Ran khaa ya
     
 
 

        เมฆที่ก่อตัวบนท้องฟ้าจะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไป  ในทางอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งชนิดของเมฆออกตามความสูงของเมฆ  ซึ่งมีชื่อเรียกตามลักษณะที่เรามองเห็น  ดังนี้


เมฆชั้นสูง

เมฆชั้นกลาง

เมฆชั้นต่ำ

เมฆก่อตัวในแนวตั้ง

-  อยู่สูงจากพื้นโลก  6,000 เมตรขึ้นไป
- ได้แก่ เมฆเซอรัส  เมฆเซอโรคิวมูลัส  เมฆเซอโรสเตรตัส

- อยู่ในระดับความสูง 2,000 เมตร - 6,000 เมตร
-  ได้แก่  เมฆอัลโตคิวมูลัส  และเมฆอัลโตสเตรตัส

- อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 2,000 เมตร
-  ได้แก่  เมฆสเตรตัส   เมฆสเตรโตคิวมูลัส และเมฆนิมดบสเตรตัส

- ก่อตัวในระดับความสูงตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป
-  ได้แก่  เมฆคิวมูลัส  และเมฆคิวมูโลนิมบัส

เห็นชื่อเมฆแล้วหลายคนอาจจะงง  เรามาดูที่มาของชื่อเมฆแต่ละชนิดกันดีกว่าว่าทำไมจึงมีชื่อไม่เหมือนกัน
เมฆซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 รูปร่างลักษณะคือ เมฆก้อน และเมฆแผ่น เราเรียกเมฆก้อนว่า “เมฆคิวมูลัส” (Cumulus) และเรียกเมฆแผ่นว่า “เมฆสเตรตัส” (Stratus) 
หากเมฆก้อนลอยชิดติดกันเรานำชื่อทั้งสองมารวมกันและเรียกว่า“เมฆสเตรโตคิวมูลัส(Stratocumulus)
ในกรณีที่เป็นเมฆฝน เราจะเพิ่มคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส” ซึ่งแปลว่า “ฝน” เข้าไป เช่น เราเรียกเมฆก้อนที่มีฝนตกว่า “เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus)
และเรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกว่า “เมฆนิมโบสเตรตัส” (Nimbostratus)
หากเป็นเมฆชั้นกลาง (2 - 6 กิโลเมตร) เราจะเติมคำว่า “อัลโต” ซึ่งแปลว่า “ชั้นกลาง” ไว้ข้างหน้า เช่น เราเรียกเมฆก้อนชั้นกลางว่า “เมฆอัลโตคิวมูลัส” (Altocumulus) และเรียกเมฆแผ่นชั้นกลางว่า“เมฆอัลโตสเตรตัส” (Altostratus)
            หากเป็นเมฆชั้นสูง (2 - 6 กิโลเมตร) เราจะเติมคำว่า “เซอโร” ซึ่งแปลว่า “ชั้นสูง” ไว้ข้างหน้า เช่น เราเรียกเมฆก้อนชั้นสูงว่า “เมฆเซอโรคิวมูลัส” (Cirrocumulus) เรียกเมฆแผ่นชั้นสูงว่า“เมฆเซอโรสเตรตัส” (Cirrostratus)  และเรียกชั้นสูงที่มีรูปร่างเหมือนขนนกว่า
“เมฆเซอรัส” (Cirrus)

ที่มา :http://weatherwing23.6te.net/index.php/2012-10-23-07-33-49

 
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน