ภูมิปัญญาท้องถิ่น
 |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น: หัตถกรรมเครื่องจักสานขุมชนบางจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ความเป็นมาของปัญหา
หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบางเจ้าฉ่าที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
ขอบเขตการวิจัย พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มหัตถกรรมเครื่องจักสาน ชุมชนบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
จุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพหัตถกรรมจักสานจำนวน7 คน เป็นนำชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญการจักสาน 5 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง(structured interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis) การตีความข้อมูล (interpretation)แล้วหาข้อสรุป และนำเสนอด้วยการบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา
ขั้นตอนการจักสาน
วิธีการจักตอก
 |
1. การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก) จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง
2. การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด
3. การจักไพล ใช้วิธีเดียวกับการจักตอกตะแคง แต่การหลาวจะหลาวให้เป็นเส้นกลมแบบเท่ากัน ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด
การสาน
การสาน เป็นขั้นตอนที่ยากและต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิดคือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง)ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน)ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก
การรมควัน
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่ ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม
การถักและพัน
เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย มีการผูกปาก พันขา ใส่ฐานและหูหิ้ว
ที่มา: http://www.gotoknow.org/posts/166648
|