ปลากัดป่ามหาชัย
ปลากัดป่ามหาชัยนั้นเท่าที่มีการแพร่กระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่แคบๆ ในเขตจังหวัดสมุทรสาครแถบมหาชัย อ.บ้านแพ้ว อ.บางทอรัด และ ตอนใต้ของอำเภอ กระทุ่มแบน ซึ่งถ้าเลยไปทางใต้จะเป็นทะเล ทางด้านตะวันตกจะเป็นกรุงเทพฯซึ่งเป็นถิ่นของปลากัด B. splendens ขึ้นไปด้านเหนือในเขตจังหวัดราชบุรี ปลากัดที่สำรวจพบก็เป็นปลากัด B. splendens จะมีก็ แต่ทางชายฝั่งตะวันออกเท่านั้นที่น่าจะเป็น อาศัยของปลากัดที่มีลักษณะเหมือนปลากัดมหาชัย ซึ่งความหวังที่รอการสำรวจนั้นน่าจะอยู่ในเขตจังหวัด สมุทรสงคราม เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าเลยไปกว่านั้นในเขตจังหวัดเพชรบุรีเป็นแหล่งผลิตปลากัด B. splendens สายกัดชั้นดี ซึ่งปลาที่พบในธรรมชาตินั้นก็เป็น ปลากัดหม้อป่า ปลากัดมหาชัยนั้นเป็นปลากัดที่มีรูปทรง และครีบคล้ายกับปลากัดป่าอีสาน แต่มีลักษณะลายที่แก้ม เหมือนกับปลากัดป่าใต้มีสีเหลือบเขียวอมฟ้าที่แวววาว และมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตซึ่งน่าจะเป็นเขตของปลากัดภาค กลางมากกว่า นอกไปจากนั้นปลากัดมหาชัยยังมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อย และไม่พบในแหล่งน้ำจืดในบริเวณใกล้เคียงเลย ซึ่งถ้าปลากัดจากมหาชัยนั้นเป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่อย่างที่ผมคิดจริงๆ ก็นับว่าเป็นปลากัดป่าที่อยู่ในสถาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงมาก เพราะแพร่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตชุมชนเป็นบริเวณแคบๆ ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งป่าจาก และแหล่งน้ำกร่อยซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยก็ถูกโค่นทำลายลง กลายเป็น โรงงาน นากุ้ง นาเกลือ และที่พักอาศัย น้ำเสียจากโรงงานต่างๆ ในบริเวณนั้นที่ปล่อยลงไปในแหล่งน้ำก็มีผลกับปลากัดอย่างมาก ยังไม่นับรวมไปถึงการที่มีปลาจากที่เลี้ยงเช่นปลาหางนกยูง (Poecilia retuculata) หลุดลงไปในแหล่งน้ำ และแย่งชิงอาหากกับปลากัด ซึ่งจากการสำรวจของผมนั้นพบว่ามีปลาหางนกยูง อยู่ในแหล่งน้ำใกล้เคียงเป็นจำนวนพอสมควร และปลาหางนกยูงนั้นได้ ทำให้ปลาพื้นเมืองที่มีลักษณะการหากินใกล้เคียงกันอย่าง ปลาข้าวสาร (Oryzias malastigma) หายไปจากแหล่งน้ำนั้นๆ อย่างน่าใจหาย ซึ่งผมก็หวังว่าปลากัดมหาชัยคงไม่กลายเป็นเหยื่อรายต่อไป นอกจากนั้นแล้ววิธีการจับปลา ซึ่งจับจากหวอดหมายถึงว่าปลาที่จับได้เกือบทั้งหมดเป็นปลาตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์ การจับนั้นยังต้องทำลายหวอดปลาด้วย ซึ่งในบางครั้งในหวอดก็มีไข่ และลูกปลาอยู่ ซึ่งถือเป็นการทำลาย และลดจำนวนปลาในธรรมชาติโดยตรง ที่หน้าเป็นห่วงมากอีกเรื่องก็ คือการผสมข้ามพันธุ์ในธรรมชาติ ผมพบว่าในเขตมหาชัยนั้นมีหลายบ้านที่เลี้ยงปลากัดหม้อไว้ บางแห่งทำเป็นฟาร์มเลยด้วยซ้ำ บางบ้านมีการนำปลาป่ามหาชัยไปผสมข้ามพันธุ์ทั้ง เพื่อความสวยงาม และความว่องไว ซึ่งถ้าหากมีใครปล่อยปลากัดหม้อหรือปลากัดลูกผสมลงไปในถิ่นที่อยู่ของปลากัดมหาชัย การผสมข้ามพันธุ์จะ ทำให้เราสูญเสียปลากัดมหาชัยพันธุ์แท้ไป ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับปลากัดป่าภาคใต้ และภาคกลางมาแล้ว สามารถเข้าไปดูเรื่องเล่าสนุกๆ ในการจับปลากัดป่ามหาชัยได้ตามลิ้งข้างล่างนี้เลยครับ
ที่มาของภาพ http://www.bettanetwork.com/new/thread-1916-1-1.html