Ran khaa ya
 
 
 

       Myanmar

Myanmar
Capital: Naypydaw
Population: 58,840,000
Area: 676,575
Currency: Kyat
Official Languages: Burmese
Head of state and Government: Theinsein

ประเทศพม่า
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า : สหภาพพม่า
วันสถาปนาทางการทูตกับไทย: วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2491
พื้นที่ : 657740 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : ย่างกุ้ง (เนบิดอร์)
ภาษา: พม่า
ศาสนา: พุทธ 90% คริตส์ 5% อิสลาม3.8% ฮินดู 1.2%
สกุลเงิน: จั๊ต (1 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 1200 จั๊ต)
ผู้นำประเทศ: พลเอกอาวุโส ต่าน ฉ่วย

       ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า

   1. การเมือง   ไทยและพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนทางบกและทะเลติดต่อกันยาวรวม 2,401 กม. ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยในแง่ต่าง ๆ ทั้งระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขและทัศนคติทางการเมืองที่ต่างกัน ปัญหาการเมืองภายในพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอันเป็นผลมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ รวมถึงบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าจึงเป็นเสมือนภาพที่สะท้อนความขัดแย้งอันเป็นผลพวงจากประเด็นปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นที่สามารถปะทุขึ้นเป็นชนวนของความบาดหมางระหว่างกันได้ตลอดเวลา ในห้วงที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไทยชุดต่าง ๆ ส่งผลให้รูปแบบและน้ำหนัก รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินความสัมพันธ์กับพม่ามีความแตกต่างกันไปความบาดหมางในความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง นับตั้งแต่เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในปี 2542 จนกระทั่งถึงการปะทะกันตามแนวชายแดนและการทำสงครามจิตวิทยา

   2. เศรษฐกิจ     การค้าระหว่างไทยกับพม่ามีทั้งรูปแบบการค้าปกติและการค้าชายแดน โดยฝ่ายไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด และมูลค่าการค้ามีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดี ในปี 2544   ไทยเสียเปรียบดุลการค้าต่อพม่าเนื่องจากการชำระค่าก๊าซธรรมชาติที่ไทยได้ซื้อจากพม่า ไทยกับพม่ามีความตกลงการค้าระหว่างกัน 3 ฉบับ ได้แก่    ความตกลงทางการค้าไทย-พม่า (ลงนามเมื่อ 12 เม.ย. 2532 ที่กรุงย่างกุ้ง) บันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (ลงนามเมื่อ 2 ก.พ.2533 ที่กรุงเทพฯ) และความตกลงการค้าชายแดน (ลงนามเมื่อ 17 มี.ค.2539 ที่กรุงย่างกุ้ง  )การลงทุนของไทยในพม่า มีมูลค่าการลงทุนอยู่เป็นลำดับสามรองจากสิงค์โปร์ และอังกฤษ ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิต รองลงมาคือ ธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว การประมง และเหมืองแร่ การที่ระบบเศรษฐกิจของพม่า เป็นระบบที่ควบคุมโดยรัฐบาลอย่างเข้มงวด กอปรกับการที่รัฐบาลพม่ามักเชื่อมโยงปัญหาทางการเมืองภายในพม่ากับการดำเนินความสัมพันธ์ด้าน อื่น ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่ามักได้รับผลกระทบ อาทิ ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเกี่ยวกับการค้าแล ะการลงทุนโดยไม่คำนึงผลกระทบและความตกลงที่มีอยู่ การปิดชายแดน และการยกเลิกสัมปทานประมง ซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่นักธุรกิจประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะที่มีพรมแดนติดกับพม่า อาทิ จีน ก็ประสบปัญหาในลักษณะเช่นนี้ด้วย

   3. สังคม วัฒนธรรม   และความร่วมมือ ไทยและพม่าได้ลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมไทย-พม่า เมื่อวันที่
24 สิงหาคม 2542 โดยกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะนาฏศิลป์ของทั้งสองฝ่าย และให้ความร่วมมือในการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่านอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศได้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน จากประเทศไทยไปถวายที่วัดพุทธในพม่าทุกปีนับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมาไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าใน 3 สาขาคือ การเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปศุสัตว์และการประมง การคมนาคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย

 

 
 
 
 
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน