1. การย่างข้าวหลาม ผู้ทำจะต้องหมั่นพลิกข้าวหลามอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ข้าวหลามไหม้บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ข้าวหลามแข็ง ดูไม่น่ารับประทาน
2. ข้าวเหนียวดำ สามารถนำมาทำข้าวหลามได้เช่นกัน หรือจะใช้ข้าวเหนียวขาวปนกับข้าวเหนียวดำในอัตราส่วนต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ข้าวเหนียวขาว 4 ส่วน ผสมกับข้าวเหนียวดำ 1 ส่วน เป็นต้น
จะมีวิธีการดังนี้
ข้าวหลาม : ทุกคนรู้จักดีมีขายทั่วทุกมุมของประเทศทุกภาค ทุกจังหวัด อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย ไม้ไผ่ ข้าวสารเหนียว แต่ทำอย่างไรให้อร่อยนี่คือจุดสำคัญ
ไผ่ : ที่ใช้ทำข้าวหลามไม่ใช่ว่าเป็นไม้ไผ่ก็จะทำได้ทุกชนิด จะมีบางชนิดเท่านั้นที่ใช้ทำข้าวหลามได้ดี แต่ข้อสังเกตคือ ทุกจังหวัดทำข้าวหลามขายแต่ไม่มีไผ่ให้เห็น ไม่มีการปลูกไผ่ ไม่ส่งเสริมการปลูกไผ่ แต่ใช้ไม้ไผ่จำนวนมากมายต่อวัน ใช้แล้วก็กลายเป็นวัสดุไร้ค่า เป็นเพียงเศษไม้อย่างมากก็ทำเชื้อเพลิง แต่บ้านที่ไม่ใช้ฟืนหุงต้มก็จะทิ้งขว้างเป็นขยะต่อไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ชนิดของไผ่ที่เหมาะในการทำข้าวหลามสามารถ เรียงจากคุณภาพได้ดังนี้
1. ไผ่ข้าวหลาม : เป็นคุณสมบัติพิเศษ คือ ปล้องยาว 30 - 60 เซนติเมตร มีขนาดหลายแบบทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ และเยื่อไผ่ร่อนดีมาก ทำให้การปลอกออกจากลำไผ่ได้ดีมีทั้งความหอมได้รูปทรงของข้าวหลาม
2. ไผ่ป่า : เป็นไผ่พื้นเมืองที่ให้เยื่อดีมีอยู่ทั่วไป ลำต้นตรงข้อพองแต่เนื้อไม่หนา มีปล้องภายในประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2.5 นิ้ว
3. ไผ่สีสุก : เป็นไผ่ขึ้นตรงลำยาวปล้องยาวและใหญ่แต่เยื่อไม่ค่อยร่อนแต่ก็สามารถใช้ได้
ข้าวสารเหนียว : เป็นข้าวเหนียวชนิดดี เมล็ดยาวเมื่อสุกมีความหวานอ่อนนุ่ม
มะพร้าว : ส่วนที่ใช้เป็นส่วนผสมโดยคั้นเป็นกะทิ จะต้องสะอาดไม่ปนเปื้อนให้มีเฉพาะเนื้อมะพร้าวที่ขาวสะอาดคั้นเป็นหัวกะทิ กรณีบ้านเราจะใช้ไม้ไผ่ป่าเป็นหลักลำหนึ่งใช้ได้ 10 ปล้อง
ที่มาของภาพ
โดย ทีมงานคณะผู้จัดทำได้รวบรวมภาพและบางส่วน ทำการบันทึกภาพ ณ สถานที่จริง บ้านซอยมะเดื่อพัฒนา อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2548 - 30 มกราคม 2554
|