Ran khaa ya
 

 

 
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ประวัติของสมุนไพรไทย
ข้อควรระวังในการใช้
รูปแบบของสมุนไพรไทย
ขมิ้นชัน
ฟักทอง
ตะไคร้
ข่อย
โหระพา
บัวบก
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

1. ขมิ้นชัน
Turmeric
Curcuma longa (Linn.)
ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น
รูปลักษณะ
           ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกด้านข้าง 2 ด้านตรงข้ามกัน เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน รูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลม มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
           เหง้า - ใช้รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำ หรือเหง้าสด ฝนน้ำทา มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี นอกจากนี้ ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ และแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ผงขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

 

 
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
   

 

SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน