Ran khaa ya
     
 
 

ปรากฏการณ์เมฆสีรุ้ง หรือ Irisation เรียกว่า Iridescence

 

     เกิดจากการที่แสงอาทิตย์สีขาวตกกระทบเม็ดน้ำขนาดต่างๆ ในเมฆจางๆ ซึ่งเป็นเมฆที่มีจำนวนหยดน้ำไม่หนาแน่นมากนัก เมื่อแสงตกกระทบหยดน้ำแต่ละหยด จะเกิดการหักเหเปลี่ยนทิศทางไปจากแนวเดิม แต่เนื่องจากแสงสีต่างๆ (ที่ประกอบขึ้นเป็นแสงสีขาว) หักเหได้ไม่เท่ากัน ผลก็คือ แสงสีขาวแตกออกเป็นสีรุ้ง และเนื่องจากในเมฆจางๆ ที่ว่านี้มีเม็ดน้ำขนาดต่างๆ กัน ทำให้สีรุ้งสีหนึ่ง (เช่น สีเขียว) ที่หักเหออกจากเม็ดน้ำขนาดหนึ่งๆ ซ้อนทับกับสีรุ้งอีกสีหนึ่ง (เช่น สีเหลือง) ที่มาจากเม็ดน้ำอีกขนาดหนึ่ง จึงทำให้มองเห็นสีรุ้งมีลักษณะเหลือบซ้อนทับกันอย่างสลับซับซ้อน บางทีก็คล้ายสีรุ้งบนผิวไข่มุก บางทีก็ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ปรากฏการณ์สีรุ้งอาจเกิดในเมฆจางๆ บนท้องฟ้า โดยที่ไม่ต้องมีเมฆก้อนใหญ่ (อย่างเมฆฝนฟ้าคะนอง) มาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ แต่เท่าที่พบกันบ่อยๆ ก็คือ สีรุ้งที่อยู่เหนือเมฆก้อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นที่ดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า”

หมวกเมฆสีรุ้ง (Iridescent Pileus)

 

     หมวกเมฆ หรือ Pileus มีลักษณะเป็นเมฆบางๆ ที่ลอยอยู่เหนือเมฆก้อนขนาดใหญ่ เช่น เมฆคิวมูโลนิมบัส คอนเจสทัส (Cumulonimbus Congestus) หรือเมฆฝนฟ้าคะนองที่เริ่มก่อตัวใหม่ๆ ในขณะที่ก้อนเมฆขนาดใหญ่ดังกล่าวนี้กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้อากาศที่อยู่เหนือยอดเมฆก้อนถูกผลักให้พุ่งสูงขึ้นไปด้วย หากอากาศที่ถูกผลักขึ้นไปนี้มีความชื้นเพียงพอและมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงจุดน้ำค้าง (Dew Point) ไอน้ำในอากาศก็จะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำขนาดเล็กๆ จำนวนมาก และเมื่อมองโดยรวมจะมีลักษณะเหมือน หมวกเมฆ นั่นเอง
หมวกเมฆที่เกิดขึ้นอาจเกิดซ้อนกันได้หลายชั้น ในเอกสารโบราณที่มีการกล่าวถึง ?เมฆเศวตฉัตร? นั้น อาจหมายถึงหมวกเมฆแบบหลายชั้นนี้ก็เป็นได้ อีกทั้งคำว่า เศวต ก็แปลว่า สีขาว จึงมีความสอดคล้องกับสีของหมวกเมฆส่วนใหญ่อีกด้วย

เมฆจานบิน Lenticular cloud )

 

      เมื่ออากาศชื้นอิ่มตัวพัดผ่านยอดเขาสูง หรือบริเวณภูเขา จะทำให้เกิดการไหลของกระแสอากาศชื้น แบบลูกคลื่นขนาดใหญ่ หลายระลอกขึ้น เมื่ออากาศชื้นถูกพัดไหลขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ตามระลอกคลื่นอุณหภูมิจะค่อยลดลงเรื่อยจนถึงจุดที่ทำให้ อากาศชื้นเริ่มกลั่นตัว ทำให้เกิดปรากฏการณ์ เมฆจานบิน เมื่อเมฆไหลลงมาต่ำเรื่อยๆอุณหภูมิจะสูงขึ้น เมฆจะค่อยๆระเหยกับไปอยู่ในสภาพของอากาศชื้นอีกครั้ง
 

ที่มา :http://www.narit.or.th/index.php/astro-photo/atmosphere-phenomenon/866-iridescent-pileus

 
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน