โครงสร้างภายในรากตัดตามขวางฟักทอง
เมื่อตัดรากใบเลี้ยงคู่คือฟักทอง ตัดตามขวาง แล้วนำมาศึกษาพบว่ามีการแบ่งชั้นของเนื้อเยื่อโดยเรียงจากภายนอกเข้าไปตามลำดับดังนี้
๑. เนื้อเยื่อชั้นผิว (epidermis)เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่มีเซลล์ที่เรียงตัวชั้นเดียวผนัง
เซลล์ บางไม่มีคลอโรพลาสต์ บางเซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก
๒. คอร์เท็กซ์ (cortex)เป็นอาณาเขตระหว่างชั้นเนื้อเยื่อชั้นผิวและสตีล ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
พาเรงคิมา ชั้นในสุดของคอร์เท็กซ์จะ เป็นแถวเดียวเรียกว่าเนื้อเยื่อชั้นในสุดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
๓. สตีล (stele) สตีลในรากจะแคบกว่าลำต้น ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้
๓.๑ เพริไซเคิล (pericicle)ผนังบางขนาดเล็กมีเซลล์เรียงตัว ๑-๒ แถว พบเฉพาะในราก
เป็นแหล่งกำเนิดของรากแขนง(secondary root)
๓.๒ มัดท่อลำเลียง(vascular bundel) ประกอบด้วยไซเลมอยู่ตรงกลางเรียงเป็นแฉก
โดยมีโฟลเอ็มอยู่ระหว่างแฉกต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญวาสคิวลาร์บันเดิล วาสคิวลาร์
แคมเบียมคั่นระหว่างไซเลมกับโฟลเอ็มในรากมีจำนวนแฉกประมาณ ๒-๖แฉก
โดยมากมักจะมี ๔ แฉก
๓.๓ พิธ(pith)เป็นบริเวณตรงกลางรากหรือไส้ในของราก
ที่มาข้อมูล:ว014.พิมพ์ครั้งที่11,กรุงเทพ:องค์การค้าของคุรุสภา,2543.ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
, สถาบัน.กระทรงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนชีววิทยา เล่ม4:
|