วิศวกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำวิทยาการและนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ คิดค้น ออกแบบ
และประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาดัดแปลง
และปรับปรุงเพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของมนุษย์ให้ดีขึ้น การศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์
ต้องมีพื้นฐานที่ดีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นสำคัญ
และมีความถนัดเชิงวิศวกรรมเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดในการเรียน 5 ปี
ชั้นปีที่ 1 การเรียนการสอนจะอยู่ในหมวดวิชาพื้นฐานก่อนได้แก่ คณิตศาสตร์
(แคลคูลัส แลขาวิเคราะห์และสมการดิฟเฟอเรนเชียล )วิทยาศาสตร์ (ความร้อน แสง เสียง
แม่เหล็กไฟฟ้าและวิชาพื้นฐานในบางส่วน
ชั้นปีที่ 2 4 เน้นหนักในภาควิชาพื้นฐานทางวิชาวิศวกรรม และวิชาเอก ซึ่งให้ความสำคัญทั้งใน
ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
โดยเฉพะอย่างยิ่งภาคปฏิบัตินั้นต้องให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้งานและสามารถทำโครงการพิเ
ศษได้ เพื่อปลูกฝั่งให้มีวิจารณญาณของความเป็นช่างวิศวกรทุกคนควรมี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ
ที่ต้องเผชิญได้อย่างมั่นใจอีกทั้งยังสามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ออกมาได้
ตลอดเวลาเพื่อให้มีส่วนสำคัญจะช่วยพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่ง
ผู้เรียนสามารถศึกษาวิชาที่ตนเองชอบได้
เส้นทางการศึกษา
เส้นทางวิศวกรนั้นเลือกได้ 2 ทาง
แนวทางแรก เมื่อจบชั้น ม. 3 เลือกศึกษาต่อในระดับม.4-ม.6 สายวิทยาศาสตร์ จะเลือกศึกษาต่อ
ในระดับ ปวช. ประเภทช่างอุตสาหรรม หลังจากนั้นจึงสอบเอนทรานต์ เข้าต่อในวิศวกรรมศาสตร์
แนวทางที่สอง เมื่อจบในชั้น ม. 3 เลือกศึกษาต่อในม.4-ม.6 เลือกต่อในระดับ
ปวช.หลังจากนั้นศึกษาต่อในหลักสูตร ปวส.2-3 ปี ประเภทช่างอุตสาหกรรม แล้วศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
ต่อเนื่องทางวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันที่เปิดสอน
สถาบันศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่เปิดสอนคณะวิศวกรรม เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ม.อุบลราชธานี ม.กรุงเทพ ม.มหิดล ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.หอการค้าโลก ม.สารคราม
ม.ศรีปทุม ม.สยาม ม.รามคำแหง ลาดกระบัง วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี
ลักษณะทั่วไปของอาชีพ
วิศวกร คือ ผู้นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับปัญหาต่าง ๆ ในลักษณะการคิดค้น
การออกแบบ การปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพื่อส่ง
เสริมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของมนุษย์
การทำงานในวิชาชีพวิศวกรรมแยกได้ดังนี้
1. งานประเภทการสำรวจ ได้แก่ งานแขนงวิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมโยธาทั่วไป
2 .งานประเภทออกแบบ เป็นงานทำในสำนักงาน ถือเป็นหน่วยสมองของงานวิศวกรรมเพราะ
มีหน้าที่ ออกแบบสิ่งก่อสร้างทุกประเภท ทั้งอาคารบ้านเรือน สะพาน เขื่อนตลอดจนออก
แบบเครื่องจักรกลต่าง ๆ
3. งานประเภทควบคุมและบำรุงรักษา ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องกลในสถานที่ต่าง ๆ
ตลอดจนการควบคุมการวางแผนปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมทุกชนิด
4. งานประเภทวิจัย เป็นงานที่ค้นหว้าแสวงหาความรู้ความก้าวหน้าใหม่ ๆ ในทางวิศวกรรม
หรือหาวิธีใหม่ ๆ
5. งานประเภทเผยแพร่ความรู้ หมายถึงการสอนของครู- อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา