Ran khaa ya
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ที่มาและความสำคัญ
การทำนาในอดีต
อุปกรณืที่ใช้ทำนาในอดีต
การดำนา
พิธีกรรม
การเก็บเกี่ยวข้าว
ความแตกต่างของการทำนา
แบบทดสอบหลังเรียน
เว็บไซต์ครูผู้สอน
คณะผู้จัดทำ
การทำนาในอดีต
ที่มา : การทำนาในอดีต การเกษตรของชาวบ้านในอดีตจะทำการเกษตรแบบธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นการทำนาข้าวเสียเป็นส่วนใหญ่ การทำนาอาศัยน้ำฝน และใช้แรงงานควายและแรงงานคนเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่ทำไร่ ทำเฉพาะนาพอให้ได้ข้าวเก็บไว้กิน มีการปลูกพริก แตง ฟักทอง และอื่นๆ มีการเตรียมการและขั้นตอนดังนี้ เตรียมทุน ทุนที่ต้องลงในการทำการเกษตรในอดีตนั้นมีไม่มากนัก เพราะงานส่วนใหญ่จะใช้แรงตนเองและแรงสัตว์เป็นหลัก แหล่งเงินทุนจึงไม่ค่อยจะจำเป็นมากนัก แต่เมื่อมีการสามารถกู้ยืม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ได้ เกษตรกรก็เริ่มกู้ยืมเงินมาใช้ ส่วนหนึ่งลงทุนในการทำการเกษตรแต่เป็นส่วนน้อยเพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง ที่เหลือก็จะนำไปใช้ในการอื่น เตรียมพันธ์ข้าว เมื่อใกล้จะเข้าหน้าฝนชาวบ้านจะเตรียมหาเมล็ดพันธ์ข้าว หากไม่ได้เก็บไว้เองก็จะไปขอกับเพื่อนบ้านหรือขอจากหมู่บ้านใกล้เคียง ข้าวที่ได้มาจะตั้งชื่อตามแหล่งที่ได้พันธ์ข้าวมาเช่น ข้าวขาวโนนทอง หากได้มาจากบ้านโนนทองข้าวขาวแม่ใหญ่จ่าย หากแม่ใหญ่จ่ายเป็นผู้ให้พันธ์ข้าว ข้าวหอมลุงดา หากลุงดาเป็นคนให้พันธุ์และข้าวเป็นข้าวที่มีกลิ่นหอม นอกจากนั้นยังมีมีการแยกพันธุ์ข้าวตามอายุของการออกรวงข้าวเป็น ข้าวหนัก และข้าวเบา ข้าวหนักคือข้าวที่ออกรวงช้า ใช้ปลูกในนาที่มีน้ำมากเพื่อเลี่ยงการเกี่ยวข้าวจมน้ำซึ่งจะเป็นการลำบากในการเก็บเกี่ยว และข้าวจะเปียก มีความชื้นสูง ข้าวเบา คือข้าวที่ออกรวงเร็ว ใช้ปลูกในนาที่มีน้ำน้อยเพื่อเลี่ยงการที่ข้าวออกรวงไม่ทันน้ำ เตรียมควาย ควายที่เป็นแรงงานหลักของการทำนา ตัวที่โตพอจะใช้งานได้จะมีการฝึก เพื่อจะสามารถบังคับควายได้ และไถนาได้ มีขั้นตอนดังนี้ สนตะพายนั่นคือการนำเชือกมาร้อยเข้าไปในจมูกของควาย วิธีการทำก็คือจับควายที่ยังไม่ได้สนตะพายมาผูกกับหลักไม้ให้แน่นไม่ให้ดิ้นได้ โดยเฉพาะส่วนหัว แล้วเอาเหล็กหรือไม้ไผ่แหลมขนาดเท่ากับเชือกแทงผ่านเข้าไปที่กระดูกอ่อนที่เป็นผนังกั้นระหว่างรูจมูกด้านในของควาย หากใช้เหล็กแหลมจะต้องเผาไฟให้เหล็กร้อนจนแดง และจุ่มลงไปในน้ำให้เหล็กเย็นทันที ด้วยการทำอย่างนี้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคและทำให้เหล็กไม่มีสนิม เมื่อรูได้แล้วใช้เชือกร้อยเข้าไปในจมูกควาย ดึงเชือกอ้อมผ่านใต้หูไปผูกเป็นเงี่ยนตายเอาไว้บริเวณท้ายทอย ไม่ผูกแน่นหรือหลวมเกินไป การสนตะพายควายนี้ส่วนมากจะวานคนที่มีความชำนาญมาช่วยทำการเมื่อได้ตะพายควายแล้วจะฝึกให้ควายชินกับการถูกสนตะพายด้วยการผูกเชือกและปล่อยให้ควายเดิน ควายอาจะจะเหยียบเชือกบ้างเป็นครั้งคราว การฝึกแบบนึ้จะทำให้ควายเคยชินเมื่อถูกจูง การฝึกจูงควายและบังคับจะใช้เชือกผู้เข้ากับตะพายของควาย (นิยมผูกทางด้านซ้ายมือ) แล้วให้ควายเดินไปข้างหน้าของผู้จูง ในการบังคับให้ควายเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวานั้น ทำได้ดังนี้ หากผูกเชือกทางด้านซ้ายมือต้องการให้ควายเลี้ยวซ้ายให้ดึงเชือกที่ผูกกับตะพาย ควายก็จะเลี้ยวซ้าย หากต้องการให้ควายเลี้ยวขวาให้กระตุกเชือกถี่ๆ เบาๆ ควายก็จะเลี้ยวขวา เมื่อควายเริ่มชินต่อการจูงแล้วสำหรับตัวที่คุ้นก็สามรถขี่หลังได้แต่ขี่ไม่ได้ทุกตัวไปขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยระหว่างเจ้าของกับควาย หากควายที่ยังไม่โตพอที่จะฝึกไถนาได้ก็เพียงสนตะพายเท่านั้น หากควายโตพอที่จะลากไถได้ก็จะฝึกให้ไถต่อไป ฝึกให้ควายไถนา ควายที่โตพอจะถูกฝึกให้ไถนา การฝึกควายไถนานี้ต้องใช้คนสองคน คนหนึ่งเป็นคนจูงเพื่อนำทางควาย อีกคนจะเป็นคนไถ การฝึกไถอาจจะใช้เวลาแต่ต่างกันไปสุดแล้วแต่ความชำนาญของผู้ฝึกและความคุ้นของควาย ปกติแล้วจะใช้เวลาฝึกไถไม่นานนัก แต่จะฝึกบ่อยๆ มักจะฝึกช่วงช้าวเพราะแดดไม่แรง เมื่อควายพร้อมที่จะไถนาจริงก็จะเริ่มไถจริงต่อไป เตรียมไถไถเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่งในการทำนาของเกษตรกรบ้านหัวถนน ไถในอดีตจะทำด้วยไม้ จะมีเพียงผานไถ ปะขางไถ ขอสำหรับเกาะผอง(ท่อนไม้ที่ไว้ผูกเชือกต่อจากแอกที่คอควาย) เท่านั้นจะเป็นเหล็ก ไม้ที่ใช้ทำจะเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ประดู ไม้มะค่า ตัวไถจะเป็นไม้สามชิ้นได้แก่ คันไถ หางไถ และหัวหมู ประกอบกันด้วยการเข้าลิ่ม และส่วนที่ผูกติดกับควายอีกสามชิ้นส่วนประกอบของไถมีดังนี้ หางไถ คือส่วนที่ชาวนาใช้จับเวลาไถ เป็นไม้ชิ้นเดียวทำให้เป็นลักษณะเอียงจากหัวหมูประมาณ 15องศา มาจนถึงส่วนที่จะต่อเข้ากับคันไถจะเจารูสี่เลี่ยมผืนผ้าทะลุชิ้นไม้เพื่อใส่ลิ่มต่อกับคันไถ เหนือส่วนนี้ขึ้นไปจะทำเป็นรูปโค้งเพื่อสะดวกต่อการจับ เวลาประกอบเข้าเป็นตัวไถแล้วส่วนนี้จะตั้งขึ้นและส่วนโค้งจะยื่นไปด้านหลังระดับประมาณเอว คันไถ คือส่วนที่ยื่นออกไปด้านหน้า เพื่อเชื่อมต่อกับส่วนที่ผูกควาย เป็นไม้อีกท่อนที่เป็นส่วนประกอบของตัวไถ ส่วนที่ต่อกับหางไถจะทำเป็นเดือยตัวผู้เพื่อใช้ต่อกับรูเดือยตัวเมียที่หางไถ ทำให้แน่โดยใช้ลิ่มตีเข้าด้านบนเพื่อให้ไม้สองชิ้นประกอบกันแน่น ส่วนปลายยื่นออกไปข้างหน้า โค้งทำมุมต่ำลง มีปลายช้อนขึ้น เพื่อใส่ตะขอสำหรับต่อกับผองไถ หัวหมู คือส่วนที่ใช้ไถดิน จะประกอบด้วยไม้หนึ่งชิ้นบากปลายให้แหลมและบาน เจาะรูเดือยตัวเมียสี่เหลี่ยมสำหรับต่อเข้ากับหางไถ ส่วนท้ายจะทำเป็นรูปท่อนกลมยาว เพื่อรักษาระดับไถเวลาไถนา ส่วนประกบอที่เป็นเล็กตัวส่วนหัว จะเป็นรูปทรงแหลมกลวงเรียกว่าผานไถ ใช้ส่วยเข้ากับตัวไม้แล้วยึดติดด้วยตะปู ส่วนที่เป็นเหล็กแผ่นรับขึ้นมาอีกชิ้นเรียกว่า ปะขางไถใช้บังคับดินที่ถูกไถ หรือที่เรียกว่าขี้ไถให้พลิกไปตามแนวที่ต้องการ ที่หมู่บ้านหัวถนนนิยมเอียงไปทางด้านซ้ายมือ ผองไถ ส่วนนี้จะเป็นไม้ท่อนกลมๆ มีขอเหล็กติดอยู่ตรงกลางเพื่อยึดเข้ากับขอเหล็กของคันไถ ส่วนหัวทั้งสองข้างจะทำเป็นปมหยัก เพื่อใช้ผูกเชือกติดกับปลายที่แอกคอควาย แอก คือไม้ชิ้นที่ทำเพื่อวางบนคอควาย มีลักษณะเหมือนเขาควายกางออก ตรงกลางสูงขึ้นเพื่อให้รับพอดีกับคอควาย ส่วยปลายสองข้างไว้ผูกเชือกต่อกับผองไถ ผองคอควายคือส่วนที่อยู่ใต้คอควาย เป็นไม้ชิ้นแบนๆ ทำให้เป็นรูประมาณครึ่งวงกลมด้านบนเรียบเพื่อให้รับเข้าได้กับคอควาย ด้านล่างจะทำรูเพื่อร้อยเชือกเพื่อผูกให้ผองคอควายติดกับกับแอกและแนบกับคอควายได้พอดีมีไถเหล็กมาแทนที่ไถไม้บ้างเพราะน้ำหนักเบาและทนทานกว่า แต่ไถไม้ก็ยังมีใช้อยู่
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
SITEMAP
นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน