Ran khaa ya
   
 
 

โครงสร้างภายในภาคตัดขวางของใบ

             1) Epidermis ประกอบด้วย epidermal cell อยู่ด้านนอกทั้งสองข้างของแผ่นใบ มี cuticle เคลือบ epidermal cell นี้มีชั้นเดียว ยกเว้นพืชบางชนิดมีหลายชั้นเรียก multiple epidermis ซึ่งทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำ
( water storge tissue ) นอกจากนี้ยังมี epidermal cells ที่มีรูปร่างต่างกันคือ
                          1.1 guard cell หนึ่งคู่ทำให้เกิด stoma หรือเรียกปากใบซึ่งอยู่ระดับเดียวกับ epidermis เรียก typical stoma หรืออยู่ต่ำกว่าเรียก sunken stoma หรืออยู่สูงกว่าเรียก raised stoma
                          1.2 bulliform cell, มีขนาดใหญ่กว่า epidermal cell ธรรมดา อยู่เป็นกลุ่มประมาณ 3 – 5 เซลล์ที่ epidermis ด้านบน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการม้วนงอของก้านใบ

             2) Mesophyll เป็นเนื้อเยื่ออยู่ระหว่าง epidermis ทั้ง 2 ด้านส่วนใหญ่เป็น parenchyma สองชนิดคือ palisade parenchyma รูปทรงกระบอกเรียงชิดกันในแนวดิ่งมีคลอโรพลาสต์มากซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง อีกชนิดคือ spongy parenchyma ขนาดและรูปร่างของเซลล์ไม่แน่นอนอยู่กันอย่างหลวม ๆ มีคลอโรพลาสต์และมีช่องอากาศน้อยกว่าชนิดแรก

             3) Vascular bundle กลุ่มท่อลำเลียงของใบซึ่งได้แก่ เส้นกลางใบ เส้นใบ และเส้นแขนงใบซึ่งมี xylem,phloem,cambium นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อ collenchyma, sclerenchyma, ที่เพิ่มความเหนียวและความแข็งแรงให้แก่ใบ

       แหล่งที่มา : http://botanyschool.ning.com/
       ภาพจาก : กลุ่ม cross section ของนางสาวนีรนุช บัวทอง ชั้น ม.5/1


 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน