ปลากระโห้
ปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นปลาที่คน ไทยนิยมนำมาปรุงเป็นเมนูเด็ดหลายเมนู เพราะเนื้อของมันมีรสชาติโอชะยิ่งนัก
ลักษณะจำเพาะ
ปลากระโห้ เป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลกชนิดหนึ่งลำตัวค่อนข้างป้อม แบนข้าง พื้นลำตัวสีเทาแซมชมพู สันหลังเป็นสีน้ำตาลอมดำด้านข้างและส่วนท้องมีสีจางกว่าสันหลังลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีหัวยาวและใหญ่ผิดปกติ หัวมีผิวเรียบมันไม่มีเกล็ดคลุมความยาวของหัวประมาณ ๑ใน๓ ของลำตัว ตาโตยื่นโปน ริมฝีปากล่างหนาและยื่นออกมาพ้นริมฝีปากด้านบนปากกว้าง ขากรรไกรยาวถึงบริเวณตามีฟันที่คอหอยเป็นแถวอยู่ข้างละแถว ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ขอบเรียบ ครีบหลังสูงละอยู่ตรงกับครีบท้องครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก ครีบทุกอันมีสีแดงปนส้มปลาตัวมีลำตัวเล็กและเรียวส่วนท้องแบนเรียบและมีสีดำคล้ำกว่าตัวเมีย
การดำรงชีวิต
ปลากระโห้มีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำลึก เป็นปลาที่แข็งแรงและอดทน
ในฤดูผสมพันธุ์เพศผู้จะมีแก้มและเกล็ดสาก เพศเมียจะลื่นๆ ปลาชนิดนี้มีการผสมพันธุ์แบบเดียวกับปลา
ในกลุ่มปลาตะเพียนทั่วไป เช่น ปลาซิว ปลาตะเพียน ปลาทอง คือ ปลาตัวผู้ จะว่ายไล่รัดปลาตัวเมียมาไข่จะฟุ้งกระจายปลิวไปตามน้ำแล้วจะค่อยๆ จมลงยึดติดกับวัตถุใต้น้ำ และใช้เวลาหลายอาทิตย์ก่อนจะฟักเป็นตัวในช่วงนี้อาจมีสัตว์อื่นมากินไข่ปลาได้ เมื่อลูกปลาเป็นตัวจะมีลักษณะผอมยาว และสามารถออกหากินแพลงก์ตอนต่างๆได้โดยปลาชนิดนี้จะอยู่รวมกันเป็นฝูง จนโตพอควรแล้วจึงแยกย้ายกันไปหากิน กินแพลงก์ตอนและพืชน้ำเล็กๆเป็นอาหารถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยเคยมีปลากระโห้อยู่ชุกชุมในลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจนถึงบึงบอระเพ็ดในปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีให้พบเห็นอยู่บ้างในลำน้ำสายใหญ่ๆในวรรณคดีไทยกล่าวถึงปลากระโห้ไว้หลายเรื่องจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในวรรณคดีไทยมากที่สุดโดยมักกล่าวถึงในบทชมปลา หรือในตอนที่ตัวละครล่องเรือเดินทางแล้วชี้ชวนกันดูสัตว์น้ำ
ซึ่งมักกล่าวถึงว่าเป็นปลาตัวใหญ่และหลายครั้งกวีมักจะกล่าวว่ามันอาศัยอยู่รวมกับปลาทะเล
ซึ่งกวีอาจจะจำเอาชื่อปลามาแต่งเฉยๆก็ได้ เช่น ในเรื่องพระอภัยมณี ตอนล่องเรือในทะเล ความว่า
พระเพลินชมยมนาสาคเรศ หลายประเภทปวงสัตว์ปฏิสนธิ์
มังกรกระโห้โลมาในสาชล บ้างผุดพ่นฟองฟุ้งขึ้นพลุ่งโพลง
จระเข้เหราหน้าต่างต่าง มีเขากางเกะกะนั่นตะโขง
ปลาวาฬใหญ่ไล่กระเพื่อมแลเลื่อมโล้ง ครีบกระโดงแลเป็นพืดยาวยืดครันฯ
ที่มา: พิมพ์ครั้งที่ ๒
บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด
142ถ. แพร่งสรรพศาสตร์ เขตพระนคร กทม. 10200
|