|
|
เครื่องปั้นดินเผาหัตถกรรมพื้นบ้าน
หัตกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่ได้ทำกันในท้องที่ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ในเขต อ.หางดง อ.สันกำแพง เป็นต้นนั้น ช่างหัตถกรรมของหมู่บ้านมักจะประสบปัญหาต่าง ๆ ใกล้เคียงกันกล่าวคือ ปัญหาเรื่องดินที่นำมาใช้นั้นไม่ดี ซึ่งทำให้หม้อดินที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพต่ำ ร่วนและยุ่ยเมื่อถูกน้ำทำให้อายุการใช้งานสั้น ชุมชนหัตถกรรมปั้นดินเผาจึงต้องหาซื้อจากหมู่บ้านอื่นมาทำ ในอดีตบางท้องที่ก็ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เอาพริกแห้ง ยาสูบ หมาก ข้าวเปลือก ด้วยวิธีการที่แล้ว แต่จะตกลงกัน บางทีก็เอาหม้อดินไปจำหน่ายยังท้องที่ไกล
แต่ในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบการผลิตและวิธีการรวมทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาจนเครื่องปั้นดินเผาของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่เลื่องลือในหมู่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ
น้ำต้นหัตถกรรมของกลุ่มชาวเงี้ยว
น้ำต้นหรือคนโทดินเผาของชาวล้านนานั้นถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องอยู่ในวิถีชีวิตของชาวล้านนา เป็นอย่างมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าน้ำต้นนั้นเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม อย่างหนึ่งของชาวลานนา เนื่องจากว่าชาวล้านนาได้มีการใช้น้ำต้นอย่างแพร่หลายในแทบทุกครัวเรือน น้ำต้นนอกจากจะเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุน้ำดื่มแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของภาชนะใส่ดอกไม้ในแท่นบูชาและในพิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนเป็นเครื่องประกอบยศของชนชั้นสูงอีกด้วย เรื่องราวของน้ำต้นมีการศึกษาว่ามีการผลิตใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในดินแดนล้านนาในทุกวันนี้เป็นงานศิลปหัตุกรรมยุคหลังที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับน้ำต้นของล้านนายุคต้น ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมครั้งใหญ่ในล้านนา ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
|
|
|