สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ด-น
ดินพอกหางหมู
งานการที่ปล่อยไว้ให้สะสมคั่งค้าง จนทำให้ลำบากเดือดร้อน สมัยก่อนหลายครัวเรือนจะเลี้ยงหมู
โดยปล่อยให้หมูอยู่ในคอกที่ชื้นแฉะและสกปรก หางหมูซึ่งมีขนเป็นพวงกวัดแกว่งไปมา จะค่อย ๆ
ถูกโคนเกาะติดที่ละน้อย จนพอกพูนกลายเป็นก่อนใหญ่ทำให้หนัก
เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด
ปฏิบัติตามผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบการณ์ย่อมปลอดภัย ผู้ใหญ่ในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีประสบการณ์
การประพฤติปฏิบัติตามอย่างผู้ที่เคยทำการนั้น ๆ มาแล้วย่อมจะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและสำเร็จได้ด้วยดี
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ให้พึ่งตนเอง สุภาษิตนี้มาจากคำสอนในพระพุทธศาสนาที่สอนให้พึ่งตนเองดังพุทธสุภาษิตที่ว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ
ตำข้าวสารกรอกหม้อ
ทำงานแค่ให้เสร็จไปครั้งหนึ่ง ๆ หรือทำแค่พอกินไปวันหนึ่ง ๆ
คนสมัยก่อนจะต้องนำข้าวเปลือกมาตำเอาเปลือกออก ร่อนเอาเฉพาะข้าวสารแล้วจึงนำไปหุงกิน
คนขี้เกียจก็จะตำข้าวเปลือกแค่พอหุงกินได้มื้อเดี่ยวเท่านั้น พอจะกินมื้อหน้าก็ค่อยตำเอาใหม่
ถ่มน้ำลายรดฟ้า
ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่า ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย ถ้าแหงนหน้าถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า น้ำลายย่อมตกลงมาใส่หน้าตัวเอง
ถอดเขี้ยว ถอดเล็บ
ละพยศ ละความดุหรือร้ายกาจ เลิกแสดงฤทธิ์หรือเลิกแสดงอำนาจอีกต่อไป
เขี้ยวและเล็บของสัตว์มีความแหลมคม เพื่อไว้สำหรับต่อสู้กับศัตรู
สำนวนถอดเขี้ยว ถอกเล็บ จึงหมายถึงเลิกที่จะต่อสู้แล้ว
ทำนาบนหลังคน
หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น การทำนาเป็นวิถีหลักของคนไทยรุ่นก่อน ซึ่งจะต้องลงแรงไถ หว่าน ปักดำ
แล้วจึงมีการเก็บเกี่ยวข้าวในท้องนา การทำบนหลังคนจึงเปรียบเสมือนการขุดรีดจากคนๆนั้น
น้ำขึ้นให้รีบตัก
เมื่อมีโอกาสดีมาถึงควรรีบทำ เมื่อก่อนผู้คนจะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองอาบกินและหุงหาอาหาร
เวลาน้ำขึ้นน้ำจะเปี่ยม ฝั่งใสสะอาดผู้คนจะตักน้ำมาใส่ตุ่มเพื่อเก็บไว้ใช้ แต่เมื่อน้ำลงน้ำจะขุนและตักได้ยาก
น้ำลดต่อผุด
ขณะเมื่อมียศศักดิ์ ทำความดีแต่เปลือกนอก พอหมดอำนาจวาสนา ความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
ตอคือ เสาหรือหลักที่ปักไว้ในน้ำ เมื่อน้ำขึ้นน้ำจะท่วมจนมองไม่เห็นตอคงเห็นผืนน้ำดูสวยงาม
แต่พอน้ำลงตอเหล่านี้ก็จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเต็มไปหมด เหมือนความชั่วที่ทำไว้ พอหมดอำนาจคนก็จะนำมาโจษกันทั่ว
ที่มา : สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย เรื่อง นลิน คู ภาพ โอม รัชเวทย์ สำนักพิมพ์ แสงแดดเพื่อนรัก