เทคนิคการทำขนมไทย
เทคนิคการทำขนมไทยประเภทไข่ คือ
ขนมไทยที่ทำจากไข่ นิยมใช้ไข่เป็ดซึ่งให้สีเข้มเพื่อช่วยให้ขนมมีสีสวยเมื่อสุกแล้วต้องมีการแต่งกลิ่น
เพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของไข่ เช่น น้ำลอยดอกมะลิ หรือใบเตย
เทคนิคการทำขนมไทยประเภทวุ้น
วุ้นผงละลายกับน้ำก่อนนำขึ้นตั้งไฟควรใช้ไฟในระดับปานกลางค่อนข้างอ่อนในการเคี่ยว
การต้มวุ้นให้ใสเป็นเงา ต้องให้วุ้นละลายเสียก่อนจึงใส่น้ำตาล
การทำวุ้นให้เป็นชั้น ๆ อย่าทิ้งผิววุ้นให้แห้งเพราะจะหยอดชั้นต่อไปไม่ติดกันทำให้แต่ละชั้นหลุดออกจากกัน
การทำวุ้นกรอบ ต้องเคี่ยววุ้นนาน ๆ เพื่อให้เหนียวคอยช้อนฟองออกวุ้นจะใส
การเคี่ยวหน้ากะทิควรคนตลอดเวลา น้ำกะทิจะได้ไม่แตกมัน
|
เทคนิคการทำขนมไทยประเภทน้ำเชื่อมและน้ำเชื่อม ทำดังนี้
น้ำตาลทราย ต้องเลือกน้ำตาลทรายชนิดขาวจึงจะได้น้ำเชื่อมใส
น้ำเชื่อมต้องหวานและหอม ชวนให้น่ารับประทานจึงจำเป็นต้องมีการแต่งกลิ่น
ด้วยสารแต่งกลิ่นตามธรรมชาติ คือ น้ำลอยดอกมะลิ
เทคนิคการทำขนมไทยประเภททอด มีดังนี้
ปริมาณน้ำมันร้อนมาก น้ำมันร้อนจัดซึ่งจะช่วยให้ขนมมีสีเหลืองนวลสวย ถ้าใช้ไฟอ่อน ใช้เวลาทอดนานจะทำให้ขนมที่ทอดอมน้ำมัน
ขนมไม่ฟูหรือขนมบางชนิดจะแตก ถ้าใช้ไฟแรงขนมจะไหม้เนื้อขนมภายในจะไม่สุกและไม่อร่อย
ขนมไทยชนิดทอด ไม่ควรคนบ่อย ปล่อยให้สุกหรือเกือบเหลือง จึงกลับอีกด้านลงทอด
การทอดแต่ละครั้งไม่ควรทิ้งเศษขนมให้ตกค้างในน้ำมันต้องคอยช้อนเศษขนมขึ้นจากน้ำมันให้หมด
เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำมันต่ำลงเร็วขึ้นน้ำมันเปลี่ยนสีคล้ำทำให้ขนมสีไม่สวย ควรใช้ทัพพีโปร่งตักขนมให้สะเด็ดน้ำมัน
วางของทอดบนกระดาษซับมันจะช่วยให้น้ำมันที่ติดอยู่ในขนมไทยประเภททอด ซับลงในกระดาษฟางหมดขนมจะไม่อมน้ำมัน
เพื่อให้ส่วนผสมสีมีความกรอบทนนาน คือน้ำปูนใส การนวดแป้งด้วยกะทิทำให้ส่วนผสมแป้งนุ่มไม่กระด้าง
ที่มาของภาพ
http://std.kku.ac.th/5230201646/thai%201.html
http://std.kku.ac.th/5230201646/thai%203.html
|