กล้วยไข่เชื่อม เวลาเลือกกล้วยไข่มาเชื่อม ให้เลือกกล้วยที่สีออกเขียว ๆเหลือง ๆ จากนั้นก็เตรียมกาละมังใบย่อม ๆ มาสักใบค่ะ เอาน้ำสะอาดใส่ลงไป กะว่าพอท่วมกล้วยที่เราปอกทั้งหมด แล้วก็ใส่เกลือป่นลงไปสักหยิบมือนึงค่ะ (น้ำ 2 ลิตร พิมใส่เกลือป่นราวๆ 1 ชช. อ่อนๆ) แล้วก็เริ่มต้นปอกกล้วยค่ะ ยิ่งกล้วยที่ห่าม เปลือกเขียวมากเท่าไหร่ จะยิ่งปอกยากนะคะ เวลาปอก เปลือกมันจะติดเนื้ออ่ะค่ะ ก็พยายามๆ เอาเปลือกออกให้หมด ดึงเส้นใยที่อยู่ติดตามเนื้อกล้วยออกด้วยนะคะ เวลาเขื่อมออกมาจะได้สวยๆ อ่ะค่ะ ปอกกล้วยเสร็จแต่ละลูก ก็เอากล้วยใส่ลงไปในกาละมังที่มีน้ำสะอาดผสมเกลืออยู่ เหตุที่ต้องใส่เกลือลงไปในน้ำ เพื่อไม่ให้กล้วยมีสีคล้ำดำอ่ะค่ะ ซึ่งจะทำให้เชื่อมออกมาแล้วไม่น่ากินอ่า เวลาเราไปซื้อกล้วยไข่เชื่อมตามตลาด บางทีจะเห็นว่ากล้วยเนี่ยมีรอยแตกขวาง ๆ ตามเนื้อหลายรอย ซึ่งดูแล้วสวยดี เหมือนมันซึมซับเอาน้ำเชื่อมเข้าไปมากอ่ะค่ะ ดูชุ่มช่ำ แล้วก็ยังดูอ่อนช้อยด้วย เพราะรอยแตกของกล้วย จะทำให้กล้วยดูงอ ๆ คดนิด ๆ สวยไปอีกแบบน่ะค่ะ ซึ่งพิมก็มีเทคนิคมาฝากค่ะ ... โดยการใช้มีดกรีดเบา ๆ ไปตามเนื้อกล้วย (ด้านเดียวพอค่ะ) แล้วก็กรีดแค่ผิว ๆ ไม่ต้องให้ลึกนะคะ เดี๋ยวพอกล้วยอ่อนตัว จะขาดจากกันง่ายๆ ซะเปล่าๆ จำนวนรอยที่กรีด ก็ตามใจชอบเลยค่ะ วิธีแบบนี้นิยมใช้กับกล้วยที่ห่ามมาก ๆ เพราะถ้ากล้วยที่สุกมากเนี่ย ไม่เหมาะค่ะ เนื่องจากเวลากล้วยอมน้ำเชื่อมเต็มที่ มันจะอ่อนตัวมาก และอาจจะหักเป็นชิ้นเป็นท่อนได้ตามรอยที่เรากรีดไว้น่ะค่ะ ตอนปอกเนี่ย ตัดหัวตัดท้าย จุกดำ ๆ ทิ้งไปด้วย ระหว่างแช่กล้วยไว้ในน้ำเกลือ เราก็มาทำน้ำเชื่อมสำหรับเชื่อมกล้วยกันค่ะ วันนี้พิมใช้น้ำตาลทรายขาว 450 กรัมต่อน้ำสะอาด 400 กรัมค่ะ ตั้งภาชนะที่เราจะใช้เชื่อมกล้วยบนเตาไฟค่ะ จะเป็นหม้อ หรือกระทะก็ได้อ่ะค่ะ แล้วก็เทน้ำตาล กับน้ำสะอาดลงไปเลยค่ะ ^^ ป.ล. ถ้าตอนเชื่อมน้ำเชื่อมเนี่ย ใส่ใบเตยมัด ๆ ลงไปด้วยสัก 3-4 ใบ จะช่วยให้น้ำเชื่อมหอมมากขึ้นนะคะ ตั้งไฟ ... ใช้ไฟกลาง จนน้ำตาลละลาย (ระหว่างนี้คนบ้างก็ดีนะคะ) พอน้ำตาลละลาย ก็ยกลงกรองสิ่งสกปรกออกครั้งนึงค่ะ แล้วก็เอาขึ้นตั้งไฟใหม่ จากนั้นก็ลดไฟลงให้อ่อนหน่อยค่ะ เพื่อเคี่ยวน้ำเชื่อมให้เหนียวเล็กน้อย (น้ำเชื่อมจะลดไปประมาณ 1/4) น้ำเชื่อมที่ได้ที่แล้ว จะสีเข้มขึ้นมานิดนึงอย่างนี้อ่ะค่ะ พอน้ำเชื่อมได้ที่แล้ว ... พิมก็เอากล้วยใส่ลงไปเลยค่ะ (กล้วยเนี่ยเอาขึ้นจากน้ำที่แช่เกลือแล้วไม่ต้องล้างอะไรเลยนะคะ) เนื่องจากกระทะพิมก้นลึกแต่เล็ก พิมก็เลยแบ่งเชื่อมกล้วยเป็น 2 ครั้งจ้า เชื่อมกล้วยไข่ ต้องใช้ไฟอ่อนหน่อยนะคะ ค่อย ๆ ให้น้ำเชื่อมซึมเข้าไปในเนื้อกล้วย พร้อมกับความร้อนที่จะทำให้กล้วยค่อย ๆ ระอุ และก็สุกในที่สุดพร้อมๆ กับซึมซับน้ำเชื่อมได้เต็มที่ ภาพนี้ หลังจากหย่อนกล้วยลงกระทะ ไปได้สักพักนึงค่ะ ระหว่างนี้ เอาทัพพีคนกล้วยในกระทะเบา ๆ สักหน่อยค่ะ เพื่อกลับด้านกล้วย ให้กล้วยด้านบนลงไปอยู่ในน้ำเชื่อมแทนน่ะค่ะ ภาพนี้ ตอนเชื่อมใกล้จะได้ที่แล้วจ้า ... เห็นไหมค่ะ เริ่มจะเหลืองสวยเท่ากันแล้วอ่า รอให้สีเข้มกว่านี้นิด แล้วกล้วยเริ่มงอ ๆ ตัว ก็ทยอยตักขึ้นได้เลยจ้า ไม่ต้องรอให้นานกว่านี้ เดี๋ยวกล้วยจะเละได้ ส่วนกะทิที่ใช้ราด ... พิมมีให้เลือก 2 วิธีค่ะ - วิธีแรก ... ใช้หัวกะทิล้วนๆ เลยค่ะ คั้นแบบไม่ผสมน้ำอ่ะ แล้วเติมเกลือลงไปนิดหน่อย ชิมให้มีรสเค็มนิดๆ ตั้งไฟคนไปสักแป๊บ จะข้นขึ้นเองโดยไม่ต้องผสมแป้งเลยค่ะ แต่อย่าให้เดือดนานนะคะ ไม่งั้นจะแตกมันได้ - วิธีที่สอง ... ใช้น้ำกะทิ หรือหัวกะทิที่คั้นแบบผสมน้ำ หากใช้แบบนี้ก็เติมแป้งข้าวโพดหรือแป้งข้าวเจ้าลงไปในกะทิหน่อยค่ะ แต่ไม่ต้องเติมเยอะนะคะ กะทิ 2 ถ้วย เติมแป้งข้าวโพดสัก 1-2 ชต. ก็พอค่ะ แล้วก็เติมเกลือนิดหน่อย ชิมพอรสเค็มปะแหล่มๆ นำขึ้นตั้งไฟ คนไปเรื่อยๆ ค่ะ จนแป้งสุก ... ก็จะขึ้นขึ้นกว่าเดิมพอควร ซึ่งพอแป้งสุกแล้ว หากไม่ข้นเท่าที่ต้องการ ค่อยเอาแป้งผสมน้ำนิดหน่อย เติมไปทีหลังได้ แล้วก็ทำให้สุกอีกที หรือถ้าเกิดผสมแล้วข้นไป ก็เติมน้ำไปทีหลังได้นิดหน่อยค่ะ แล้วก็รอเดือดปุด ๆ อีกครั้งก็ใช้ได้อ่ะ หลังจากตั้งไฟแล้ว ออกมาได้หน้าตาแบบนี้ค่ะ
ที่มา : http://travel.sanook.com/bangkok/bangkok_06299.php