Ran khaa ya
     
หน้าแรก
ปลาตะเพียน
ปลาตะพัด
ปลาซิว
ปลาช่อน
ปลาแขยง
ปลาเสือ
ปลากะโห้
สรุป
คณะผู้จัดทำ
เว็บไซต์ครูผู้สอน

 

 

ปลาตะพัด

          “ปลาตะพัด”  ปลาสวยงามที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวมากชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป  ด้วยเพราะรูปร่างอันสง่าและสีสันที่สวยงาม  อีกทั้งยังมีชื่อเป็นมงคลอีกชื่อว่า  “ปลามังกร”  ถือได้ว่าเป็นปลาหายากกและราคาแพงมากชนิดหนึ่ง

ลักษณะจำเพาะ

          ปลาตะพัด  เป็นปลาน้ำจืดโบราณชนิดหนึ่งที่ยังคงสืบพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน  ลำตัวยาวสุดประมาณ ๑ เมตร  มีน้ำหนักมากกว่า ๗ กิโลกรัม   ลำตัวแบนข้างตลอดปากเชิดขึ้น  ด้านข้างส่วนท้องแบนเป็นสันคม   เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา  เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี  ๒๑-๒๔  เกล็ด  เกล็ดเรียงเรียบสวยงาม  บางชนิดสีทอง  บางชนิดสีขาวเงิน  ครีบหลังและครีบก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง  ครีบอกค่อนข้างยาว ยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว  และมีครีบแหลมยื่นออกมาคล้ายชายธง  ครีบหางมนกลม  ปากกว้างมากและเฉียงขึ้นดารบน  ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่แต่สั้น ๑ คู่

 

การดำรงชีวิต

           ปลาตะพักเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวหวงถิ่น  ชอบกัดหรือทำร้ายปลาชนิดอื่นหรือแม้แต่ปลาชนิดเดียวกันก็ทำร้าย  อาหารของปลาชนิดนี้ได้แก่  ปลาขนาดเล็ก  กบ  เขียด  ลูกกุ้ง  และสัตว์น้ำอื่นๆ  รวมทั้งสัตว์บกขนาดเล็กที่ตกลงไปในน้ำ  ปลาชนิดนี้มีลักษณะการสืบพันธุ์แตกต่างจากปลาชนิดอื่นๆ  โดยจะวางไข่จำนวนน้อยฟอง  แม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว ๓-๖ กิโลกรัม  จะวางไข่ ๔๐-๑๐๐ ฟอง  ไข่แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเฉลี่ย ๑.๗๒ เซนติเมตร     เมื่อวางไข่ออกมาแล้วจะฟักไข่โดยการอมไว้ในปาก  จนกระทั่งไข่ถูกฟักออกเป็นตัว  และแม่ปลาจะคอยดูแลลูกปลา  หากมีศัตรูเข้ามาใกล้แม่ปลาจะอ้าปากให้ลูกปลาเข้าไปหลบภายในปาก  หรือพาหนีไปให้พ้นอันตราย

 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

 

          ปลาตะพัดมีเขตแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศไทยไปถึงมาเลเซีย  และอินโดนีเซีย  พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเอื่อยๆ  ในบริเวณจังหวัดระยอง  จันทบุรี  ตราด  และแม่น้ำลำคลองหลายสายในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและสตูล  โดยบริเวณที่ปลาชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่มักเป็นลำธารที่มีน้ำค่อนข้างขุ่น  มีลักษณะเป็นกรดน้อย  และท้องน้ำเป็นหินปนทราย 

          ปลาตะพัดมีกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี  ซึ่งบทชมปลาในเรื่องพระอภัยมณีมีหลายตอนที่กล่าวถึงปลาตะพัด  ในตอนแรกพระอภัยมณีชมปลา  ขณะที่เงือกผู้พ่อให้เกาะหลังว่ายน้ำพาหนีจากนางผีเสื้อไปยังเกาะแก้วพิสดาร  มีทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเล  มีปลาตะพัดหรือในวรรณคดีชื่อว่า  “มังกร” อยู่ด้วยดังความว่า 

“กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง          ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน 
มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร             ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน ฯ”

 

ที่มา: พิมพ์ครั้งที่  ๒
บริษัท  อักษรเจริญทัศน์ อจท.  จำกัด
142ถ. แพร่งสรรพศาสตร์  เขตพระนคร  กทม. 10200
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน