Ran khaa ya
     
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ประโยชน์ของคะน้า
คะน้ามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
พันธุ์คะน้าที่นิยมปลูก
การปลูกผักคะน้า
ความสำคัญของดินต่อพืช
โรคและแมลง
สารอาหาร
การเก็บเกี่ยว
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ


                ใบทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงและ ปัจจัยที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ แสงสว่าง คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ คลอโรฟิลล์ ดังนั้นโครงสร้างของใบจึงต้องเอื้ออำนวยต่อการรับแสง การรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และการลำเลียงน้ำและอาหาร โครงสร้างของใบเอื้อต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

            โครงสร้างภายนอกของใบ 
                ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนเบาๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมี ก้านใบ (petiole) เชื่อมติดกับลำต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมี หูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบดังภาพที่ 12-11 การที่ใบพืชมีลักษณะแบน มีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให้ได้พลังงานไปใช้ในการตรึง คาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อนได้ดีขึ้น โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากมีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีที่รับ พลังงานแสงแต่ใบบางชนิดมีสีแดงหรือสีม่วง เป็นเพราะภายในใบมีการสร้างสารสีอื่นๆ อีก เช่น แอนโทไซยานิน (anthocyanin) หรือมี แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งถ้ามีมากกว่าคลอโรฟิลล์จะทำให้ใบมีสีออกแดงหรือเหลืองมากกว่าเขียว

                                                          
                                                           ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมี เส้นใบ (vein) แตกแขนงออกมาจาก เส้นกลางใบ (midrib) เพื่อให้การลำเลียงสารต่างๆจากท่อลำเลียงไปสู่ทุกๆ เซลล์ของใบได้ทั่วถึง ดังภาพที่ 12-12 ก. ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะก้านใบอาจเป็นกาบที่มีเส้นใบขนาดใหญ่เรียงขนานกันจนถึงปลายใบ ดังภาพที่ 12-12 ค. พืชบางชนิดเส้นใบย่อยแตกแขนงตั้งฉากกับเส้นใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย และเส้นใบย่อยก็ยังเรียงขนานกันเองด้วย เราจึงเห็นว่าในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วๆไป เส้นใบย่อยไม่แตกแขนง ดังภาพที่ 12-12 ข.

                                             ก. ใบขนุน  ข. ใบข้าวโพด  ค. กาบใบของข้าวโพด

               ใบเดี่ยว มี แผ่นใบเพียงใบเดียว อาจจะเว้า หรือแหว่งแต่ไม่ถึงเส้นกลางใบ มีใบบนก้านใบเพียงใบเดียว ซอกก้านใบเดี่ยวจะมีตา เช่น ใบมะละกอ มะม่วง ชมพู่ สาเก ตำลึง อ้อย ละหุ่ง มันสำปะหลัง ลูกใต้ใบ มะยม เป็นต้น
                    ใบประกอบ แผ่น ใบแตกเป็นใบย่อยเล็กๆ (leaflet) ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปติดอยู่กับก้านใบใหญ่ขณะที่ใบย่อยเจริญทุกๆ ใบจะคลี่ออกพร้อมกัน ซอกใบย่อยจะไม่มีตา เช่น กุหลาบ ถั่ว กระถิน มะขาม ก้ามปู ชมพู พันธ์ทิพย์ เป็นต้น

                โครงสร้างภายในของใบ

                      ลักษณะโครงสร้างภายในของใบจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช และสภาพแวดล้อมที่เจริญอยู่ แต่จะประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น
                                ก. ภายถ่ายพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น ใบถั่ว
                                ข. ภาพถ่ายพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ใบข้าวโพด
                                ค. ภาพวาดใบข้าวโพด


                 หน้าที่ของใบ 
                 ใบมีหน้าที่สำคัญ คือ สร้างอาหารโดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง หายใจ คายน้ำ และแลกเปลี่ยนแก๊ส นอกจากนี้ใบยังมีหน้าที่อื่นๆ อีก

                                               ก. หนามของกระบองเพชร
                         ข. ถุงดักแมลงของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
                       ค. มือเกาะของดองดึง

                       พืชน้ำบางชนิดจะมีก้านใบพองโตทำหน้าที่ เป็นทุ่นช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ เช่น ผักตบชวา พืชที่มีลำต้นอ่อนเลื้อยพันสิ่งที่อยู่ใกล้จะมีใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ ยึดเกาะ และพยุงลำต้น เช่น ดองดึง ถั่วลันเตา เป็นต้น
                ใบ ของพืชบางชนิดเปลี่ยนแปลงไปเป็นถุงดักแมลงหรือสัตว์เล็กๆ ภายในจะมีต่อมสร้างเอนไซม์ย่อยโปรตีน เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง เป็นต้น

ที่มาภาพ
            1. http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTV1Fu5SfiNKB3KZakAjWRxykublC6d7fvx
JHKmSwuMusEftaM7
            2.http://km.vcharkarn.com/images/uploads/16.jpg.
            3.http://km.vcharkarn.com/images/uploads/17.jpg
            4.http://km.vcharkarn.com/images/uploads/21.jpg
            5.http://km.vcharkarn.com/images/uploads/23.jpg.

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน