระแสประสาทส่งเข้าสู่สมอง ลูกตาของคนอยู่ในกระดูกเบ้าตาหรือกระบอกตามีกล้ามเนื้อ 6 มัดยึดอยู่ ทำหน้าที่กลอกลูกตาไปมา

ที่มาของภาพ  www.t2.gstatic.com

หู
     เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่2ประการคือการได้ยินหรือรับเสียงโดยสามารถแยกความแตกต่างของคลื่นเสียงได้และทำหน้าที่ทรงตัวกับรักษาสมดุลของร่างกาย
จมูก
    จมูกจัดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกประเภทสารเคมี ภายในจมูกมีเยื่อบุจมูกอยู่ทางด้านบน มีพื้นที่ประมาณ 2.4 ตารางเซนติเมตร จะมีเซลล์ซึ่งทำหน้าที่การรับความรู้สึก ซึ่งมีขนเซลล์อยู่ด้วยประมาณ 6-8 เส้นขนเซลล์นี้จะไวต่อการกระตุ้นมาก เมื่อมีสสารเคมีใกระตุ้นก็จะเปลี่ยนให้เป็นกระแสประสาทแล้สส่งไปตามแอกซอนของหลายๆเซลล์ ก็จะรวมกันเปฌ็นเส้นประสาทรับ

ที่มาของภาพ  www.blog.scphc.ac.th

ลิ้น
     ลิ้นทำหน้าที่ในการรับรส ซึ่งเป็นสารเคมีเช่นเดียวกับการรับกลิ่น จึงจัดเป็นพวกรับความรู้สึกประเภทสารเคมี ที่ลิ้นจะมีตุ่มรับรส ภายในตุ่มรับรสจะมีเซลล์ซึ่งมีลักษณะแหลมหัวแหลมท้าย เรียกว่าเทสต์เซลล์ หรือเซลล์รับรส เซลล์พวกนี้จะวางตัวตั้งฉากกับเยื่อบุผิว ตุ่มรับรสจะมีรูเปิดที่ผิวลิ้น เรียกว่า เทสต์พอร์ ที่ส่วนปลายของเซลล์รับรส มีขนเซลล์ทำหน้าที่ในการรับรสทางส่วนล่างของเซลล์มีเส้นประสาทนำกระแสประสาทไปยังสมองเส้นประสาทรับรส คือเส้นประสาทคู่ที่ 7 รับรสจากบริเวณปลายลิ้นและข้างลิ้น และเส้นประสาทคู่ที่ 9 รับรสจาก บริเวณโคนลิ้น แต่ละตุ่มรับรสจะมีเซลลีที่ทำหน้าที่ในการรับสัมผัสรสประมาณ 4-20 เซลล์แต่ละตุ่มรับรส จะทำหน้าที่รับรสเพียงรสเดียวเท่านั้น
ผิวหนัง
     ผิวหนังจะมีอวัยวะรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับสัมผัสหลายอย่าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. รับสัมผัสเกี่ยวกับอุณหภุมิ คือ รับความรู้สึกว่าร้อนหรือหนาว
2. พวกรับสัมผัสทางกล คือพวกรับความรู้สึกเกี่ยวกับความกดดัน ความเจ็บปวด

 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน