Ran khaa ya
     
 
 
 
 
 
  เนื้อเยื่อ(Tissue)

          พืชเมื่อแบ่งเซลล์แล้ว เซลล์ที่ได้ใหม่จะมีการรวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) ชนิดต่างๆ เนื้อเยื่อชนิดต่างๆ จะรวมกันเป็นอวัยวะ (organ) และอวัยวะ ก็รวมกัน เป็นระบบ (system) ระบบแต่ละระบบก็ทำหน้าที่เฉพาะลงไป เช่นระบบย่อยอาหาร (digestive system) ระบบเหล่านี้จะรวมกันและประกอบขึ้นเป็นรูปร่างหรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด (body)

ตอนที่1ระบบเนื้อเยื่อพืช
จำแนกได้เป็น 3 ระบบดังนี้
  1. ระบบเนื้อเยื่อห่อหุ้ม ได้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ผิวนอกสุดของพืช ทำหน้าที่ปกคลุมส่วนอื่นๆ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ
     1.1 เอพิเดอร์มิส (epidermis)
     1.2 เพริเดิร์ม (periderm)

  2.ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ แร่ธาตน้ำ แร่ธาตุ และอาหาร ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ
     2.1 ไซเลม (xylem) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และแร่ธาต
     2.2 โฟลเอ็ม (phloem) ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร

ตอนที่2 เนื้อเยื่อเจริญ
เนื่อเยื่อเจริญ (meristem)
ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis) อยู่ตลอดเวลา จำแนกได้ ดังนี้
  1. จำแนกตามตำแหน่งในส่วนต่าง ๆ ของพืช เป็น 3 ชนิด ได้แก่
     1.1 เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายยอด หรือ ปลายรากทำให้รากและลำต้นยืดยาวออก
     1.2 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) เป็นเนื้อเยื่อที่บริเวณเหนือข้อ หรือโคน ของปล้องในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ช่วยให้ปล้องยาวขึ้น หรือตามก้านช่อดอกของพืช บางชนิด เช่น พวกว่านสี่ทิศ ดอกพลับพลึง ซึ่งก้านดอกจะแทงขึ้นมาจากดินโดยตรง
     1.3 เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวออกด้านข้าง ทำให้ลำต้น ราก ขยายขนาดใหญ่ออก ได้แก่ พวกเยื่อเจริญหรือแคมเบียม (cambium) ถ้าเกิดขึ้นในกลุ่มท่อลำเลียง เรียกว่า vascular cambium ถ้าเกิดขึ้นใต้ชั้นเอพิเดอร์มิส เรียกว่า cork cambium

  2. จำแนกตามระยะการเจริญ เป็น 3 ชนิด ได้แก่
     2.1 Promeristem เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ จากการแบ่งตัว มีนิวเคลียส ขนาดใหญ่ เซลล์มีขนาดเท่ากัน พบที่บริเวณปลายยอด ปลายราก
     2.2 Primary meristem เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่เปลี่ยนแปลงมาจาก promeristem พบตาม บริเวณต่ำกว่าปลายยอดลงมา ในรากพบบริเวณที่เซลล์ยืดตัว
     2.3 Secondary meristem เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่พบในพืชที่มีการเจริญขั้นที่สอง เพื่อขยาย ขนาดให้กว้างออก ได้แก่ vascular cambium และ cork cambium

 

ตอนที่3 เนื้อเยื่อถาวร
เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาทำหน้าที่เฉพาะ โดยจะไม่แบ่งตัวอีก จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
  1.เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissues)
     1.1 Parenchyma เป็นเนื้อเยื่อพื้นที่พบมากที่สุดในพืช ตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะส่วน ที่อ่อนนุ่ม เช่น บริเวณคอร์เทก พิธ เนื้อผลไม้ พาเรนไคมาเป็นเซลล์ที่มีชีวิต ขนาดค่อนข้าง ใหญ่ มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปกลม รี ทรงกระบอก ภายในเซลล์อาจพบหรือไม่พบ นิวเคลียส ผนังเซลล์บางเป็นผนังเซลล์ชั้นแรก (primary wall) มักพบ central vacuoles ขนาดใหญ่
และมี intercellular spaces

รูปของ Parenchyma

     1.2 Collenchyma รูปร่างรี ยาว เซลล์มีผนังหนาไม่สม่ำเสมอ จัดเป็นผนังเซลล์ชั้นแรก เป็นเนื้อเยื่อที่สร้างความแข็งแรงให้กับพืช เมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มที่ก็ยังเป็นเนื้อเยื่อ ที่มีชีวิต พบโดยทั่วไปในส่วนของพืช เช่น stems petioles (stalk) laminae roots เมื่อ cross-section ส่วนของลำต้น มักพบ collenchyma อยู่ติดกับ epidermis หรือถูกขั้นด้วย parenchyma 2-5 แถว นอกจากนี้ยังพบบริเวณเส้นใบ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อลำเลียง พบบริเวณ มุมหรือเหลี่ยมของลำต้น ผนังเซลล์หนาทำหน้าไม่พบ Intercellular air spaces หรือพบน้อยมาก ส่วนประกอบภายในเซลล์อาจพบ nucleus chloroplasts บ้างแต่พบน้อย มาก เนื่องจากมีผนังเซลล์ที่หนา Collenchyma เชื่อว่า Collenchyma มีต้นกำเนิดมาจาก parenchyma จากนั้น differentiate โดยผนังเซลล์จะ เสริมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการสะสมของ cellulose และ pectin

รูปของ Parenchyma และCollemchyma

     1.3 Sclerenchyma เมื่อเจริญเต็มที่จะไม่มีชีวิต มีผนังเซลล์ที่หนามาก ลักษณะเด่น ของเซลล์นี้คือ ผนังเซลล์ ขั้นที่สอง (secondary wall) หนา ประกอบด้วย cellulose และ/หรือ lignin โปรโตพลาสต์มักสลายไป หลังจากผนังเซลล์เจริญเต็มที่ เหลือเป็นช่องว่าง ภายในเซลล์ เรียกว่า Lumen Sclerenchyma cells มักพบปะปนกับเซลล์ชนิดอื่นเพื่อ ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่โครงสร้างต่างๆ Sclerenchyma มักพบ ตามลำต้น และในใบพบในส่วนของมัดท่อน้ำท่ออาหาร Sclerenchyma สร้างความแข็งแรงให้กับ เมล็ด โดยเฉพาะส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดจัดเป็นเนื้อเยื่อสำคัญที่สร้างความแข็งแรง ให้กับพืช
Sclerenchyma สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยใช้ลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันดังนี้
          1.3 .1 Fibres ลักษณะเซลล์ยาว ปลายเซลล์เรียว ผนังเซลล์หนามาก พบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นมัด เช่น ในเนื้อไม้
          1.3.2 Sclereids (Stone cells) ที่เรียกstone เนื่องจากเซลล์มีความแข็งแรงเหมือนหิน มีรูปร่างหลายแบบ

รูปของ Collenchyma และ Sclerenchyma


     1.4. Epidermis เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของส่วนต่างๆ ของพืช ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัว เพียงชั้นเดียว มักไม่พบ intercellular spaces รูปร่างแบนยาว ผนังเซลล์บาง โดยส่วนใหญ่ผนังเซลล์ด้านนอกจะหนากว่าด้านใน และพบมีสารคิวตินซึ่งเป็นสารพวกไขมัน เคลือบอยู่ชั้นนอก ยกเว้นในรากจะมี suberin เคลือบ พืชที่ขึ้นอยู่ในที่แห้งแล้งมักมีคิวติน เคลือบหนา เพื่อรักษาน้ำที่อยู่ภายใน โดยทั่วไปอิพิเดอร์มิสไม่มี chloroplast

 

  2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissues)
   คือ เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายๆ ชนิดมาทำหน้าที่ร่วมกัน ได้แก่
     2.1 Xylem จัดเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำ (water-conducting tissue) ใน vascular plants ประกอบด้วย tracheary elements ได้แก่ Vessel member และ Tracheid นอกจากนั้นยังมี xylem fibres และ xylem parenchyma เพื่อทำหน้าที่ในการลำเลียงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เซลล์ที่ประกอบเป็น xylem มี secondary cell walls ซึ่งมักไม่มี protoplasts ในช่วงที่เซลล์ maturity และมักพบ Bordered pits เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการาลำเลียง ส่วน vessels ลำเลียงน้ำผ่าน perforated ผ่านทาง end walls
     2.2 Phloem มาจากภาษกรีก phloios หมายถึง เปลือกไม้ (bark) ทำหน้าที่ลำเลียง สารอินทรีย์ เช่น sucrose ไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ทุกส่วนซึ่งแตกต่างจากการลำเลียงน้ำ ที่ลำเลียงจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประกอบ sieve element, companion cell, phloem fibres และ phloem parenchyma


รูปของ Xylem และ Phloem


ที่มา : http://student.nu.ac.th/46160933/lesson2.htm

 
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน