โกฐหัวบัว
ชื่อ : โกฐหัวบัว
ชื่ออื่น : ชวนซฺยง (จีนกลาง), ชวนเกียง (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Szechwan Lovage Rhizome
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Conioselinum univitatum Trucz
วงศ์ : Umbelliferae
ทำความรู้จักกับโกฐหัวบัว
ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. ทั้งต้นมียางขาว ลักษณะใบ :ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปฝ่ามือ ขอบใบเว้าลึก 3-4 แฉก ใบอ่อนสีแดงอมม่วง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมแดง ก้านสีแดงมีขน ดอกสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อที่ ปลายกิ่ง ผลค่อนข้างกลม มี 3 พู เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดขนาดเล็ก 3 เมล็ด
ประโยชน์ของโกฐหัวบัว
สรรพคุณ : แก้ลมอันเกิดจากอาการริดสีดวงภายในลำไส้ แก้ขับไล่กระจายกองลมทั้งปวงในกระเพาะทำให้ผายลมหรืออาการเรอออกมาทางปาก เจริญอาหารระงับอาการคลื่นเหียนในลำไส้ ฯ
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย:
โกฐหัวบัว มีกลิ่นหอม รสมัน สรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง และกระจายลมทั้งปวง (หมายถึง ลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายหรือเรอออกมา) ยาไทยมักไม่ใช้โกฐหัวบัวเดี่ยว แต่มักใช้ร่วมกับยาอื่นในตำรับ
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน
โกฐหัวบัว รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด รักษาอาการปวดจากเลือดคั่ง กระจาย การตีบของเส้นเลือด (ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลาหลังคลอดเจ็บชายโครง เจ็บบริเวณหัวใจ เจ็บหน้าอก เจ็บจากการฟกช้ำ ช้ำบวมจากฝีหนอง) และมีฤทธิ์ขับลม บรรเทาปวด รักษาอาการปวดศีรษะ อาการปวดจากการคั่งของชี่และเลือด
โกฐหัวบัวผัดเหล้า จะช่วยนำตัวยาขึ้นส่วนบนของร่างกาย มีฤทธิ์แรงในการระงับปวด ช่วยให้การ ไหลเวียนของเลือดและชี่ภายในร่างกายดีขึ้น โดยทั่วไปใช้รักษาอาการปวดศีรษะจากการคั่งของเลือด และโรคไมเกรน
ที่มา : http://www.pharm.chula.ac.th/museum/th-crud/images/koj/tn_b1.jpg
|