สาระความรู้
|
สถาปัตยกรรม (อังกฤษ : architecture)
หมายรวมถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและ ภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆ
อีกด้วย องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม
จุดสนใจและความหมายของศาสตร์ทาง
สถาปัตยกรรมนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
บทความ De Architectura ของวิทรูเวียส ซึ่งเป็นบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ที่เก่าแก่ที่สุดที่เราค้นพบได้กล่าวไว้ว่า สถาปัตยกรรมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามส่วนหลักๆ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวและสมดุล อันได้แก่
* ความงาม (Venustas) หมายถึง สัดส่วนและองค์กระกอบ การจัดวางที่ว่าง และ สี,วัสดุและพื้นผิวของอาคาร ที่ผสมผสานลงตัว ที่ยกระดับจิตใจ ของผู้ได้ยลหรือเยี่ยมเยือนสถานที่นั้นๆ
* ความมั่นคงแข็งแรง (Firmitas)
* และ ประโยชน์ใช้สอย (Utilitas) หมายถึง การสนองประโยชน์ และ การบรรลุประโยชน์แห่งเจตนา รวมถึงปรัชญาของสถานที่นั้นๆ
สถาปัตยกรรมไทย
ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมไทย ได้แก่
* เรือนไทย ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันในแต่ละภาค
* วัดไทย รวมถึง อุโบสถ วิหาร หอระฆัง เจดีย์
* พระราชวัง ป้อมปราการ
สถาปนิก
สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคย
ปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง
รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม" ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก
สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)
2. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
3. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)
4. การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)
5. บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration)
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/สถาปัตยกรรม
|