ู่
ข้าวหลามมีความสำคัญหลายอย่างซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านสมัยโบราณเราสามารถพบเห็นข้ามหลามได้ หลายจังหวัดในประเทศไทย ข้าวหลาม เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนา
จะเป็นพิเศษ เพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร
ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
1. ส่วนกระบอก เลือกไม้ไผ่ที่ค่อนข้างอ่อนจะมีเยื่อมาก เพื่อให้ข้าวหลามที่สุกแล้ว เมื่อแกะรับประทานจะสะดวกเพราะมันร่อนหลุดจากเปลือกไม้ไผ่ได้ง่าย เอามาเลื่อยกะระยะประมาณกระบอกละ 15 - 20 เซนติเมตร ตามใจชอบ ถ้ากระบอกไหนมีกลิ่นก็ไม่ใช้ เพราะจะทำให้ข้าวหลามมีกลิ่นไปด้วย สำหรับจุกที่จะอุดปากกระบอกข้าวหลามเพื่อช่วยให้ข้าวหลามระอุ ก็ทำจากใบตองแห้งห่อกาบมะพร้าวอย่างอ่อน ให้ได้ขนาดพอเหมาะกับกระบอกไม้ไผ่แต่ละกระบอกพับหัวกับท้ายแล้วทับเข้าหากันอีกที นำไปลองอุดกับกระบอกไม้ไผ่ให้แน่นพอดีก็ใช้ได้เราจะต้องทำจุกทุกกระบอก จุกจะช่วยให้ข้าวเหนียวในกระบอกร้อนระอุสุกทั่วกัน และช่วยไม่ให้กะทิหกล้นกระบอกด้วย
2. ส่วนเนื้อข้าวหลาม เอาข้าวเหนียวที่แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน มาล้างให้หมดกากแล้วผึ่งน้ำ กรอกใส่กระบอกประมาณ 1/3 ของกระบอก มะพร้าวคั้นเป็นกะทิแล้วกรอกใส่กระบอกที่มีข้าวเหนียวแล้วประมาณ 1/2 กระบอก ผสมน้ำตาล เกลือ ให้ได้รสชาติ เข้มข้นสักนิด เพื่อว่าเมื่อข้าวหลามสุกแล้วก็จะได้รสชาติพอดี (ถ้าชอบถั่วดำ ก็เอาถั่วดำที่ต้มสุกแล้วล้างน้ำให้สะอาด คลุกกับข้าวเหนียวก่อนกรอกใส่กระบอก)
3. เตรียมที่เผาข้าวหลาม จะใช้แบบเอาโคนกระบอกฝั่งดินสัก 3 - 5 เซนติเมตร ปักให้เป็นแถว ๆ หรือใช้แบบตอกหลัก 2 หลัก เอาเหล็กพาด แล้วจึงเอากระบอกข้าวหลามวางเอนบนเหล็กเรียงกัน หลักควรให้ห่างกันเท่าที่พื้นที่อำนวยจะทำเป็น 2 แถวก็ได้ ติดไฟใส่ถ่านให้ยาวเท่ากันความยาวของแถวข้าวหลามใต้เหล็กวางข้าวหลาม
ที่มาของภาพ
โดย ทีมงานคณะผู้จัดทำได้รวบรวมภาพและบางส่วน ทำการบันทึกภาพ ณ สถานที่จริง บ้านซอยมะเดื่อพัฒนา อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2548 - 30 มกราคม 2554
|