โครงสร้างภายในภาคตัดขวางของลำต้น
1.) Epidermis อยู่ชั้นนอกสุด ไม่มี Chloroplast มีการเปลี่ยนแปลงเป็นขน หนาม และมีสารคิวติน (Cutin) เคลือบ ในพืชที่มีเนื้อไม้พบเฉพาะในปีแรก ๆ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตในปีต่อๆ มา จะมีเซลล์คอร์ก (Cork) เจริญ และดันให้ Epidermis หลุดไป (อธิบายในการเจริญเติบโตขั้นที่ 2 ของลำต้น) 2.) Cortex อยู่ถัดจากชั้น Epidermis ประกอบด้วยเซลล์ Collenchyma (อยู่ตามมุมให้ความแข็งแรง) Parenchyma (สะสมอาหาร) Chlorenchyma (Parenchyma ที่มี Chloroplast) ส่วนในไม้เนื้อแข็งพบ Sclerenchyma โดย Cortex ในลำต้นแคบกว่าในราก และเป็นส่วนที่เกิดการแตกกิ่ง สำหรับชั้น Endodermis ในลำต้นสังเกตไม่ชัดเจนหรือบางชนิดไม่มี 3.Stele ในลำต้นแยกจาก Cortex ไม่ชัดเจน ประกอบด้วย Vascular bundle หรือมัดท่อลำเลียง - Vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงคู่ Xylem และ Phloem จัดเรียงเป็นกลุ่มอย่างมีระเบียบ โดย Xylem อยู่ด้านใน Phloem อยู่ด้านนอก มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง ทำให้มีการเจริญเติบโตขั้นที่ 2 - Vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว Xylem และ Phloem อยู่กันเป็นกลุ่ม มี Parenchyma หรือ Sclerenchyma ล้อมรอบ มัดท่อลำเลียงกระจายอยู่ทั่วไปในชั้น Cortex และ Stele ไม่มีเนื้อเยื่อเจริญในมัดท่อลำเลียง ยกเว้นบางชนิดเช่น หมาก ตาล มะพร้าว ปาล์ม เป็นต้น - ส่วนสุดท้ายของ Stele เรียกว่า Pith เป็นเนื้อเยื่อ Parenchyma ส่วนกลางสุดของลำต้น โดยในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ Pith จะถูกแทนที่ด้วย Xylem เมื่อมีการเจริญเติบโตขั้นที่สอง ส่วนในพืชในใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดเช่น ไผ่ หญ้าขน ข้าวสาลี เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ Pith จะสลายไป กลายเป็นช่องกลวงเรียกว่า Pith cavity แต่บริเวณข้อมี Pith
แหล่งที่มา : http://botanyschool.ning.com/ ภาพจาก : กลุ่ม cross section ของนางสาวนีรนุช บัวทอง ชั้น ม.5/1