Ran khaa ya
   
 
  อภิปรายผลการทดลอง

จากการทดลองกิจกรรมการศึกษาโครงสร้างของดอก  ผลปรากฏว่า 
     โครงสร้างของดอกราชพฤกษ์ มีฐานรองดอก(receptacle) ก้านชูดอก (peduncle) จำนวนของกลีบเลี้ยง (sepal) 5 กลีบ กลีบดอก (petal) 5 กลีบ มีจำนวนเกสรเพศผู้ (stamen) 9 อันมีสีเหลือง ซึ่งประกอบด้วยเกสรเพศผู้ด้านบน 3 อัน ด้านล่าง 9 อัน อับเรณู (anther) ด้านบน 3 อัน ด้านล่าง 9 อัน ก้านชูอับเรณู (filament) ด้านบน 3 อัน ด้านล่าง 9 อัน มีจำนวนเกสรเพศเมีย (pistil) 1 อันซึ้งประกอบด้วย ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) 1 อัน  ก้านชูเกสรเพศเมีย (style)1 อัน ชูก้านสูงกว่าเกสรเพศผู้ด้านบน มีสีเขียว มีจำนวนรังไข่ (ovary) 1 อัน มีออวุล (ovule) จำนวนมาก และมีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (superior ovary)
     โครงสร้างของดอกพุทธรักษา มีฐานรองดอก(receptacle) ก้านชูดอก (peduncle) จำนวนของกลีบเลี้ยง (sepal) 3 กลีบ กลีบดอก (petal) 4 กลีบ มีจำนวนเกสรเพศผู้ (stamen) 1 อัน ประกอบด้วย อับเรณู (anther) 1 อันซึ่งเกสรเพศผู้นั้นมีลักษณะเปลี่ยนไปคล้ายกลีบดอกแต่ยังมีอับละอองเรณูติดอยู่ที่ปลายๆกลีบ มีจำนวนเกสรเพศเมีย (pistil)
1อันซึ้ง ประกอบด้วย ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) 1 อัน อยู่บนขอบด้านบนของ ก้านชูเกสรเพศเมีย (style) 1 อันที่มีลักษณะคล้ายกลีบ มีจำนวนรังไข่ (ovary) 1 อัน มีจำนวนออวุล (ovule) 6-8 อัน  และมีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (superior ovary)
     โครงสร้างของดอกสาละ มีฐานรองดอก(receptacle) ก้านชูดอก (peduncle) จำนวนของกลีบเลี้ยง (sepal) 6 กลีบ กลีบดอก (petal) 6 กลีบ มีจำนวนเกสรเพศผู้ (stamen) จำนวนมากแบ่งเป็นด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยอับเรณู (anther) จำนวนมากทั้งด้านบนและด้านล่าง ก้านชูอับเรณู (filament) จำนวนมาก มีจำนวนเกสรเพศเมีย (pistil) 1 อันโดยมีเกสรเพศผู้ด้านล่างล้อมรอบ ประกอบด้วย ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) 1 อัน  ก้านชูเกสรเพศเมีย (style)
1 อัน มีจำนวนรังไข่ (ovary) 1 อัน มีจำนวนออวุล (ovule) 2 อัน และมีรังไข่อยู่กึ่งกลางฐานรองดอก (half inferior ovary)
     โครงสร้างของดอกตาลปัตรฤาษี มีฐานรองดอก(receptacle) ก้านชูดอก (peduncle) จำนวนของกลีบเลี้ยง (sepal) 3 กลีบ กลีบดอก (petal) 3 กลีบ มีจำนวนเกสรเพศผู้ (stamen) จำนวนมากโดยที่ด้านนอกจะเป็นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ส่วนด้านในจะมีอับเรณู (anther) จำนวนมาก ก้านชูอับเรณู (filament) จำนวนมาก มีจำนวนเกสรเพศเมีย (pistil) 1 อันโดยมีเกสรเพศเมียจะไม่มีก้านชูเกสรเพศเมีย (style)  แต่มียอดเกสรเพศเมีย (Stigma) 1 อัน มีจำนวนรังไข่ (ovary) 1 อัน มีจำออวุล (ovule)จำนวนมาก และมีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (superior ovary)
     โครงสร้างของดอกฟักทอง มีฐานรองดอก(receptacle) ก้านชูดอก (peduncle) จำนวนของกลีบเลี้ยง (sepal) 5 กลีบ กลีบดอก (petal) 5 กลีบแต่โคนของกลีบดอกเชื่อมติดกัน มีจำนวนเกสรเพศผู้ (stamen) 1 อันมีสีเหลือง ซึ่งประกอบด้วย อับเรณู (anther)จำนวนมาก โดยก้านชูอับเรณู (filament) 3 อัน แบ่งเป็น 3 ส่วนได้ชัดเจนที่โคนของก้านชูอับละอองเรณูแต่จะรวมกันเป็นก้านเดียวกันตรงบริเวณที่มีอับเรณู ไม่มีเกสรเพศเมีย (pistil)
     โครงสร้างของดอกมะละกอ มีฐานรองดอก(receptacle) ก้านชูดอก (peduncle) จำนวนของกลีบเลี้ยง (sepal) 5 กลีบ กลีบดอก (petal) 5 กลีบ ไม่มีเกสรเพศผู้ (stamen) มีจำนวนเกสรเพศเมีย (pistil) 5 อันซึ่งแต่ละอันจะแยกเป็นแฉก 2 แฉก ได้ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) 10 อัน ก้านชูเกสรเพศเมีย (style) 10 อัน มีจำนวนรังไข่ (ovary) 1 อัน มีออวุล (ovule) จำนวนมาก และมีรังไข่อยู่ใต้ฐานรองดอก (inferior ovary)

 

 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน