Ran khaa ya
     
 
 

     เมฆชั้นสูง (High Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร
-เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus)
เมฆสีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ มักเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณกว้าง


-เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus)
เมฆแผ่นบาง สีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสงต่อแสงอาทิตย์ บางครั้งหักเหแสง ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด เป็นรูปวงกลม สีคล้ายรุ้ง


-เมฆเซอรัส (Cirrus)
เมฆริ้ว สีขาว รูปร่างคล้ายขนนก เป็นผลึกน้ำแข็ง มักเกิดขึ้นในวันที่มีอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

      เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 - 6 กิโลเมตร
-เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus)
เมฆก้อน สีขาว มีลักษณะคล้ายฝูงแกะ ลอยเป็นแพ มีช่องว่างระหว่างก้อนเล็กน้อย
-เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus)
เมฆแผ่นหนา ส่วนมากมักมีสีเทา เนื่องจากบังแสงดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลอดผ่าน และเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้างมาก
หรือปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมด
      เมฆชั้นต่ำ (low cloud)จะมีระดับความสูงจากพื้นไม่เกิน 6,500 ฟุต
-สตราโตคิวมูลัส(Stratocumulus)
มีลักษณะค่อนข้างกลมมากกว่าแบน สีเทา เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ มักอยู่ชิดติดกันจนเป็นลูกคลื่น ทนทานต่อกระแสลมไม่อ่อนไหวง่าย เมฆชนิดนี้แสดงถึงสภาวะอากาศที่อาจจะมีฝนตกในบริเวณนั้นแต่ถ้าเบาบางลงอากาศก็แจ่มใส
-สเตรตัส(Stratus)
เมฆที่อยู่ต่ำสุดและอยู่ในแนวนอนคล้ายหมอกหรือคล้ายแผ่นฟิล์มบาง ๆ ทำให้ท้องฟ้ามีลักษณะเป็นฝ้าเกิดจากหมอกที่ลอยขึ้นมาจากพื้นดิน มักปรากฏในตอนเช้ามืดหรือสาย หรือหลังฝนตก
-นิมโบสเตรตัส(Nimbostratus)
มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาแก่สม่ำเสมอ ทำให้ท้องฟ้ามืดครึ้มแผ่กว้างออกไปไม่เป็นรูปร่าง ซึ่งเป็นเมฆที่ก่อให้เกิดฝนตกต่อเนื่องคือ เมฆฝน

ที่มา :http://weatherwing23.6te.net/index.php/2012-10-23-07-33-49

 
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน