Ran khaa ya
   
 
  วิธีการดำเนินงาน
ตอนที่ 1
วัสดุอุปกรณ์

1. ดอกไม้ชนิดต่างๆ  ดอกไม้ที่นำมาศึกษา  มีดังนี้
    - ดอกราชพฤกษ์
    - ดอกพุทธรักษา
    - ดอกสาละ
    - ดอกตาลปัตรฤาษี
    - ดอกฟักทอง
    - ดอกมะละกอ
2. ชุดผ่าตัด
3. กล้องจุลทรรศน์ stereo microscope 
วิธีการทดลอง
ศึกษาลักษณะดอกโดยพิจารณา
1.1ส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างหลัก (flower structure) มีดังนี้
     - กลีบเลี้ยง (sepal) 
     - กลีบดอก (petal) 
     - เกสรเพศผู้ (stamen)
     - อับเรณู (anther)
     - ก้านชูเกสรเพษผู้ (filament) 
     - เกสรเพศเมีย (pistil)
     - ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma)
     - ก้านชูเกสรเพศเมีย (style)
     - รังไข่ (ovary)
     - ออวุล (ovule)
     - ฐานรองดอก (receptacle)
     - ก้านชูดอก (peduncle)
1.2จำนวนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก         
1.3จำนวนเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย
1.4จำนวนรังไข่และออวุลในแต่ละดอก
2.บันทึกผลการทดลอง  พร้อมวาดภาพแสดงโครงสร้างหลักของดอกและอธิบาย

ตอนที่ 2
วัสดุอุปกรณ์
   1.ดอกไม้ที่ศึกษาโครงสร้างหลักแล้วพบว่ามีรังไข่จากตอนที่ 1 มาทำการศึกษาต่อ
   2. ชุดผ่าตัด
   3. กล้องดิจิทัล

วิธีการทดลอง
1.
นำดอกไม้ที่มีรังไข่จากตอนที่ 1 มาผ่าตามแนวยาวให้ผ่านรังไข่  เพื่อศึกษาตำแหน่งของรังไข่ที่อยู่เหนือฐานรองดอก (superior ovary)  หรือรังไข่ที่อยู่ใต้ฐานรองดอก (inferior ovary)  หรือรังไข่ที่อยู่กึ่งกลางฐานรองดอก(half inferior ovary)
2. บันทึกตำแหน่งของรังไข่  พร้อมวาดภาพแสดงตำแหน่งของรังไข่


ที่มา :

 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน