อภิปรายผลการทดลอง
โครงสร้างภายในภาคตัดตามขวางของรากฟักทอง พบว่าเนื้อเยื่อของรากแบ่งออกเป็นชั้น ๓ ชั้นคือ
|
๑. เนื้อเยื่อชั้นผิว (epidermis)เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่มีเซลล์ที่เรียงตัวชั้นเดียวผนัง
เซลล์ บางไม่มีคลอโรพลาสต์ บางเซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก
๒. คอร์เท็กซ์ (cortex)เป็นอาณาเขตระหว่างชั้นเนื้อเยื่อชั้นผิวและสตีล ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
พาเรงคิมา ที่ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหารเป็นส่วนใหญ่ ชั้นในสุดของคอร์เท็กซ์จะ
เป็นแถวเดียวเรียกว่าเนื้อเยื่อชั้นในสุดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เซลล์ชั้นนี้เมื่อมีอายุ
มากขึ้น จะมีผนังหนาเพราะมีสารซูเบอรินหรือลิกนินสะสมอยู่ทางด้านข้าง
๓. สตีล (stele)เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้นแอนโดเดอร์มิสเข้าไป สตีลในรากจะแคบกว่าลำ
ต้น ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี
๓.๑ เพริไซเคิล (pericicle)ผนังบางขนาดเล็กมีเซลล์เรียงตัว ๑-๒ แถว พบเฉพาะในราก
เป็นแหล่งกำเนิดของรากแขนง(secondary root)
๓.๒ มัดท่อลำเลียง(vascular bundel) ประกอบด้วยไซเลมอยู่ตรงกลางเรียงเป็นแฉก
โดยมีโฟลเอ็มอยู่ระหว่างแฉกต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญวาสคิวลาร์บันเดิล วาสคิวลาร์
แคมเบียมคั่นระหว่างไซเลมกับโฟลเอ็มในรากมีจำนวนแฉกประมาณ ๒-๖แฉก
โดยมากมักจะมี ๔ แฉก
๓.๓ พิธ (pith) ในรากใบเลี้ยงคู่จะเห็นพิธไม่ชัดเจนเพราะตรงกลางมักเป็นไซเล็ม
โครงสร้างภายในภาคตัดตามขวางของลำต้นฟักทอง พบว่าเนื้อเยื่อของลำต้นแบ่งออกเป็นชั้น ๓ ชั้นคือ
๑. เนื้อเยื่อชั้นผิว ( epidermis) อยู่ชั้นนอกสุด ปกติเรียงตัวเป็นแถวเดียวและอาจเปลี่ยนเป็นขน หนาม หรือเซลล์คุม
๒. คอรเทกซ์ (cortex) มีอาณาเขตแคบกว่าในราก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเซลล์
แต่ในลำต้นพืชส่วนใหญ่เห็นไม่ชัดเจนหรือไม่มีซึ่งต่างจากรากที่เห็นได้ชัดเจน
๓. สตีล (stele) ในลำต้น ชั้นของสตีลจะแคบมาก และจะแบ่งแยกจากชั้นคอร์เทกซ์ไม่ชัดเจน ซึ่งจะแตกต่างจากสตีลในราก ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้
๓.๑ วาสคิวลาร์บันเดิล (vascular bundle) หรือมัดท่อลำเลียงโดยประกอบด้วยไซเล็มอยู่ด้าน
ในโฟลเอ็มอยู่ด้านนอกเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียมขั้นระหว่าง
กลาง
๓.๒ พิธ ( pith) อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้น ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมา
โครงสร้างภายในภาคตัดตามขวางของใบฟักทอง พบว่าเนื้อเยื่อของใบแบ่งออกเป็นชั้น ๓ ชั้นคือ
|
๓. เนื้อชั้นผิว ( epidermis) มีทั้งด้านบนและด้านล่างประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว เซลล์ขนหรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์คุม เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายหมวกไต
๔. มีโซฟิลล์ ( mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง ๒ ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมากในพืชใบเลี้ยงคู่มี ๒ แบบ แบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ
๒.๑ แพลิเซดมีโซฟิลล์ ( palisade mesophyll) อยู่ใต้เอพิเดอร์มิสด้าบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่น
๒.๒ สปันจีมีโซฟิลล์ ( spongy mesophyll ) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาเป็นเอพิเดร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์รูปร้ช่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นน้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์
๓. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเล็ม และโฟลเอ็มโดยไซเล็มอยู่ด้านบน โฟลเอ็มอยู่ด้านล่างจะเรียงติดต่อกันอยู่ในเส้นใบ มัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท และส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์
ที่มาข้อมูล:ว014.พิมพ์ครั้งที่11,กรุงเทพ:องค์การค้าของคุรุสภา,2543.ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบัน.กระทรงศึกษาธิการ.หนังสือเรียนชีววิทยา เล่ม4
|