Ran khaa ya
:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ที่มาและความสำคัญ
การทำนาในอดีต
อุปกรณืที่ใช้ทำนาในอดีต
การดำนา
พิธีกรรม
การเก็บเกี่ยวข้าว
ความแตกต่างของการทำนา
แบบทดสอบหลังเรียน
เว็บไซต์ครูผู้สอน
คณะผู้จัดทำ
การเก็บเกี่ยวข้าว
ที่มา:เตรียมลาน ลานข้าวเป็นที่ๆ ชาวนาจะใช้ในการตีข้าว จะถูกเตรียมไว้ก่อนการเกี่ยวข้าว โดยาการถากและปรับดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้ขี้ควายเปียกมาย่ำให้ละเอียด มีความเหลวพอที่จะทาผืนดิน ใช้ไม้กวดที่ทำจากต้อนขัดมอญซึ่งหาได้ทั่วไปในหมู่บ้าน ตัดและมัดเป็นกำเพื่อกวาดให้ขี้ควายเสมอ ฉาบเป็นผิวหน้าของลาน ปล่อยไว้ให้แห้งเหมาะสำหรับเก็บฟ่อนข้าว การเกี่ยวข้าว เมื่อข้าวเริ่มออกรวงเหลืองพอที่จะเกี่ยวได้แล้ว หากข้าวสูงมากชาวนาจะใช้ไม้ใผ่ลำยาวๆ นาบข้าว ให้ข้าวล้มไปทางเดียวเพื่อง่ายต่อการเกี่ยว เมื่อนาบเสร็จก็จะเริ่มเกี่ยวข้าว โดยใช้เคียวเกี่ยวเป็นกำวางไว้เป็นแถวบนซังข้าว เพื่อตากเข้าไปในตัว บางบ้านจะเกี่ยวรวงข้าวยาวๆผูกกัน ที่มีศัพย์เรียกเฉพาะว่าเขน็ด เขน็ดจะเป็นตัวรัดข้าวให้เป็นฟ่อน จะนิยมมัดฟ่อนข้าวในตอนเช้าเพราะเขน็ดข้าวจะอ่อนเนื่องจากตากน้ำค้าง จากนั้นใช้ไม้หลาวหาบผ่อนข้าวมาตั้งเรียงเป็นกองง่ายต่อการตีข้าวการเกียวข้าวอาจจะวาน(ลงแขก) เพื่อบ้านมาช่วยกันเกี่ยวในเวลาที่เกียวไม่ทัน เจ้าของนาจะเตรียมข้าวปลาอาหาร หรืออาจจะมีการแอบทำสาโทไว้เลี้ยงคนมาช่วยเกี่ยว บางครั้งเกี่ยวไปร้องเพลงกันไป การตีข้าว อุปกรณ์ที่ใช้ ไม้ตีข้าว หรือเรียกภาษาโคราชว่าไม่ตีหัวข้าว ทำด้วยไม้ขนาดกำถนัด ยาวประมาณศอครึ่ง ชิ้นนึงยาวกว่าประมาณหนึ่งคืบ ผูกติดกันด้วยเชือกยาวประมาณหนึ่งคืบ ใช้สำหรับรัดฟ่อนข้าวเวลาตี ลานข้าว เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จหรือมากพอที่จะตี ชาวนาจะใช้ไม้ตีหัวข้าว เวลาตีใช้ไม้ขัดหัวข้าวรัดฟ่อนข้าวให้แน่นแล้วตีลงไปที่ลานข้าว สังเกตว่าเมล็ดข้าวออกหมดพอประมาณแล้วก็จะเหวียงฟ่อนฟางให้คนเก็บฟางตั้งเป็นลอมฟางเป็นชั้นๆ การตั้งลอมฟางจะตั้งฟ่อนฟางเป็นวงกลมจากนอกเข้าใน จะทำให้ฟ่อนฟางแน่นและสามารถตั้งให้สูงได้ การตีข้าวนี้นิยมวานเพื่อนบ้านมาช่วยกันตีในเวลากลางคืน เรียกว่าตีข้าววาน จะมีการแข่งขันกันว่าใครขว้างฟ่อนฟางได้แม่นยำ หรือสูงกว่ากัน ทำให้เกิดความสนุกสนานครืนเครงไปในตัว การนวดข้าว ฟางที่เหลือจากการตีข้าว เมื่อตีข้าวเสร็จแล้วจะนำมานวดเพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่เหลือติดฟาง อุปกรณ์ที่ใช้ ลานข้าว หลักผูกควาย ควาย ไม้ขอฉาย เป็นไผ่ป่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. ยาวประมาณ 180 ซม. ริแขนงไผ่ออกเหลือแต่ส่วนปลายอันเดียว แขนงส่วนที่เหลือนี้ตัดให้ยาวประมา 1คืบ ทำให้งอด้วยการลนไฟ แล้วเหลาให้ปลายเรียว ใช้เพื่อเกาะฟางให้กระจาย หรือขนย้ายฟางให้กองรวมกันเป็นกองฟาง ส่วนด้ามถือใช้สำหรับตีนวดข้าวได้ด้วย วิธีการนวดข้าว ฝังหลักไม้ตรงกลางลานข้าวเพื่อผูกควาย ใช้เคียวเกียวเขน็ดมันฟ่อนฟางให้ขาดออก กระจายฟางข้าวเป็นวงกลมในลานข้าน บังคับให้ควายเดินเป็นวงลม ใช้ไม้ขอฉายกระจายฟางและใช้ด้ามตีฟางไปพร้อมๆ กันกับเวลาที่ควายย่ำฟาง เมื่อสังเกตว่าข้าวร่วงดีแล้ว เกาะฟางให้ออกจากลานไปกองไว้เป็นกองฟาง การเก็บข้าว เมื่อตีข้าวเสร็จก็โปรยข้าวเพื่อให้ข้าวลีบหรือเศษฟางเล็กๆ ไม่มีน้ำหนักปลิวออกไปจากเมล็ดข้าว จะทำในวันที่มีลมแรง ทำโดยการเอากระบุงตักข้าวแล้วเทลงพื้นทีละน้อยให้ลมพัดเอาข้าวลีบออกข้าวที่แห้งดีแล้วจะถูกนำเข้าไปเก็บในยุ้ง ซึ่งชาวนาจะมียุ้งข้าวทุกหลังคาเรือน เวลาเก็บจะนับเป็นกระเฌอ หรือบางบ้านที่พอหากระสอบข้าวได้ก็จะตวงเป็นกระสอบ ข้าวที่ได้จะเก็บไว้กินมากกว่าที่จะขาย อาจจะมีการขายบ้างก็เพียงเพื่อให้ได้เงินไว้ใช้เล็กน้อยเท่านั้น การเก็บฟาง ฟางที่เหลือจากการนวดจะถูกเกาด้วยไม้ขอฉายมารอบๆ หลักไม้ไผ่ที่มีความสูงตามแต่จะเห็นเหมาะสมเพื่อเป็นหลักให้ฟางมีที่ยึดเวลากองขึ้นสูง กองฟางจะถูกเก็บไว้ในบริเวณที่ตีข้าว เก็บไว้เพื่อเป็นอาหารควายหลังฤดูเก็บเกี่ยวเสียเป็นส่วนมาก การสีข้าว มีโรงสีข้าวของแม่ใหญ่จ่าย (ไม่ทราบนามสกุล) ตั้งอยู่เมื่อประมาณสี่สิบปีก่อน ได้เลิกล้มกิจการย้ายไปอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ และต่อมา นายดวน บาทขุนทด ได้ตั้งโรงสีข้าวขนาดกลางที่ตำแหน่งเดิม อยู่ประมาณสิบปี ก็เลิกกิจการ การสีข้าวในสมัยก่อนโรงสีจะหักข้าวสารจากเข้าเปลือที่สีได้เป็นส่วน หากต้องการสีข้าวเป็นจำนวนมากชาวบ้านจะขนข้าวด้วยรถเข็นไปสีที่ตลาดปะคำ หรือตลาดโคกสวาย เนื่องจากสีได้เร็วกว่า ชาวบ้านบางส่วนก็ไม่นิยมสีข้าวแต่ใช้การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องแทนพ่อใหญ่จอย พาผล ได้เคยทำเครื่องสีข้าวที่ใช้แรงควายสี แต่ไม่ได้รับจ้างสีข้าวให้ชาวบ้าน ทำใช้ในครัวเรือนเท่านั้น น่าเสียดายว่าไม่มีโอกาสได้เก็บภาพถ่ายไว้ในสมัยนั้น หลังการเก็บเกี่ยว หลังฤดูเก็บเกี่ยว ฟางข้าวจะถูกปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการไถกลบ หรือเผา พื้นนาจะกลายเป็นที่สาธารณะ ชาวบ้านทุกคนมีสิทธิ์เข้าไปใช้ได้โดยไม่ต้องขอกัน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นที่เลี้ยงควาย จึงจะเห็นเด็ก และผู้ใหญ่นำควายออกไปเลี้ยงเป็นฝูง ในทุ่งนา และเข้าไปอาศัยพักตามกระท่อมนาเหมือนเป็นเจ้าของเมื่อเสร็จหน้านาชาวนาก็มีเวลาพักผ่อนที่ยาว ประเพณีและพิธีบุญอะไรต่างๆ จะฉลองกันนาน เช่นประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านจะเล่นสงกรานต์ก่อนและหลังวันสงกราณ์เป็นอาทิตย์ หรือสองอาทิตย์ มีเวลาไปช่วยงานวัด ช่วยงานส่วนรวมมาก แม้หมู่บ้านของตนไม่มีวัดก็เดินกันไประยะทาง 2-3 กิโลเมตรก็เดินไปกันได้ คนไปวัดมากเป็นร้อยถึงห้าร้อย หากเป็นวันเทศกาลสำคัญๆ คนก็จะยิ่งมาก
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
SITEMAP
นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน