Ran khaa ya
   
 
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
มะละกอ
มะม่วง
สับปะรด
ฝรั่ง
กล้วย
มังคุด
ส้ม
แตงโม
มะพร้าว
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
  กล้วย

ประวัติของกล้วย
          กล้วยเป็นไม้ผลที่คนไทยรู้จักกันมานาน เนื่องจากกล้วยมีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคดัง กล่าว จากการศึกษาพบว่า กล้วยมีวิวัฒนาการถึง ๕๐ ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นจึง เป็นไม้ผลที่มนุษย์รู้จักบริโภคเป็นอาหารกันอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่ากล้วย เป็นไม้ผลชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน และได้แพร่พันธุ์จากเอเชีย ใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังดินแดนอื่นๆ ในระยะเวลาต่อมา

กล้วยมีการปลูกกันมากในเอเชียใต้ แม้ในปัจจุบัน ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ มีการปลูกกล้วยมากที่สุดในโลก และมีพันธุ์กล้วยมากมายอีกด้วย เหมาะสมกับที่ มีการกล่าวกันไว้ในหนังสือของชาวอาหรับว่า “กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย” ต่อมาได้มีหมอของจักรพรรดิโรมันแห่งกรุงโรม ชื่อว่า แอนโตนิอุส มูซา (Antonius Musa) ได้นำหน่อกล้วยจากอินเดียไปปลูกทางตอนเหนือของอียิปต์ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลังจากนั้นมีการแพร่ขยายพันธุ์กล้วยไปในดินแดนของแอฟริกาที่ชาว อาหรับเข้าไปค้าขายและพำนักอาศัย จนกระทั่งเมื่อประมาณ ค.ศ. ๙๖๕ ได้มีการกล่าวถึงกล้วยว่า ใช้ในการประกอบอาหารชนิดหนึ่งของชาวอาหรับ ซึ่ง อร่อยและเป็นที่เลื่องลือมาก ชื่อว่า กาลาอิฟ  (Kalaif) เป็นอาหารที่ปรุงด้วยกล้วย เมล็ดอัลมอนด์ น้ำผึ้ง ผสมกับน้ำมันนัต (Nut oil) ซึ่งสกัดจากผลไม้เปลือกแข็งชนิดหนึ่ง นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ชาว อาหรับยังใช้กล้วยทำยาอีกด้วย  ชาวอาหรับเรียกกล้วยว่า “มูซา” ตามชื่อของหมอที่เป็นผู้นำกล้วยเข้ามาในอียิปต์เป็นครั้งแรก

ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ชาวโปรตุเกสได้เดินเรือไปค้าขายบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา และได้นำกล้วยไปแพร่พันธุ์ที่หมู่เกาะคะแนรี  ซึ่งตั้งอยู่นอก ชายฝั่งตะวัน ตกเฉียงเหนือของทวีป หลังจากนั้น ชาวสเปนจึงได้นำกล้วยจากหมู่เกาะ คะแนรี เข้าไปปลูกในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก  นอเมริกากลาง โดยเริ่มปลูกที่อาณานิคมซันโตโดมิงโก  บนเกาะฮิสปันโยลา เป็นแห่งแรก แล้วขยายไปปลูกที่เกาะอื่นในเวลาต่อมา ส่งผล ให้ดินแดนในอเมริกากลางมีการปลูกกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจกันอย่างแพร่หลาย และ นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ได้กลายเป็นแหล่งปลูกกล้วยส่งเป็นสินค้าออกมากที่สุดของโลก โดยปลูกมากใน ประเทศคอสตาริกา และประเทศฮอนดูรัส

 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           กล้วยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญๆ ดังนี้

ลำต้น กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว หรือเหง้า (rhizome) ที่หัวมีตา (bud)  ซึ่งจะเจริญเป็นต้นเกิดหน่อ (sucker) หลายหน่อ เรียกว่า การแตกกอ หน่อที่เกิด หรือต้นที่เห็นอยู่เหนือดิน ความจริงแล้วมิใช่ลำต้น เราเรียกว่า ลำต้นเทียม (pseudostem) ส่วน นี้เกิดจากการอัดกันแน่นของกาบใบที่เกิดจากจุดเจริญของลำต้นใต้ดิน กาบใบจะ ชูก้านใบ และใบ และที่จุดเจริญนี้จะมีการเจริญเป็นดอกตามขึ้นมาหลังจากสิ้นสุดการ เจริญของใบ ใบสุดท้ายก่อนการเกิดดอก เรียกว่า ใบธง

ดอก ดอกของกล้วยออก เป็นช่อ (inflorescence) ในช่อดอกยังมีกลุ่มของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ ระหว่างกลุ่มของช่อดอกย่อยแต่ละช่อจะมีกลีบประดับ หรือ ที่เราเรียกกันว่า กาบปลี (bract)  มีสีม่วงแดงกั้นไว้ กลุ่มดอกเพศเมียอยู่ที่โคน และกลุ่มดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย เป็นส่วนที่เราเรียกว่า หัวปลี  (male bud)  ระหว่างกลุ่มดอกเพศเมียและดอกเพศผู้มีดอกกะเทย แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี ในช่อ ดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่  ๒ แถว ถ้าเป็นดอกเพศเมีย ดอกเหล่านี้จะ เจริญต่อไปเป็นผล

ผล  ผลกล้วยเกิดจากดอกเพศเมีย ซึ่งอยู่ ที่โคน กลุ่มของดอกเพศเมีย ๑ กลุ่ม เจริญเป็นผล เรียกว่า ๑ หวี ช่อดอกเจริญเป็น ๑  เครือ ดังนั้นกล้วย ๑ เครืออาจมี ๒ - ๓  หวี  หรือมากกว่า ๑๐ หวี ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์กล้วยและการดูแล    ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มี เมล็ด

เมล็ด  เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก  บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา แข็ง มีสีดำ

ราก เป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก

- ใบ ใบกล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญ่ มีความกว้างประมาณ ๗๐ - ๙๐ เซนติเมตร ความยาว ๑.๗ - ๒.๕ เมตร  ปลายใบมน  รูปใบขอบขนาน โคนใบมน และแผ่นใบมีสีเขียว
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน