Ran khaa ya
     
หน้าแรก
ปลาตะเพียน
ปลาตะพัด
ปลาซิว
ปลาช่อน
ปลาแขยง
ปลาเสือ
ปลากะโห้
สรุป
คณะผู้จัดทำ
เว็บไซต์ครูผู้สอน

 

 

ปลาเสือ

      “ปลาเสือ” ปลาที่มีชื่อคล้ายเจ้าแห่งป่า เพราะว่ามันมีลายบนลำตัวคล้ายเสือนั่นเอง ความงดงามของลวดลาย และขนาดลำตัวที่น่ารักทำให้เป็นปลาเลี้ยงยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง

ลักษณะจำเพาะ

      ปลาเสือ เป็นปลาน้ำจืดตัวลาย มีหลายชนิด ในเมืองไทยพบมาก 3 ชนิด คือ
ปลาเสือพ่นน้ำ หรือ ขมังธนู(Common Archer Fish) ขนาดลำตัวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ลำตัวสีเหลือง มีลายดำเหมือนเสือ บริเวณท้องเป็นสีขาวเงิน สีของครีบหลัง และครีบก้นเป็นสีเหลือมีขอบเป็นสีดำ ครีบหางจะมีสีเข้มกว่า เป็นสีส้มอมเหลือง ปลาชนิดนี้สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 1.5 เมตร จากผิวน้ำ

      ปลาเสือสุมาตรา หรือ เสือข้างลาย (Sumatran Tiger Barb) เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดลำตัวประมาณ ๓-๖ เซนติเมตร ลำตัวมีแถบดำพาดขวาง ๕ แถบ สองแถบแรกพาดผ่านตาและหน้าครีบหลัง แถบที่สามพาดผ่านโคนครีบหลังและสันหลัง แถบที่สี่พาดผ่านโคนครีบก้นและลำตัว ส่วนแถบที่ห้าอยู่โคนหาง ครีบหลังและครีบท้องมีสีเหลือง และมีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่

      ปลาเสือตอ หรือ ลาด (Siamese Tiger Fish) มีทรวดทรงป้อมสั้น ขนาดลำตัวประมาร 40 เซนติเมตร ลำตัวแบนข้างแนวสันหลังโค้งนูน ท้องแบนเรียบ ลำตัวมีสีเหลืองนวลแกมชมพู มีแถบสีดำพาดเฉียงกับลำตัว 6 แถบ ครีบหลังแข็งสีดำ

การดำรงชีวิต

      โดยปกติแล้ว ปลาเสือจะชอบลอยตัวนิ่งๆไม่ค่อยว่าย แต่ถ้าได้เห็นเหยื่อ ก็จะสั่นตัวริกๆ พร้อมที่จะพุ่งเข้าหาเหยื่อทันทีด้วยอุ้งปากที่ย่อขยายได้มาก อาหารของปลาชนิดนี้คือลูกกุ้ง ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำ และเศษซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย

ถิ่นที่อยู่อาศัย

      ปลาเสือตอในอดีตเคยพบชุกชุมในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอยุธยาถึงปากน้ำโพ เลยไปถึงบึงบอระเพ็ด แต่ปัจจุบันพบได้น้อยมาก พอมีให้พบเห็นได้บ้างในแม่น้ำโขง แถบจังหวัดหนองคาย นครพนม


          ปลาเสือพ่นน้ำพบในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ที่มีทางเชื่อมติดต่อกับแม่น้ำ หรือบริเวณปากแม่น้ำ พบชุกชุมบริเวณภาคกลางและภาคใต้
ปลาเสือสุมาตราพบตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามแม่น้ำ ลำธาร และหนองบึงทั่วทุกภาคของประเทศไทย

          ในวรรณคดีไยเมื่อกล่าวถึงปลาเสือ มักจะกล่าวในเชิงเปรียบเทียบกับความดุร้ายของเสือโคร่งผู้ฉายาว่าเจ้าป่า ซึ่งในการกล่าวถึงปลาชนิดนี้จะกล่าวในบทชมปลาทั้งในนิราศและในกาพย์เห่เรือหลายเรื่อง นอกจากนี้เมื่อกวีกล่าวถึงก็มักกล่าวว่าปลาเสือมีลวดลายสวยงามน่าชม หรือมีตาที่แหลมคม เพราะธรรมชาติของปลาเสือสามารถมองเห็นเหยื่อที่อยู่ไกลระยะ 1-2 เมตร ได้อย่างชัดเจน นับว่ากวีไทยเป็นผู้ที่สังเกตพฤติกรรมหรือธรรมชาติของปลาชนิดนี้อย่างละเอียด

 

ที่มา: พิมพ์ครั้งที่  ๒
บริษัท  อักษรเจริญทัศน์ อจท.  จำกัด
142ถ. แพร่งสรรพศาสตร์  เขตพระนคร  กทม. 10200

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน