Ran khaa ya
   
 
 

หนังตะลุง

คำว่า “ตะลุง” เป็นคำใหม่ สมัยก่อนชาวใต้เรียกหนังตะลุงว่า “หนัง” บ้าง “หนังควน” บ้าง เพิ่งเรียกว่าหนังตะลุง เมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 นี้เอง เพราะสมัยนั้น “หนัง” ของเมืองพัทลุงได้เข้าไปแสดงในกรุงเทพฯ ชาวกรุงเทพฯ เรียกหนังควนว่า “หนังพัทลุง” ต่อมาก็เพี้ยนมาเป็น “หนังทลุง” และเป็น “หนังตะลุง” ในที่สุด
หนังตะลุงส่วนใหญ่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ สิ่งที่เด่นชัด คือ เมตตามหานิยม การป้องกัน ทำและแก้คุณไสยต่าง ๆ การหาฤกษ์หายาม การถือเคล็ด และคาถาอาคมต่าง ๆ การแสดงออกเกี่ยวกับไสยศาสตร์ของหนังตะลุงปรากฏให้เห็นทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกจากบ้าน การเดินทางเมื่อถึงสถานที่แสดง การขึ้นโรงขอขมา ขอที่ขอทางจากพระภูมิ ซึ่งทุกขั้นตอนจะมีการว่าคาถา ทำพิธีต่าง ๆ จนกระทั่งถึงคาถาเรียกคนดู เบิกตารูป คาถาเรียกเสียง นอกจากนี้ยังมีรูปศักดิ์ไว้บูชากันเภทภัยอีกด้วย
ปัจจุบัน แม้มีจะมีมหรสพให้ความบันเทิงแก่ชาวใต้มากมาย แต่หนังตะลุงยังคงครองความรู้สึกและฝังแน่นอยู่ในใจ แม้หนังตะลุงจะได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้างตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงของหนังตะลุง คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม จึงทำให้หนังตะลุงยังคงอยู่และได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของภาคใต้และของชาติ

 

ข้อมูลที่มา: http://kawshevit.blogspot.com/
ภาพประกอบ: http://www.หนังตะลุง.net , http://lpakamas036.files.wordpress.com/

 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน